เกี่ยวกับไทยรัฐ
ยุคที่ 6 “สู่อนาคตด้วยความมุ่งมั่น”
นยุคต่อมาของหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวให้เหนือและเป็นผู้นำทาง ความคิดของสังคมไทย ทำให้เผู้บริหารมุ่งมั่นพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการรับเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มา ปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
เริ่มต้นด้วยการพัฒนาด้านอุปกรณ์เสริมของแท่นพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบแยกสีประกอบหน้าเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า การขยายระบบการรับและส่งภาพวิถีไกลพร้อมข้อมูลข่าวสารอีก 12 จังหวัด
ตามมาด้วยการปรับกลยุทธ์ทางด้านเนื้อหาสาระของข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมุ่งเน้นข่าวประเภทอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ ข่าวกีฬาและข่าวบันเทิง ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมดทำให้ "ไทยรัฐ" ยืนหยัดเอาตัวรอดภายหลังจากการขึ้นราคาเป็น 8 บาทได้โดยยอด จำหน่ายไม่ได้ลดลงตามไปด้วย ทำให้คณะผู้บริหารมีความมั่นใจและเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมที่จะนำหนังสือพิมพ์ฝ่าคลื่นลมไปสู่อนาคต อันยาวไกลได้ไม่แพ้รุ่นก่อตั้งที่สร้างสมไว้
จากหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทยตลอด 60 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ "ไทยรัฐ" มีความมั่นใจจะต่อยอด "พลังแห่งความเข้าถึง" สู่สังคมไทยด้วยการให้กำเนิด "ไทยรัฐทีวี" หลังจากเคยขยายช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ก่อนหน้านี้แล้วเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
ในปีพ.ศ. 2557 "ไทยรัฐ" ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจบรอดคาสต์ เข้าสู่สนามการแข่งขันและแวดวง "ดิจิตอลทีวี" อย่างเป็นทางการ จากการที่กสทช. จะเปลี่ยนระบบการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน จากระบบ "อนาล็อก" (Analog) เป็นระบบ "ดิจิตอล" (Digital) เปิดโอกาสให้แก่ผู้ผลิต Content ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มาร่วมสร้างประสบการณ์และปรากฏการณ์ใหม่ ให้แก่วงการโทรทัศน์ไทย
พื้นฐานการเติบโตจากการผลิตและนำเสนอข่าวสาร รวมทั้งสาระประโยชน์ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้อ่านทั่วประเทศ ถือเป็นจุดแข็งที่ "ไทยรัฐทีวี" เลือกนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์หลัก เพื่อนำเสนอเรื่องราวแนวเดียวกันในปริมาณครึ่งหนึ่งของสัดส่วนเนื้อหา ทั้งหมด เพื่อรักษาฐานผู้อ่านหรือแฟนคลับของเราไว้ นอกจากนี้ "ไทยรัฐทีวี" ยังเสนอทางเลือกใหม่สนองความต้องการ บริโภคเนื้อหาประเภทบันเทิงและวาไรตี้สำหรับผู้ชมกลุ่มอื่นๆอย่างครอบคลุมมากที่สุด โดยเน้นวิธีการนำเสนอหรือ "การเล่าเรื่อง" ที่เข้าใจง่าย เพื่อถ่ายทอด "เรื่องใกล้ตัว" ให้ "ใช้ได้จริง" ในชีวิตประจำวันของผู้ชม
ยุคที่ 1 “ข่าวภาพ”
หนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Weekly Pictorial" หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ซึ่งถูกตีพิมพ์ด้วย หัวหนังสือสีแดง เพื่อวางแผงฉบับปฐมฤกษ์ในว
ข่าวพาดหัวใหญ่ในวันนั้นคือ "ตายโหง 5 ศพในวันขึ้นปีใหม่" ร่วมด้วยข่าวคราวอื่นๆ ซึ่งเป็นข่าวชาวบ้านหรือข่าวสังคม ไม่ได้ เน้นข่าวการเมืองเหมือนอย่างที่ฉบับอื่นๆ นิยมกันสมัยนั้น ผลที่ได้ก็คือหนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" ฉบับนั้นถูกตีกลับมาเพียง 7 ฉบับ จากยอดตีพิมพ์ 3,000 ฉบับ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทำให้ผู้ก่อตั้งได้แนวคิดเรื่องความนิยมในการบริโภคข่าวสารของ ผู้อ่าน และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
ยุคแรกของการทำงานของ "ข่าวภาพรายสัปดาห์" มี "เลิศ อัศเวศน์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ "กำพล วัชรพล" เป็นผู้พิมพ์ และนำหนังสือพิมพ์ออกขาย และ "วสันต์ ชูสกุล" เป็นผู้หาเงินทุน โดยกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของหนังสือพิมพ์ในตอนนั้นได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวและชาวบ้านทั่วไป เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของแวดวงสังคมและข่าวคราวในท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันกับ คนส่วนใหญ่ ต่างจากกลุ่มเป้าหมายของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับอื่นๆ อีก 7-8 ฉบับที่มุ่งเน้นข่าวคราวการเมือง นับเป็นจุด แตกต่างหรือ "จุดแข็ง" ที่สำคัญที่ทำให้ "ข่าวภาพรายสัปดาห์" มีพื้นที่ในตลาดและครองใจผู้อ่านตลอดมา
