อิสราเอล VS อิหร่าน สงครามการตอบโต้ที่ทั่วโลกจับตา ทั้งสองฝ่ายมีการโจมตีแบบจำกัด แต่นักวิเคราะห์มองว่า มีโอกาสที่เชื้อไฟปะทุเป็นสงครามใหญ่ ลุกลามในตะวันออกกลาง หากเกิด "อุบัติเหตุ" โจมตีฐานที่มั่นสำคัญ หรือประชาชนฝ่ายตรงข้าม จนเสียหายหนัก ซึ่งจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับชาติมหาอำนาจ เข้ามาร่วมในสงครามครั้งนี้ได้

อิสราเอล โจมตีอิหร่าน คืนในวันนี้ 19 เม.ย. 67 หลังอิหร่านส่งขีปนาวุธโจมตีอิสราเอล ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นการเปิดหน้าสู้กันครั้งแรกของ 2 ประเทศ หลังทั้งคู่ใช้สงครามลับมากว่า 40 ปี นานาประเทศจึงห่วงว่าจะเกิดไฟสงครามครั้งใหญ่ในพื้นที่ตะวันออกกลาง แม้การตอบโต้ของทั้งคู่ เป็นไปแบบจำกัด แต่อาจทวีความรุนแรงได้ต่อจากนี้

"ดร.ศราวุฒิ อารีย์" ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินไฟสงครามครั้งนี้กับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ตอนนี้เป็นสถานการณ์ตึงเครียดของทั้งสองฝ่าย ด้วยการเผชิญหน้ากันโดยตรง หลังใช้สงครามตัวแทน และสงครามลับต่อสู่กันมาตลอด หากวิเคราะห์ความเป็นไปได้ถึงจุดล่อแหลม ที่ทำให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ในตะวันออกกลาง สามารถสรุปได้ดังนี้

...

- เปิดเกมใหม่ อิสราเอล ต้องเอาคืนอิหร่าน เพราะการที่อิหร่านยิงขีปนาวุธเข้าไปในอิสราเอล เป็นการเปิดเกมใหม่ และทำให้อิสราเอลเสียหน้า น่าสนใจว่าการเอาคืนของสองฝ่าย เป็นไปอย่างจำกัด เพราะโฆษกของทางการอิหร่าน ออกมาให้ข้อมูลว่า 19 เม.ย. 67 มีโดรนขนาดเล็ก 3 ลำ ผ่านเข้ามาใกล้เมืองอิสฟาฮาน แต่ระบบป้องกันทางอากาศของอิหร่านสกัดไว้ได้

- โจมตีคืนแบบจำกัด อิสราเอล ไม่กล้าโจมตีเต็มรูปแบบ ตราบใดที่ยังไม่สามารถชวนให้อเมริกา มาร่วมโจมตีอิหร่านได้ เพราะตระหนักดีว่า อิหร่านมีชาติพันธมิตรในตะวันออกกลางอยู่หลายประเทศ

- ข้อจำกัดอิหร่าน เหตุผลนึงทำให้อิหร่าน มีการโจมตีอิสราเอล แบบจำกัดเช่นกัน เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ความไม่เห็นด้วยของประชาชนที่ใช้งบประมาณด้านต่างประเทศมากเกินไป ดังนั้น ถ้าเกิดสงครามใหญ่ ต้นทุนที่ต้องใช้ในสงครามจะสูงกว่าปกติ

- ระวังอุบัติเหตุโจมตี ซึ่งเกิดขึ้นได้ หากทั้งสองฝ่ายมีการโจมตี ไปถูกศูนย์กลางด้านอาวุธ ฐานบัญชาการสำคัญ หรือชุมชน จนเกิดความเสียหายรุนแรง จะทำให้สงครามโจมตีของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ แน่นอนว่าอิหร่าน มีพัฒนธมิตรหลายประเทศในตะวันออกกลาง ที่จะมีส่วนช่วยเหลือในสงคราม

- อเมริกา มีผลประโยชน์ในตะวันออกกลางสูง ด้วยท่าทีที่ไม่พร้อมจะเข้าร่วมสงครามในการช่วยอิสราเอล ทำให้สงครามที่มีการรบอย่างเต็มรูปแบบไม่เกิดขึ้น แต่ฝั่งอิหร่าน ก็ประเมินแล้วว่าถ้าอเมริกา เปลี่ยนท่าทีร่วมทำสงครามกับอิสราเอล ก็เป็นเรื่องยากที่จะต่อกรได้

- ปาเลสไตน์ ปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ เพราะหลังการปฏิวัติอิหร่าน ในปี ค.ศ.1979 อิหร่านได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ ให้เกิดเป็นรัฐขึ้นมา แต่อิสราเอล ไม่ได้มีความต้องการ ซึ่งความขัดแย้งทวีความรุนแรงเมื่อเกิดเหตุการณ์อิสราเอล เข้าไปยึดครองดินแดนเลบานอน ทางภาคใต้ ที่ประชากรมีเชื้อสายทางศาสนาที่เชื่อมโยงกับอิหร่าน

...

- นิวเคลียร์อิหร่าน ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ผ่านมาอิสราเอล เป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลาง ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนานิวเคลียร์ แต่ช่วงหลังอิหร่านสามารถพัฒนาได้ในระดับสูง ทำให้เกิดความหวาดระแวง.