อัปเดต 6 จุดเฝ้าระวังแม่น้ำโขง และเตือนประชาชนเฝ้าระวังพายุดีเปรสชันซูลิก ฝนตก-ลมแรง หนักถึงหนักมาก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

"แม่น้ำโขง" เป็นมหานทีที่ไหลผ่าน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, เมียนมา, ลาว, ไทย, กัมพูชา และเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่ อีกทั้งมหานทีสายนี้ยังมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง หล่อเลี้ยงความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมให้มนุษย์มาช้านาน

ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขง คือ มีตลิ่งสูงชันมากทั้งสองฟากฝั่ง สายน้ำไหลเลี้ยวเลาะตามไหล่เขา และมีกระแสน้ำหล่อเลี้ยงทั้งปี ทำให้บรรดาประเทศที่มีสายน้ำไหลผ่าน มีแนวคิดพัฒนาสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ จนกระทั่งเกิดโครงการสร้างเขื่อนไม่น้อยกว่า 10 โครงการ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Mymekong.org ณ เดือนกันยายน 2566 ระบุให้เห็นว่า โครงการเขื่อนที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงมี ดังนี้

...

- โครงการเขื่อนที่ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนปากแบง, เขื่อนหลวงพระบาง และเขื่อนปากลาย

- โครงการเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้แก่ เขื่อนวุ่นอองหลง, เขื่อนลี่ดี, เขื่อนหวงเดิ่ง, เขื่อนต้าหัวเฉียว, เขื่อนเมียวเว่ย, เขื่อนกงชูวเฉียว, เขื่อนเสี่ยวหวาน, เขื่อนมานวาน, เขื่อนค้าเฉาชาน, เขื่อนนัวจาตู้, เขื่อนจิงหง (เชียงรุ้ง/สิบสองปันนา)และเขื่อนดอนสะโฮง

- โครงการเขื่อนที่อยู่ในแผน ได้แก่ เขื่อนกันหลั่นป้า, เขื่อนเม็งสง, เขื่อนปากชม, เขื่อนบ้านกุ่ม และเขื่อนภูงอย (ลาดเสือ)

- เขื่อนที่มีการผลักดันให้ไทยรับซื้อไฟฟ้าเพิ่ม ได้แก่ เขื่อนสานะคาม

- โครงการเขื่อนที่มีการประกาศชะลอโครงการ ได้แก่ เขื่อนสตึงเตร็ง และเขื่อนซำบอ

6 จุดเฝ้าระวังน้ำโขง :

กองวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์แม่น้ำโขง ณ วันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 07.00 น. ระบุ 6 จุดเฝ้าสังเกตการณ์น้ำโขง ดังนี้

จุดที่ 1 'เชียงแสน' สถานการณ์น้ำปกติ มีแนวโน้มลดลง

จุดที่ 2 'เชียงคาน' สถานการณ์น้ำปกติ มีแนวโน้มลดลง

จุดที่ 3 'หนองคาย' น้ำมากเฝ้าระวัง มีแนวโน้มลดลง

จุดที่ 4 'นครพนม' น้ำมากเฝ้าระวัง มีแนวโน้มทรงตัว

จุดที่ 5 'มุกดาหาร' น้ำมากเฝ้าระวัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

จุดที่ 6 'โขงเจียม' น้ำมากเฝ้าระวัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เตือนระวังพายุถล่ม :

อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้ภัยธรรมชาติส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และความเสียหายอยู่เป็นระยะ ทีมข่าวฯ ขอแสดงความห่วงใยถึงผู้อ่านทุกคน และขอให้ติดตามข้อมูลเป็นระยะ เพื่อเฝ้าระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน ที่ต้องแจ้งแบบนี้เพราะเราจะเห็นได้ว่า 'พายุยางิ' เพิ่งผ่านไป แต่พายุลูกใหม่กำลังจะเข้ามา และคราวนี้อาจเข้าไทยโดยตรง

อ้างอิง ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ 'ซูลิก' ฉบับที่ 13 ความบางส่วนว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (20 ก.ย. 2567)  พายุดีเปรสชันซูลิก ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

...

และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในช่วงบ่ายวันนี้

อิทธิพลจากพายุดังกล่าว ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม

...

.........

อ่านบทความที่น่าสนใจ :