เมื่อหนังสือพิมพ์ได้รับการยอมรับจากผู้อ่านจนติดตลาด "กำพล วัชรพล" ในฐานะผู้ก่อตั้งหลักจึงได้มองการณ์ไกลและเริ่มคิด จะตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เพิ่ม จากรายสัปดาห์เป็นทุก 3 วันแทน จึงเป็นผลให้บริษัทมีรายได้มากและเร็วขึ้นตามลำดับ หลังจากนั้น อีก 1 ปี หรือราวกลางปี 2495 "ข่าวภาพรายสามวัน" จึงกลายเป็น "ข่าวภาพรายวัน" ในที่สุด โดยมี "อุทธรณ์ พลกุล" เป็น บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" ในยุคนี้ได้รับความนิยมและรับหน้าที่ตีแผ่สังคมมาเรื่อย จนกระทั่งถูกปิดตัวลงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 โดยคณะปฏิวัติโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเข้ายึดอำนาจรัฐบาลอย่างเด็ดขาด
ยุคที่ 2 “เสียงอ่างทอง”
เพราะนโยบาย "หนังสือพิมพ์เก่าออกไม่ได้ หนังสือพิมพ์ใหม่อย่าได้เกิด" ของคณะปฏิวัติ ทำให้ "กำพล วัชรพล" ประสบ สภาวะลำบากจะขอเปิดหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ จึงต้องขอหัวหนังสือพิมพ์เก่า "เสียงอ่างทอง" มาทดแทน
หนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2502 มี "วิมล พลกุล" เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ร่วมด้วยทีมงานเก่าจาก "ข่าวภาพ" ยกชุด โดยมีสโลแกนหลัก "อยากเห็นภาพ อยากทราบข่าว ต้องอ่านเสียงอ่างทอง หนังสือพิมพ์ประจำครอบครัว" วางจำหน่ายฉบับละ 50 สตางค์ โดยมีเนื้อหา 10 หน้า ซึ่งถูกกว่าฉบับอื่นๆ ที่มีเพียง 8 หน้าใน สนนราคาเท่ากัน
"เสียงอ่างทอง" เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปีเดียวกัน จากการตีแผ่ข่าวของคดีพิศวาสฆาตกรรม "นวลฉวี" เพราะสไตล์การเขียนและ นำเสนอที่โดดเด่น รวมทั้งข่าวคราวการเมืองที่เริ่มได้รับความนิยมเพราะมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใด นอกจากนี้อีกปัจจัยที่ทำให้ "เสียงอ่างทอง" ประสบความสำเร็จได้แก่คอลัมน์ต่างๆ ทำให้ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 45,000 ฉบับในปี พ.ศ.2503
แต่ถึงกระนั้น "กำพล วัชรพล" ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และซื้อหัวหนังสือพิมพ์สำรองไว้อีกหนึ่งฉบับ ได้แก่ "ไทยรัฐ" เพื่อเป็นหลัก ประกันในยามฉุกเฉิน รวมถึงได้ปฏิวัติระบบจำหน่ายหนังสือพิมพ์ครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการใช้วิธีขนส่งเองโดยใช้รถยนต์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้ตัดสินใจลงหลักตั้งสำนักงานโรงพิมพ์ของตัวเองเป็นครั้งแรกที่ซอยวรพงษ์ โดยเซ้งแท่นพิมพ์ระบบโรตารี่ จำนวน 2 แท่น เพื่อสนองการขยายตัวของกิจการ
และแล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเจ้าของเดิมของหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ต้องการดึงหัวกลับมาทำเอง "ไทยรัฐ" พร้อมด้วยกองบรรณาธิการชุดเดิมจากเสียงอ่างทองจึงได้ถูกตีพิมพ์และออกวางจำหน่ายตามแผงต่างๆ ทั่วประเทศเป็น ครั้งแรกในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2505
ยุคที่ 3 “ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์”
ในยุค "ซอยวรพงษ์" ไทยรัฐได้เริ่มขยายกิจการอย่างเต็มที่ เริ่มรวบรวมนักข่าวและคอลัมนิสต์มาร่วมงานในกองบรรณาธิการ มากหน้าหลายตา นอกเหนือจากคนเก่าแต่เก๋าอย่าง "เลิศ อัศเวศน์" "กระแช่ หรือ ประสาน มีเฟื่องศาสตร์" "สมิต มานัสฤดี" " วิมล พลกุล" สมบูรณ์ วงพงษ์" "มานิจ สุขสมจิตร" และ "เฉลิมชัย ทรงสุข" เป็นต้น
ความพร้อมเรื่องกำลังการผลิต เงินทุนและคลังมันสมองของกองบรรณาธิการ ทำให้ในยุคนี้หนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" มียอด จำหน่ายสูงถึง 100,000 ฉบับ ในขณะที่ "เสียงอ่างทอง" ซึ่งเจ้าของชื่อเดิมดึงกลับไปทำเองต้องปิดตัวไปอย่างรวดเร็ว
และเพราะกระแสตอบรับ บวกกับความนิยมที่มากขึ้น ทำให้ผู้ก่อตั้งเริ่มมีความคิดจะขยายกำลังการผลิตจากระบบ Letter Press หรือระบบหลอมตะกั่ว ให้เป็นระบบที่ทันสมัยขึ้น แต่อุปสรรคที่สำคัญก็คือพื้นที่ของโรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์ นั้นแคบไป
หลังจากชั่งใจอยู่นาน ในที่สุดหนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ได้ย้ายโรงพิมพ์จากซอยวรพงษ์ไปยังริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เลขที่ 1 หรือ ที่ทำการปัจจุบัน เป็นอันปิดฉากยุค "ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์" ไปอย่างสวยงาม
ยุคที่ 4 “ไทยรัฐ วิภาวดีฯ”
