เทคโนโลยีและชีวิตดิจิทัลนำพาโลกมาถึงวันที่ AI (Artificial Intelligence) กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตรอบด้านมากขึ้นเรื่อยๆ แค่เพียงหลับตาแล้วจินตนาการ เราอาจไม่ทราบได้แน่ชัดว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในอนาคต เหตุนี้คุณแม่หลายคนจึงอดเป็นกังวลใจไม่ได้ว่าจะเลี้ยงลูกอย่างไรในวัน AI เข้ามามีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงในวันข้างหน้าที่เกินคาดเดา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็มีส่วนเป็นเครื่องมือเสริมทักษะการเรียนรู้ของลูกให้รวดเร็วขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ต้องไม่ลืมเรื่องพัฒนาการสมองและการเสริมทักษะทางความคิดที่จำเป็นให้กับลูกๆ ด้วย เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ และความคิดที่แข็งแกร่ง สำหรับพวกเขาในอนาคต

เริ่มต้นที่พัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยเยาว์
เริ่มต้นที่พัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยเยาว์

เริ่มต้นที่พัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยเยาว์

สำหรับเด็กๆ ที่เกิด และค่อยๆ เติบโตขึ้นในยุคเทคโนโลยี และ AI เริ่มมีบทบาทมากขึ้นแบบวันนี้ และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอนาคต นอกจากจะได้พบกับชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้นแล้ว พวกเขายังจะได้พบความหลากหลายและการเข้าถึงข้อมูลที่มากขึ้นและง่ายขึ้น รวมไปจนถึงพบการเชื่อมโยงของโลกที่จะเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยเหตุนี้วิธีสอนลูกให้ฝึกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงรู้เท่าทันโลกของเทคโนโลยีและ AI ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับแม่ Gen อนาคต ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า แม่ต้องเริ่มเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ลูกๆ ยังอยู่ในวัยเยาว์ โดยแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การฝึกทักษะสมอง ที่เรียกว่า Executive Functions หรือ EF ที่ส่งผลต่อวิธีคิดและการเรียนรู้หลากหลายด้าน

Executive Functions ส่งผลต่อวิธีคิดและการเรียนรู้หลากหลายด้าน
Executive Functions ส่งผลต่อวิธีคิดและการเรียนรู้หลากหลายด้าน

Executive Functions หรือ EF คือทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้า ที่เป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) โดยประกอบไปด้วย 3 ด้าน ได้แก่

1. ความสามารถในการควบคุมและยับยั้งตนเอง (Inhibitory Control) คือการรู้จักควบคุมตนเอง ยั้งคิด ไตร่ตรอง การทนต่อสิ่งยั่วยุ ควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะกระทำได้ และจดจ่อกับการทำงานให้สำเร็จ

2. ความจำเพื่อนำมาใช้งาน (Working Memory) คือความจำที่เก็บข้อมูลเพื่อประมวลผล และพร้อมใช้งานจริง สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน

3. ความยืดหยุ่นทางความคิด (Cognitive Flexibility) คือการรู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยน พลิกแพลง ตัวแปรและกระบวนการต่างๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า EF แฝงอยู่กระบวนการเล่นเพื่อการเรียนรู้ อันจะเป็นรากฐานการเติบไปสู่โลกแห่งความจริงในอนาคต โดยเฉพาะในวันที่เทคโนโลยีและ AI มีบทบาทต่อชีวิต ทั้งนี้มีหลากหลายแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพื่อการพัฒนา EF สำหรับลูกๆ อาทิ การให้เล่นเกมที่กระตุ้นความคิด การให้ลูกอ่านหนังสือ, การใช้ภาษาเด็กเล็ก (Baby Talk), การให้เล่นเกมและกิจกรรมที่ต้องใช้มือ, การแสดงบทบาทสมมุติ ซึ่งอาจแสดงตามบทบาทที่ได้รับ เช่น แสดงเป็นครูกับนักเรียน หรือแม่ค้ากับลูกค้า, การเล่านิทานด้วยน้ำเสียงที่เลียนแบบแต่ละตัวละคร และเสริมด้วยคำถามหลังเล่านิทานจบเพื่อกระตุ้นสมองและฝึกตั้งคำถาม เป็นต้น

เสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการปลูกฝังความคิดที่แข็งแกร่ง
เสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการปลูกฝังความคิดที่แข็งแกร่ง

นอกจากนี้การทำงานประดิษฐ์ หรืองานศิลปะต่างๆ ก็เป็นอีกแนวทางที่สามารถทำได้จริง โดยวิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่นในลักษณะต่างๆ ไม่เพียงเป็นแนวทางที่ดีต่อการฝึกทักษะสมองของลูกเท่านั้น แต่ยังดีต่อการพัฒนาสมาธิ การจดจ่อ และมุ่งมั่นสู่เป้าหมายด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำว่า ทักษะเหล่านี้ต้องฝึกฝนและปลูกฝังกันตั้งแต่วัยเยาว์จึงจะเกิดผลดี

ตัวช่วยสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ “โภชนาการ”

อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกน้อย นั่นก็คือ “โภชนาการที่ดี” ที่ลูกๆ จำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารครบถ้วน นอกจากสารอาหารหลัก 5 หมู่แล้ว ก็ยังมีสารอาหารบางชนิดที่ลูกน้อยควรได้รับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขวบปีแรกที่มีส่วนช่วยเสริมให้ลูกสมองไว อย่าง “สฟิงโกไมอีลิน” สารอาหารที่พบได้มากในน้ำนมแม่ หรือจากแหล่งอื่น เช่น ไข่ นม และชีส เป็นต้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างปลอกไมอีลิน ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถเตรียมความพร้อมให้ลูกได้ เพื่อให้ลูกพร้อมเรียนรู้และต่อยอดทักษะอื่นๆ ต่อไป

เสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการปลูกฝังความคิดที่แข็งแกร่ง

เมื่อเทคโนโลยีและ AI ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนมากขึ้น หน้าที่สำคัญและท้าทายสำหรับพ่อแม่ที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกได้ จึงเป็นทั้งการเตรียมอาหารสำหรับสมอง และการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง เพื่อเป็นต้นทุนให้พร้อมกับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตของลูก

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า แม่ควรเริ่มต้นปลูกฝังลูกตั้งแต่วัยเยาว์ โดยวิธีการที่น่าสนใจ คือ การสอนให้ลูกๆ รู้จักตั้งคำถาม และไม่ด่วนสรุป ทั้งนี้การตั้งคำถามเป็น ยังเป็นส่วนหนึ่งของการปูพื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์ได้อีกด้วย ซึ่งนับว่าจำเป็นมากต่อโลกอนาคตที่ลูกๆ ของเราอยู่ท่ามกลางข้อมูลมหาศาล จนเมื่อถึงวัยหนึ่งที่ลูกเริ่มค้นหาข้อมูลด้วยตนเองมากขึ้น แม่ก็สามารถปลูกฝังให้ลูกๆ ค้นหาคำตอบจากการถามคำถามใดคำถามหนึ่ง จากหลายแหล่งข้อมูล การเรียนรู้วิธีการลักษณะนี้ซ้ำๆ จะทำให้ลูกเข้าใจความสำคัญของการวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูลมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวคิดพื้นฐานของการใช้ชีวิตในโลกเทคโนโลยี แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังเน้นย้ำว่า แม่ควรสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกในชีวิตจริงให้มากขึ้น โดยการใช้ชีวิตร่วมกันในพื้นที่ชีวิตจริงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ และตั้งคำถามต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างดีขึ้นอีก

เสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการปลูกฝังความคิดที่แข็งแกร่ง
เสริมพัฒนาการเด็ก ผ่านการปลูกฝังความคิดที่แข็งแกร่ง

แม้สถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับลูกๆ ในอนาคต เป็นสิ่งที่อยู่เหนือการคาดเดา เทคโนโลยีและ AI จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกบ้างกับชีวิตพวกเขา เราก็ไม่สามารถทราบแน่ชัด แต่ที่แน่ๆ วันนี้คุณแม่ทั้งหลายจงใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ และรู้เท่าทันที่สุด ไม่ว่า AI จะครองโลกตอนไหน แม่ๆ ก็พร้อมเทรนตัวเองและลูกให้ไปต่อได้เสมอ

หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม.ไม่มีค่าใช้จ่าย