- ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงที่สุดในรอบ 13 ปี หลังชาติมหาอำนาจแบนการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียได้ออกโรงเตือน การปฏิเสธน้ำมันจากรัสเซียจะนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงต่อตลาดโลก
- ทั่วโลกเร่งหาทางออกหันไปนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นๆ วอนซาอุดีอาระเบียและชาติสมาชิกโอเปกให้เพิ่มกำลังการผลิต
- แต่การน้ำมันมาทดแทนประเทศผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างรัสเซียนั้นไม่ง่ายนัก สิ่งที่สามารถทำได้มีสี่ข้อหลักๆ คือ การเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันจากประเทศผลิตน้ำมันอื่นๆ ลดดีมานด์น้ำมัน นำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือแอลพีจี เพิ่ม รวมถึงสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์ แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านทั้งสิ้น
เมื่อสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ รัสเซียยิงขีปนาวุธถล่มเมืองใหญ่ในยูเครนแบบไม่ยั้ง และการอพยพพลเมืองต้องติดขัด ส่วนชาติพันธมิตรนาโต หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ไม่ก้าวล่วงส่งทหารไปช่วยรบเนื่องจากยูเครนไม่ใช่สมาชิกนาโต สิ่งที่ทำได้มีเพียงการส่งอาวุธไปให้ฝ่ายยูเครน และตอบโต้รัสเซียด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกด้วย แต่การตอบโต้ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดพลังงานโลกเข้าขั้นวิกฤติราคาน้ำมันพุ่งสูงแบบฉุดไม่อยู่ กระทบไปถึงสายพานการผลิต การขนส่ง ซ้ำเติมวิกฤติเงินเฟ้อ
ประเทศที่คว่ำบาตรน้ำมันรุนแรงที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศแบนน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินจากรัสเซีย ส่วนสหราชอาณาจักร ค่อยๆ ลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียไปจนถึงสิ้นปี เพื่อค่อยๆ เปลี่ยนผ่านหาทางเลือกอื่นๆ เช่นเดียวกันสหภาพยุโรปที่ลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันรัสเซียราว 2 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมด
...
การนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย อาจถูกเปรียบเทียบได้ว่าเม็ดเงินจากผู้ใช้น้ำมันได้กลายเป็นเงินทุนของรัสเซียในการทำสงครามกับยูเครน ซึ่งสหภาพยุโรปได้ซื้อน้ำมันจากรัสเซียเป็นมูลค่า 217 ล้านยูโร หรือราว 7,980 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งเงินจากการจำหน่ายน้ำมันได้เข้ากระเป๋ารัสเซียแบบเต็มๆ
ส่วนนายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียได้ออกโรงเตือนว่าการปฏิเสธน้ำมันจากรัสเซียจะนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงต่อตลาดโลก
ทั่วโลกพึ่งพาน้ำมันจากรัสเซียมากขนาดไหน
ข้อมูลจากสำนักข่าว บีบีซี ชี้ว่า รัสเซียนับเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและซาอุดีอาระเบีย ในแต่ละวันรัสเซียส่งออกน้ำมันดิบมากถึง 5 ล้านบาร์เรล ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งถูกส่งไปยังยุโรป โดยสหราชอาณาจักรพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียราว 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันรัสเซีย 3 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563
จะเกิดอะไรขึ้นหากรัสเซียยุติการส่งก๊าซไปยุโรป สิ่งที่จะขึ้นแน่นอนคือราคาหลังงานที่มีราคาแพงอยู่แล้ว ก็จะแพงขึ้นไปอีก เนื่องจากยุโรปพึ่งพาการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคืออิตาลีและเยอรมนี
ยุโรปสามารถหันไปน้ำเข้าก๊าซจาก กาตาร์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย แต่ประเทศดังกล่าวอาจประสบกับอุปสรรคในการเพิ่งการผลิตรัสเซียส่งออกก๊าซไปสหราชอาณาจักรราว 15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสหรัฐฯ ไม่ได้นำเข้าก๊าซจากรัสเซีย และอาจไม่ง่ายนักที่จะหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อทดแทนก๊าซจากรัสเซีย
สหรัฐอเมริกาได้ร้องขอให้ซาอุดีอาระเบีย เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน โดยซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของ โอเปก หรือกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน ซึ่งโดยรวมแล้วมีการผลิตน้ำมันคิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์
หาตลาดทดแทนรัสเซียได้หรือไม่
การน้ำมันมาทดแทนประเทศผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างรัสเซียนั้นไม่ง่ายนัก ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้มีสี่ข้อหลักๆ คือการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันจากประเทศผลิตน้ำมันอื่นๆ ลดดีมานด์น้ำมัน ซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี เพิ่ม รวมถึงสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านทั้งสิ้น ด้านผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารแซกโซ มองว่า การลดราคาน้ำมันอาจทำให้ปัญหามีความยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้น และผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ อาจไม่สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ในเร็วๆ นี้
...
ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งคือการที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลา ซึ่งอิหร่านสามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันเข้าสู่ตลาดโลก 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่เวเนซุเอลายังคงต้องแก้ไขปัญหาการผลิตน้ำมันภายในประเทศ
คลังน้ำมันสหรัฐฯ ก็นับเป็นอีกหนึ่งความหวังของตลาดพลังงาน ในเดือน ธ.ค 64 ที่ผ่านมาสหรัฐฯได้ส่งออกน้ำมัน 3.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน และสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันได้ แต่กระบวนการทั้งหมดล้วนต้องใช้เวลาทั้งสิ้น ประเทศอิหร่าน อาจต้องใช้เวลากว่าหนึ่งเดือนในการเพิ่มการผลิตน้ำมัน ส่วนสหรัฐฯ เองก็ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน ขณะที่เวเนซุเอลาอาจต้องใช้เวลาร่วมปีในการเพิ่มปริมาณการผลิต
...
ส่วนการหันไปพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน หรือหลังงานสะอาด นั้นก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน แม้ว่ารัฐบาลจะหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับพลังงานสะอาด แต่ในบางประเทศอาจต้องใช้เวลาการเปลี่ยนผ่านจากน้ำมันไปหาพลังงานที่ยั่งยืนเกือบสิบปี
ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงขนาดไหน ผลกระทบมีอะไรบ้าง
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ราคาน้ำมันสูงสุดอยู่ที่ 147.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเดือน ก.ค. 2551 ซึ่งนักวิเคราะห์จาก บริษัท ยูบีเอส มองว่าหากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ ราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงทุบสถิติ แตะ 150 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่วนนักวิเคราะห์จาก ธนาคารแห่งอเมริกา ระบุว่า หากรัสเซียระงับการส่งออกน้ำมัน จะกระทบให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
หากราคาน้ำมันพุ่งสูงทุบสถิติ จะเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง และหลายภาคส่วนเริ่มได้รับผลกระทบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง ตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงแบบฉุดไม่อยู่ รวมถึงวิกฤติค่าครองชีพ
ส่วนแนวคิดที่ว่า สินค้าที่มีราคาแพงต่อเนื่องราคาจะปรับลดลงเอง ตัวอย่างเช่น หากราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นจนผู้คนไม่สามารถรับไหวก็จะหยุดซื้อ ทำให้ดีมานด์น้ำมันต่ำลง และราคาก็จะลดลงตามไปด้วย แต่แนวคิดดังกล่าวนั้นจะส่งผลกระทบให้โรงงานการผลิตได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัว ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจดิ่งลงเหวจนอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
...
ผู้เขียน: นัฐชา กิจโมกข์
ที่มา: The Guardian, BBC, France24