แม้การตัดสินใจเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงพิมพ์ครั้งนี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จและการยอมรับจากประชาชนว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มี ยอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศ แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็มีเหตุการณ์สุดระทึกเกิดขึ้นหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2514 ที่ "กำพล วัชรพล" ถูกจับกุมตัวร่วมกับบรรณาธิการของสำนักพิมพ์หัวใหญ่อีกหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็น เดลินิวส์หรือสยามรัฐ ร่วมด้วยคอลัมนิสต์ชื่อดังอย่าง "กระแช่ เรือใบ และนพพร" ในข้อหาหมิ่นรัฐมนตรีถนัด คอมันตร์
แต่โชคดีที่เหตุการณ์จบลงด้วยชัยชนะของนักหนังสือพิมพ์ โดยไม่มีใครต้องติดคุกหรือสำนักพิมพ์ไหนถูกปิด ต่อมาในปี พ.ศ.2515 เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อพนักงานไทยรัฐหลายแผนกพากันลาออกในจำนวนที่น่าตกใจ แต่ "ไทยรัฐ" ก็ผ่าน ช่วงเวลาวิกฤติไปได้ด้วยดี พร้อมด้วยการเติบโตจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แท้จริงแห่งวงการหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ในเรื่องของระบบการผลิต "กำพล วัชรพล" ยังตัดสินใจอีกหลายอย่างเพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำของวงการ หนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนระบบการผลิต จากระบบตะกั่วที่ใช้มานานเป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยแสง หรือที่เรียกกันว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งมีความชัดเจนและรวดเร็วกว่าระบบเดิมหลายเท่าตัว
ควบคู่ไปด้วยกันนั้น "กำพล วัชรพล" ยังได้ทดลองจัดการและปฏิรูปองค์กรใหม่ โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ฝ่ายวางแผน ฝ่ายบริหาร และฝ่ายประสานงานและควบคุม ส่วนด้านพัฒนาเนื้อหา ทั้งการนำเสนอบทความและข่าวสารต่างๆ "ไทยรัฐ" ได้ปรับปรุงและพัฒนาให้มีบทบาทในการชี้นำสังคม เพื่อสนองตอบความสุข ความอยากรู้และความบันเทิงแก่ ประชาชนทุกชนชั้น ซึ่งกลายมาเป็นจุดแข็งของหนังสือพิมพ์จวบจนปัจจุบัน
แต่เหมือนโชคร้ายจะยังไม่จบลงแค่นั้น ในปีพ.ศ.2519 ช่วงวิกฤติ 6 ตุลา สำนักพิมพ์ไทยรัฐถูกยิงถล่มด้วยเครื่องยิงระเบิด เอ็ม 79 ส่งผลให้กันสาดของตึกอำนวยการได้รับความเสียหาย มีรอยแตกร้าวไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร แต่ที่ร้ายแรงกว่าคือ แรงระเบิดนั้นทำให้กระจกรถส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งจอดรอรอบตึกแตกร้าวไปไม่น้อยกว่า 10 คัน
อย่างไรก็ดี...วิกฤตการณ์ต่างๆ ไม่อาจทำให้ "กำพล วัชรพล" สูญเสียกำลังใจ เขานำพาหนังสือพิมพ์ก้าวผ่านเหตุการณ์ มากมายโดยไม่หวั่นต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเร่งพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาสาระ รูปแบบการนำเสนอข่าวให้สอดคล้องกับ ท้องถิ่นและความต้องการของผู้อ่านชาวไทยจนทำให้ชื่อของ "ไทยรัฐ" กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม ตลอดมา และมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยหลักล้านต่อวัน
นอกจากเนื้อหาสาระสำคัญอย่างข่าวสารบ้านเมืองและข่าวคราวทางสังคม "กำพล วัชรพล" ยังได้ริเริ่มนำเสนอนิยายจีนกำลัง ภายใจเพื่อตอบสนองกระแสนิยมและเปิดทางเลือกให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการนำเสนอ "นิยายโทรทัศน์" หรือ "นิยายไทยรัฐ" ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังสือพิมพ์เป็นที่รู้จักและมีแฟนคลับนักอ่านติดตามกันอย่าง เหนียวแน่น
ซึ่งตลอดทางเดินและพัฒนาการของหนังสือพิมพ์ "กำพล วัชรพล" ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอน ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เขาจะขลุกอยู่กับงานที่เขารักและสร้างมากับมือ รวมทั้งออกภาคสนามด้วยตัวเองบ่อยครั้ง และในบางครั้งก็ได้แสดง ความสามารถในการ "พาดหัว" ข่าว ให้ขายดิบขายดีอีกด้วย ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักดีได้แก่ "สั่งปลด...อาทิตย์"
พาดหัวฉบับนี้ ถูกตีพิมพ์ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2529 ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้สั่ง ปลดพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ให้เหลือเพียงแค่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดตำแหน่งเดียว ส่งผลให้ยอดขายของฉบับนี้พุ่งพรวดจากเดิมไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์
ในปีพ.ศ.2531 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อ "ไทยรัฐ" เริ่มพิมพ์ 4 สีเป็นครั้งแรก โดยในฉบับวันที่ 4 มิถุนายน ได้พิมพ์พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัด ปรินายกวรวิหาร แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชการพิมพ์ 4 สีเป็นครั้งแรก
แต่การพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งถือเป็นหัวใจหลักที่ "กำพล วัชรพล" ยึดถือมาตลอด วิสัยทัศน์ที่ว่าหนังสือพิมพ์จะสามารถเป็น ที่หนึ่งในท้องตลาดได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วยความแข็งแกร่งจากทีมงาน 2 ฝ่าย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการและด้าน บรรณาธิการ ฉะนั้น เขาจึงตัดสินใจไว้ตั้งแต่แรกว่าจะวางตำแหน่งสูงสุดของทั้งสองฝ่ายให้แก่ทายาท 2 คน ได้แก่ "ยิ่งลักษณ์ วัชรพล" ในตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ และตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้แก่ "สราวุธ วัชรพล"
ยุคที่ 5 “ไทยรัฐ วิภาวดีฯ” (ภาคต่อ)
นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 "กำพล วัชรพล" จึงได้ทำอย่างที่ตั้งใจคือมอบหมายภาระหน้าที่ใหญ่หลวงให้ทายาททั้งสอง ได้แก่ "ยิ่งลักษณ์ วัชรพล" ในตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ และตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้แก่ "สราวุธ วัชรพล" ส่วนตัวเองก็ถอยมายืนดูห่างๆ ยกเว้นการตัดสินใจที่ใหญ่หลวง เช่น การสั่งซื้อแท่นพิมพ์มูลค่ากว่าสามพันล้านบาท และ การตัดสินใจขึ้นราคาหนังสือพิมพ์เป็นฉบับละ 8 บาทจึงจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินและพิจารณา
ระหว่างนั้น การดำเนินการของหนังสือพิมพ์เป็นได้ด้วยดี ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงของบ้านเมืองมาทำให้สำนักพิมพ์ต้องปิดตัวลง เหมือนในยุคก่อนหน้า แต่ถึงกระนั้นก็มีการก่อกวนเป็นพักๆ แต่ไม่มีอะไรรุนแรงจนทำให้ผู้ก่อตั้งและทีมงานสูญเสียกำลังใจ
และเพราะความมุ่งมั่นและความใส่ใจจะพัฒนาคุณภาพของหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ทำให้ยอดขายดีวันดีคืนจนถึงล้านกว่าฉบับ ต่อวัน เพื่อตอบสนองการขยายตัวของกิจการและยอดขายที่เพิ่มขึ้น "กำพล วัชรพล" จึงได้ตัดสินใจลงทุนกว่าสามพันล้านซื้อ แท่นพิมพ์ยี่ห้อ เอ็ม เอ เอ็นโรแลนด์ รุ่นจีโอแมนจากประเทศเยอรมนี จำนวน 6 เครื่องและติดตั้งบนอาคารใหม่ 9 ชั้นที่สร้างเพื่อ การนี้โดยเฉพาะ
แท่นพิมพ์ตัวใหม่มีศักยภาพในการพิมพ์ 60,000 ฉบับต่อชั่วโมง และถูกเปิดใช้งานวันแรกในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2538 ซึ่ง ตรงกับวันคล้ายวันเกิดปีที่ 76 ของ "กำพล วัชรพล" โดยมีแขกเหรื่อและเพื่อนพ้องจากทุกวงการมาร่วมงานอย่างคับคั่ง แต่ เจ้าของงานตัวจริง บุรุษเหล็กแห่งวงการหนังสือพิมพ์ ได้ล้มป่วยและรักษาตัวที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แต่กำลังใจที่ดีทำให้ ตัดสินใจมาร่วมงานเพื่อกดปุ่มเปิดแท่นยักษ์ พร้อมรอยยิ้มสดใสต้อนรับเรื่องดีๆ
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 เวลา 01.45 น. "กำพล วัชรพล" ผู้สร้างตำนานมากมายแก่วงการหนังสือพิมพ์ไทย ได้อำลาจาก โลกนี้ไปอย่างสงบ เหลือไว้เพียงความดีงามที่จารึกและอยู่ในความทรงจำของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ และสิ่งมีค่าที่สุดที่ เขาทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติของประชาชนก็ คือ "หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" สื่อสิ่งพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศ
ยุคที่ 6 “สู่อนาคตด้วยความมุ่งมั่น”
นยุคต่อมาของหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวให้เหนือและเป็นผู้นำทาง ความคิดของสังคมไทย ทำให้เผู้บริหารมุ่งมั่นพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการรับเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มา ปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
เริ่มต้นด้วยการพัฒนาด้านอุปกรณ์เสริมของแท่นพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบแยกสีประกอบหน้าเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า การขยายระบบการรับและส่งภาพวิถีไกลพร้อมข้อมูลข่าวสารอีก 12 จังหวัด
ตามมาด้วยการปรับกลยุทธ์ทางด้านเนื้อหาสาระของข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมุ่งเน้นข่าวประเภทอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ ข่าวกีฬาและข่าวบันเทิง ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมดทำให้ "ไทยรัฐ" ยืนหยัดเอาตัวรอดภายหลังจากการขึ้นราคาเป็น 8 บาทได้โดยยอด จำหน่ายไม่ได้ลดลงตามไปด้วย ทำให้คณะผู้บริหารมีความมั่นใจและเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมที่จะนำหนังสือพิมพ์ฝ่าคลื่นลมไปสู่อนาคต อันยาวไกลได้ไม่แพ้รุ่นก่อตั้งที่สร้างสมไว้
จากหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทยตลอด 60 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ "ไทยรัฐ" มีความมั่นใจจะต่อยอด "พลังแห่งความเข้าถึง" สู่สังคมไทยด้วยการให้กำเนิด "ไทยรัฐทีวี" หลังจากเคยขยายช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ก่อนหน้านี้แล้วเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
ในปีพ.ศ. 2557 "ไทยรัฐ" ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจบรอดคาสต์ เข้าสู่สนามการแข่งขันและแวดวง "ดิจิตอลทีวี" อย่างเป็นทางการ จากการที่กสทช. จะเปลี่ยนระบบการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน จากระบบ "อนาล็อก" (Analog) เป็นระบบ "ดิจิตอล" (Digital) เปิดโอกาสให้แก่ผู้ผลิต Content ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มาร่วมสร้างประสบการณ์และปรากฏการณ์ใหม่ ให้แก่วงการโทรทัศน์ไทย
พื้นฐานการเติบโตจากการผลิตและนำเสนอข่าวสาร รวมทั้งสาระประโยชน์ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้อ่านทั่วประเทศ ถือเป็นจุดแข็งที่ "ไทยรัฐทีวี" เลือกนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์หลัก เพื่อนำเสนอเรื่องราวแนวเดียวกันในปริมาณครึ่งหนึ่งของสัดส่วนเนื้อหา ทั้งหมด เพื่อรักษาฐานผู้อ่านหรือแฟนคลับของเราไว้ นอกจากนี้ "ไทยรัฐทีวี" ยังเสนอทางเลือกใหม่สนองความต้องการ บริโภคเนื้อหาประเภทบันเทิงและวาไรตี้สำหรับผู้ชมกลุ่มอื่นๆอย่างครอบคลุมมากที่สุด โดยเน้นวิธีการนำเสนอหรือ "การเล่าเรื่อง" ที่เข้าใจง่าย เพื่อถ่ายทอด "เรื่องใกล้ตัว" ให้ "ใช้ได้จริง" ในชีวิตประจำวันของผู้ชม
ยุคที่ 1 “ข่าวภาพ”
หนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Weekly Pictorial" หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ซึ่งถูกตีพิมพ์ด้วย หัวหนังสือสีแดง เพื่อวางแผงฉบับปฐมฤกษ์ในว
ข่าวพาดหัวใหญ่ในวันนั้นคือ "ตายโหง 5 ศพในวันขึ้นปีใหม่" ร่วมด้วยข่าวคราวอื่นๆ ซึ่งเป็นข่าวชาวบ้านหรือข่าวสังคม ไม่ได้ เน้นข่าวการเมืองเหมือนอย่างที่ฉบับอื่นๆ นิยมกันสมัยนั้น ผลที่ได้ก็คือหนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" ฉบับนั้นถูกตีกลับมาเพียง 7 ฉบับ จากยอดตีพิมพ์ 3,000 ฉบับ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ทำให้ผู้ก่อตั้งได้แนวคิดเรื่องความนิยมในการบริโภคข่าวสารของ ผู้อ่าน และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน
ยุคแรกของการทำงานของ "ข่าวภาพรายสัปดาห์" มี "เลิศ อัศเวศน์" รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ "กำพล วัชรพล" เป็นผู้พิมพ์ และนำหนังสือพิมพ์ออกขาย และ "วสันต์ ชูสกุล" เป็นผู้หาเงินทุน โดยกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายของหนังสือพิมพ์ในตอนนั้นได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวและชาวบ้านทั่วไป เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของแวดวงสังคมและข่าวคราวในท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันกับ คนส่วนใหญ่ ต่างจากกลุ่มเป้าหมายของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับอื่นๆ อีก 7-8 ฉบับที่มุ่งเน้นข่าวคราวการเมือง นับเป็นจุด แตกต่างหรือ "จุดแข็ง" ที่สำคัญที่ทำให้ "ข่าวภาพรายสัปดาห์" มีพื้นที่ในตลาดและครองใจผู้อ่านตลอดมา
เมื่อหนังสือพิมพ์ได้รับการยอมรับจากผู้อ่านจนติดตลาด "กำพล วัชรพล" ในฐานะผู้ก่อตั้งหลักจึงได้มองการณ์ไกลและเริ่มคิด จะตีพิมพ์หนังสือพิมพ์เพิ่ม จากรายสัปดาห์เป็นทุก 3 วันแทน จึงเป็นผลให้บริษัทมีรายได้มากและเร็วขึ้นตามลำดับ หลังจากนั้น อีก 1 ปี หรือราวกลางปี 2495 "ข่าวภาพรายสามวัน" จึงกลายเป็น "ข่าวภาพรายวัน" ในที่สุด โดยมี "อุทธรณ์ พลกุล" เป็น บรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ "ข่าวภาพ" ในยุคนี้ได้รับความนิยมและรับหน้าที่ตีแผ่สังคมมาเรื่อย จนกระทั่งถูกปิดตัวลงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 โดยคณะปฏิวัติโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเข้ายึดอำนาจรัฐบาลอย่างเด็ดขาด
ยุคที่ 2 “เสียงอ่างทอง”
เพราะนโยบาย "หนังสือพิมพ์เก่าออกไม่ได้ หนังสือพิมพ์ใหม่อย่าได้เกิด" ของคณะปฏิวัติ ทำให้ "กำพล วัชรพล" ประสบ สภาวะลำบากจะขอเปิดหัวหนังสือพิมพ์ใหม่ จึงต้องขอหัวหนังสือพิมพ์เก่า "เสียงอ่างทอง" มาทดแทน
หนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ตีพิมพ์ครั้งแรกวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2502 มี "วิมล พลกุล" เป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการ ร่วมด้วยทีมงานเก่าจาก "ข่าวภาพ" ยกชุด โดยมีสโลแกนหลัก "อยากเห็นภาพ อยากทราบข่าว ต้องอ่านเสียงอ่างทอง หนังสือพิมพ์ประจำครอบครัว" วางจำหน่ายฉบับละ 50 สตางค์ โดยมีเนื้อหา 10 หน้า ซึ่งถูกกว่าฉบับอื่นๆ ที่มีเพียง 8 หน้าใน สนนราคาเท่ากัน
"เสียงอ่างทอง" เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปีเดียวกัน จากการตีแผ่ข่าวของคดีพิศวาสฆาตกรรม "นวลฉวี" เพราะสไตล์การเขียนและ นำเสนอที่โดดเด่น รวมทั้งข่าวคราวการเมืองที่เริ่มได้รับความนิยมเพราะมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใด นอกจากนี้อีกปัจจัยที่ทำให้ "เสียงอ่างทอง" ประสบความสำเร็จได้แก่คอลัมน์ต่างๆ ทำให้ยอดจำหน่ายของหนังสือพิมพ์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 45,000 ฉบับในปี พ.ศ.2503
แต่ถึงกระนั้น "กำพล วัชรพล" ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และซื้อหัวหนังสือพิมพ์สำรองไว้อีกหนึ่งฉบับ ได้แก่ "ไทยรัฐ" เพื่อเป็นหลัก ประกันในยามฉุกเฉิน รวมถึงได้ปฏิวัติระบบจำหน่ายหนังสือพิมพ์ครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการใช้วิธีขนส่งเองโดยใช้รถยนต์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้ตัดสินใจลงหลักตั้งสำนักงานโรงพิมพ์ของตัวเองเป็นครั้งแรกที่ซอยวรพงษ์ โดยเซ้งแท่นพิมพ์ระบบโรตารี่ จำนวน 2 แท่น เพื่อสนองการขยายตัวของกิจการ
และแล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเจ้าของเดิมของหนังสือพิมพ์ "เสียงอ่างทอง" ต้องการดึงหัวกลับมาทำเอง "ไทยรัฐ" พร้อมด้วยกองบรรณาธิการชุดเดิมจากเสียงอ่างทองจึงได้ถูกตีพิมพ์และออกวางจำหน่ายตามแผงต่างๆ ทั่วประเทศเป็น ครั้งแรกในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2505
ยุคที่ 3 “ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์”
ในยุค "ซอยวรพงษ์" ไทยรัฐได้เริ่มขยายกิจการอย่างเต็มที่ เริ่มรวบรวมนักข่าวและคอลัมนิสต์มาร่วมงานในกองบรรณาธิการ มากหน้าหลายตา นอกเหนือจากคนเก่าแต่เก๋าอย่าง "เลิศ อัศเวศน์" "กระแช่ หรือ ประสาน มีเฟื่องศาสตร์" "สมิต มานัสฤดี" " วิมล พลกุล" สมบูรณ์ วงพงษ์" "มานิจ สุขสมจิตร" และ "เฉลิมชัย ทรงสุข" เป็นต้น
ความพร้อมเรื่องกำลังการผลิต เงินทุนและคลังมันสมองของกองบรรณาธิการ ทำให้ในยุคนี้หนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" มียอด จำหน่ายสูงถึง 100,000 ฉบับ ในขณะที่ "เสียงอ่างทอง" ซึ่งเจ้าของชื่อเดิมดึงกลับไปทำเองต้องปิดตัวไปอย่างรวดเร็ว
และเพราะกระแสตอบรับ บวกกับความนิยมที่มากขึ้น ทำให้ผู้ก่อตั้งเริ่มมีความคิดจะขยายกำลังการผลิตจากระบบ Letter Press หรือระบบหลอมตะกั่ว ให้เป็นระบบที่ทันสมัยขึ้น แต่อุปสรรคที่สำคัญก็คือพื้นที่ของโรงพิมพ์ในซอยวรพงษ์ นั้นแคบไป
หลังจากชั่งใจอยู่นาน ในที่สุดหนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ได้ย้ายโรงพิมพ์จากซอยวรพงษ์ไปยังริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เลขที่ 1 หรือ ที่ทำการปัจจุบัน เป็นอันปิดฉากยุค "ไทยรัฐ ซอยวรพงษ์" ไปอย่างสวยงาม
ยุคที่ 4 “ไทยรัฐ วิภาวดีฯ”
แม้การตัดสินใจเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงพิมพ์ครั้งนี้จะนำมาซึ่งความสำเร็จและการยอมรับจากประชาชนว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มี ยอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศ แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็มีเหตุการณ์สุดระทึกเกิดขึ้นหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2514 ที่ "กำพล วัชรพล" ถูกจับกุมตัวร่วมกับบรรณาธิการของสำนักพิมพ์หัวใหญ่อีกหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็น เดลินิวส์หรือสยามรัฐ ร่วมด้วยคอลัมนิสต์ชื่อดังอย่าง "กระแช่ เรือใบ และนพพร" ในข้อหาหมิ่นรัฐมนตรีถนัด คอมันตร์
แต่โชคดีที่เหตุการณ์จบลงด้วยชัยชนะของนักหนังสือพิมพ์ โดยไม่มีใครต้องติดคุกหรือสำนักพิมพ์ไหนถูกปิด ต่อมาในปี พ.ศ.2515 เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อพนักงานไทยรัฐหลายแผนกพากันลาออกในจำนวนที่น่าตกใจ แต่ "ไทยรัฐ" ก็ผ่าน ช่วงเวลาวิกฤติไปได้ด้วยดี พร้อมด้วยการเติบโตจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แท้จริงแห่งวงการหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ในเรื่องของระบบการผลิต "กำพล วัชรพล" ยังตัดสินใจอีกหลายอย่างเพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำของวงการ หนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนระบบการผลิต จากระบบตะกั่วที่ใช้มานานเป็นระบบเรียงพิมพ์ด้วยแสง หรือที่เรียกกันว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งมีความชัดเจนและรวดเร็วกว่าระบบเดิมหลายเท่าตัว
ควบคู่ไปด้วยกันนั้น "กำพล วัชรพล" ยังได้ทดลองจัดการและปฏิรูปองค์กรใหม่ โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ฝ่ายวางแผน ฝ่ายบริหาร และฝ่ายประสานงานและควบคุม ส่วนด้านพัฒนาเนื้อหา ทั้งการนำเสนอบทความและข่าวสารต่างๆ "ไทยรัฐ" ได้ปรับปรุงและพัฒนาให้มีบทบาทในการชี้นำสังคม เพื่อสนองตอบความสุข ความอยากรู้และความบันเทิงแก่ ประชาชนทุกชนชั้น ซึ่งกลายมาเป็นจุดแข็งของหนังสือพิมพ์จวบจนปัจจุบัน
แต่เหมือนโชคร้ายจะยังไม่จบลงแค่นั้น ในปีพ.ศ.2519 ช่วงวิกฤติ 6 ตุลา สำนักพิมพ์ไทยรัฐถูกยิงถล่มด้วยเครื่องยิงระเบิด เอ็ม 79 ส่งผลให้กันสาดของตึกอำนวยการได้รับความเสียหาย มีรอยแตกร้าวไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร แต่ที่ร้ายแรงกว่าคือ แรงระเบิดนั้นทำให้กระจกรถส่งหนังสือพิมพ์ซึ่งจอดรอรอบตึกแตกร้าวไปไม่น้อยกว่า 10 คัน
อย่างไรก็ดี...วิกฤตการณ์ต่างๆ ไม่อาจทำให้ "กำพล วัชรพล" สูญเสียกำลังใจ เขานำพาหนังสือพิมพ์ก้าวผ่านเหตุการณ์ มากมายโดยไม่หวั่นต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งเร่งพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาสาระ รูปแบบการนำเสนอข่าวให้สอดคล้องกับ ท้องถิ่นและความต้องการของผู้อ่านชาวไทยจนทำให้ชื่อของ "ไทยรัฐ" กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม ตลอดมา และมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยหลักล้านต่อวัน
นอกจากเนื้อหาสาระสำคัญอย่างข่าวสารบ้านเมืองและข่าวคราวทางสังคม "กำพล วัชรพล" ยังได้ริเริ่มนำเสนอนิยายจีนกำลัง ภายใจเพื่อตอบสนองกระแสนิยมและเปิดทางเลือกให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นการนำเสนอ "นิยายโทรทัศน์" หรือ "นิยายไทยรัฐ" ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังสือพิมพ์เป็นที่รู้จักและมีแฟนคลับนักอ่านติดตามกันอย่าง เหนียวแน่น
ซึ่งตลอดทางเดินและพัฒนาการของหนังสือพิมพ์ "กำพล วัชรพล" ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอน ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เขาจะขลุกอยู่กับงานที่เขารักและสร้างมากับมือ รวมทั้งออกภาคสนามด้วยตัวเองบ่อยครั้ง และในบางครั้งก็ได้แสดง ความสามารถในการ "พาดหัว" ข่าว ให้ขายดิบขายดีอีกด้วย ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักดีได้แก่ "สั่งปลด...อาทิตย์"
พาดหัวฉบับนี้ ถูกตีพิมพ์ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2529 ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้สั่ง ปลดพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ให้เหลือเพียงแค่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดตำแหน่งเดียว ส่งผลให้ยอดขายของฉบับนี้พุ่งพรวดจากเดิมไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์
ในปีพ.ศ.2531 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อ "ไทยรัฐ" เริ่มพิมพ์ 4 สีเป็นครั้งแรก โดยในฉบับวันที่ 4 มิถุนายน ได้พิมพ์พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยกช่อฟ้าพระอุโบสถวัด ปรินายกวรวิหาร แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชการพิมพ์ 4 สีเป็นครั้งแรก
แต่การพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งถือเป็นหัวใจหลักที่ "กำพล วัชรพล" ยึดถือมาตลอด วิสัยทัศน์ที่ว่าหนังสือพิมพ์จะสามารถเป็น ที่หนึ่งในท้องตลาดได้นั้น จะต้องประกอบไปด้วยความแข็งแกร่งจากทีมงาน 2 ฝ่าย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการและด้าน บรรณาธิการ ฉะนั้น เขาจึงตัดสินใจไว้ตั้งแต่แรกว่าจะวางตำแหน่งสูงสุดของทั้งสองฝ่ายให้แก่ทายาท 2 คน ได้แก่ "ยิ่งลักษณ์ วัชรพล" ในตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ และตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้แก่ "สราวุธ วัชรพล"
ยุคที่ 5 “ไทยรัฐ วิภาวดีฯ” (ภาคต่อ)
นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 "กำพล วัชรพล" จึงได้ทำอย่างที่ตั้งใจคือมอบหมายภาระหน้าที่ใหญ่หลวงให้ทายาททั้งสอง ได้แก่ "ยิ่งลักษณ์ วัชรพล" ในตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ และตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้แก่ "สราวุธ วัชรพล" ส่วนตัวเองก็ถอยมายืนดูห่างๆ ยกเว้นการตัดสินใจที่ใหญ่หลวง เช่น การสั่งซื้อแท่นพิมพ์มูลค่ากว่าสามพันล้านบาท และ การตัดสินใจขึ้นราคาหนังสือพิมพ์เป็นฉบับละ 8 บาทจึงจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินและพิจารณา
ระหว่างนั้น การดำเนินการของหนังสือพิมพ์เป็นได้ด้วยดี ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงของบ้านเมืองมาทำให้สำนักพิมพ์ต้องปิดตัวลง เหมือนในยุคก่อนหน้า แต่ถึงกระนั้นก็มีการก่อกวนเป็นพักๆ แต่ไม่มีอะไรรุนแรงจนทำให้ผู้ก่อตั้งและทีมงานสูญเสียกำลังใจ
และเพราะความมุ่งมั่นและความใส่ใจจะพัฒนาคุณภาพของหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ ทำให้ยอดขายดีวันดีคืนจนถึงล้านกว่าฉบับ ต่อวัน เพื่อตอบสนองการขยายตัวของกิจการและยอดขายที่เพิ่มขึ้น "กำพล วัชรพล" จึงได้ตัดสินใจลงทุนกว่าสามพันล้านซื้อ แท่นพิมพ์ยี่ห้อ เอ็ม เอ เอ็นโรแลนด์ รุ่นจีโอแมนจากประเทศเยอรมนี จำนวน 6 เครื่องและติดตั้งบนอาคารใหม่ 9 ชั้นที่สร้างเพื่อ การนี้โดยเฉพาะ
แท่นพิมพ์ตัวใหม่มีศักยภาพในการพิมพ์ 60,000 ฉบับต่อชั่วโมง และถูกเปิดใช้งานวันแรกในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2538 ซึ่ง ตรงกับวันคล้ายวันเกิดปีที่ 76 ของ "กำพล วัชรพล" โดยมีแขกเหรื่อและเพื่อนพ้องจากทุกวงการมาร่วมงานอย่างคับคั่ง แต่ เจ้าของงานตัวจริง บุรุษเหล็กแห่งวงการหนังสือพิมพ์ ได้ล้มป่วยและรักษาตัวที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แต่กำลังใจที่ดีทำให้ ตัดสินใจมาร่วมงานเพื่อกดปุ่มเปิดแท่นยักษ์ พร้อมรอยยิ้มสดใสต้อนรับเรื่องดีๆ
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 เวลา 01.45 น. "กำพล วัชรพล" ผู้สร้างตำนานมากมายแก่วงการหนังสือพิมพ์ไทย ได้อำลาจาก โลกนี้ไปอย่างสงบ เหลือไว้เพียงความดีงามที่จารึกและอยู่ในความทรงจำของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศ และสิ่งมีค่าที่สุดที่ เขาทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติของประชาชนก็ คือ "หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" สื่อสิ่งพิมพ์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศ
ยุคที่ 6 “สู่อนาคตด้วยความมุ่งมั่น”
นยุคต่อมาของหนังสือพิมพ์ "ไทยรัฐ" ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการก้าวให้เหนือและเป็นผู้นำทาง ความคิดของสังคมไทย ทำให้เผู้บริหารมุ่งมั่นพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการรับเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มา ปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
เริ่มต้นด้วยการพัฒนาด้านอุปกรณ์เสริมของแท่นพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบแยกสีประกอบหน้าเพื่อรองรับงานพิมพ์ 40 หน้า การขยายระบบการรับและส่งภาพวิถีไกลพร้อมข้อมูลข่าวสารอีก 12 จังหวัด
ตามมาด้วยการปรับกลยุทธ์ทางด้านเนื้อหาสาระของข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมุ่งเน้นข่าวประเภทอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะ ข่าวกีฬาและข่าวบันเทิง ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหมดทำให้ "ไทยรัฐ" ยืนหยัดเอาตัวรอดภายหลังจากการขึ้นราคาเป็น 8 บาทได้โดยยอด จำหน่ายไม่ได้ลดลงตามไปด้วย ทำให้คณะผู้บริหารมีความมั่นใจและเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมที่จะนำหนังสือพิมพ์ฝ่าคลื่นลมไปสู่อนาคต อันยาวไกลได้ไม่แพ้รุ่นก่อตั้งที่สร้างสมไว้
จากหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทยตลอด 60 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ "ไทยรัฐ" มีความมั่นใจจะต่อยอด "พลังแห่งความเข้าถึง" สู่สังคมไทยด้วยการให้กำเนิด "ไทยรัฐทีวี" หลังจากเคยขยายช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ก่อนหน้านี้แล้วเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
ในปีพ.ศ. 2557 "ไทยรัฐ" ตัดสินใจลงทุนในธุรกิจบรอดคาสต์ เข้าสู่สนามการแข่งขันและแวดวง "ดิจิตอลทีวี" อย่างเป็นทางการ จากการที่กสทช. จะเปลี่ยนระบบการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน จากระบบ "อนาล็อก" (Analog) เป็นระบบ "ดิจิตอล" (Digital) เปิดโอกาสให้แก่ผู้ผลิต Content ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่มาร่วมสร้างประสบการณ์และปรากฏการณ์ใหม่ ให้แก่วงการโทรทัศน์ไทย
พื้นฐานการเติบโตจากการผลิตและนำเสนอข่าวสาร รวมทั้งสาระประโยชน์ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้อ่านทั่วประเทศ ถือเป็นจุดแข็งที่ "ไทยรัฐทีวี" เลือกนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์หลัก เพื่อนำเสนอเรื่องราวแนวเดียวกันในปริมาณครึ่งหนึ่งของสัดส่วนเนื้อหา ทั้งหมด เพื่อรักษาฐานผู้อ่านหรือแฟนคลับของเราไว้ นอกจากนี้ "ไทยรัฐทีวี" ยังเสนอทางเลือกใหม่สนองความต้องการ บริโภคเนื้อหาประเภทบันเทิงและวาไรตี้สำหรับผู้ชมกลุ่มอื่นๆอย่างครอบคลุมมากที่สุด โดยเน้นวิธีการนำเสนอหรือ "การเล่าเรื่อง" ที่เข้าใจง่าย เพื่อถ่ายทอด "เรื่องใกล้ตัว" ให้ "ใช้ได้จริง" ในชีวิตประจำวันของผู้ชม