ปัญหาและวิธีการแก้ไขเมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)...สังคมผู้สูงอายุ คือ?องค์การสหประชาชาติ ได้นิยามเอาไว้ว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นสัดส่วนเกิน 10% หรือ มีผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปคิดเป็นเป็นสัดส่วน 7% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ถือว่า ประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ขณะเดียวกันเมื่อประเทศใดก็ตามมีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 20% หรือ มีสัดส่วนประชากรประชากรอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 14% ของจำนวนประชากรทั้งหมด จะถือว่า ประเทศนั้นได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (Aged Society) ปี 2024 5 ประเทศที่มีสัดส่วนผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี มากที่สุด 1. ญี่ปุ่น 30.2%2. อิตาลี 24.9%3. ฟินแลนด์ 23.9%4. เปอร์โตริโก 23.8%5. โปรตุเกส 23.7% ประเทศไทย : 16.7%อ้างอิง : United Nations Population Division เปรียบเทียบสังคมผู้สูงอายุญี่ปุ่น VS ไทย ประเทศญี่ปุ่น ปี 2024 : จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี : 44,584,000 คน (36.4%)จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี : เพศหญิง 55.3% จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 80 ปี : เพศหญิง 62.7% อายุขัยเฉลี่ย : 85.1 ปี สัดส่วนประชากรอายุ 15-64 ปี : 71,647,000 คน (58.4%)ประเทศไทย ปี 2024 : จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี : 17,035,000 คน (23.7%)จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี : เพศหญิง 55.6% จำนวนผู้มีอายุเกินกว่า 80 ปี : เพศหญิง 61.8% อายุขัยเฉลี่ย : 80.1 ปี สัดส่วนประชากรอายุ 15-64 ปี : 49,133,000 คน (68.3%)สังคมผู้สูงอายุนำไปสู่ปัญหาอะไร? การมีประชากรในวัยทำงานน้อยลง นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ และสร้างผลกระทบต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตของประเทศแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมด้วย เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายทางสังคมโดยเฉพาะการดูแลเรื่องสุขภาพของคนในประเทศในระดับสูง เพราะอะไรญี่ปุ่นจึงขาดแคลนแรงงาน? 1.จำนวนประชากรสูงวัยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อ้างอิงรายงานประจำปีของคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประจำปีงบประมาณ 2021 สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 31.2% ในปี 2030 ส่วนในปี 2040 จะเพิ่มเป็น 35.3% และในปี 2050 จะเพิ่มเป็น 37.7% ของจำนวนประชากร 2. อัตราการเกิดต่ำ อ้างอิงจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น ปี 2022 มีอัตราการเกิดเพียง 799,728 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ และถือเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าระดับ 800,000 คน เป็นครั้งแรก อันเป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย รวมถึงขาดแคลนสถานที่เลี้ยงดูเด็กที่น่าเชื่อถือตามเขตเมืองใหญ่ จนเป็นผลให้บรรดาคู่รักเลือกที่จะมีลูกน้อยลง 3. ใช้แรงงงานหญิงน้อยเกินไป อ้างอิงรายงาน Gender Gap ของ World Economic Forum ปี 2022 ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 116 จากทั้งหมด 146 ประเทศในเรื่องช่องว่างทางเพศ เรื่องการว่าจ้างและการกีดกันแรงงานหญิง 4. ระบบการฝึกงานและว่างจ้างแรงงานต่างชาติไม่เป็นธรรม ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกวิพากวิจารณ์อย่างกว้างในเรื่องการนำแรงงานต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนามาฝึกอบรมและรับเข้าทำงาน ที่นอกจากจะต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกที่แสนยุ่งแล้ว ยังมักให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าแรงงานชาวญี่ปุ่นด้วย จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศญี่ปุ่น ปี 2017 : 1.28 ล้านคน ปี 2018 : 1.46 ล้านคนปี 2019 : 1.66 ล้านคนปี 2020 : 1.72 ล้านคน ปี 2021 : 1.73 ล้านคนปี 2022 : 1.82 ล้านคนอ้างอิง กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (Ministry of Land Infrastructure Transport and Tourism) หรือ MLITจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ณ มกราคม ปี 2024 : 3,415,774 คน“ประเทศญี่ปุ่นจะขาดแคลนแรงงานมากถึง 11 ล้านคนในปี 2040”ญี่ปุ่นและผลกระทบจากสังคมผู้สูงอายุ Recruit Works Institute หรือ RWI สำนักวิจัยอิสระที่มุ่งทำงานทางด้านสังคมของประเทศญี่ปุ่น คาดการณ์ว่า ปัญหาสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ของญี่ปุ่นจะพุ่งถึงจุดสูงสุดในปี 2042 และภายในปี 2040 ญี่ปุ่นจะมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมากถึง 11 ล้านคน ขณะที่ประชากรในวัยทำงาน จะลดลงอย่างมีนัยยสำคัญตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป ขณะเดียวกันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาขาดแคลนแรงงานยังเป็นผลให้ อุตสาหกรรมภายในประเทศต้องพึ่งพาแรงงานสตรีและผู้สูงอายุในสัดส่วนที่สูงขึ้น อีกทั้งยังต้องเพิ่มค่าแรงให้สูงขึ้นเพื่อจูงใจแรงงานเหล่านั้นด้วย Teikoku Databank บริษัทวิจัยการตลาดและสินเชื่อชื่อดังของญี่ปุ่น ระบุว่า จากผลสำรวจบริษัทในประเทศมากกว่า 10,000 แห่งเมื่อปี 2022 พบว่ามากถึง 30.4% มีปัญหาขาดแคลนพนักงานไม่ประจำ (Non-regular) โดยส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภาคบริการที่มีตัวเลขสูงถึง 71.3% โดยเฉพาะพนักงานร้านอาหารและพนักงานต้อนรับแบบไม่ประจำนั้น มีปัญหาขาดแคลนแรงงานสูงถึง 77.3% และ 62.3% ตามลำดับ สำหรับปัญหาขาดแคลนพนักงานประจำนั้น ส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ พนักงานบริการ ซึ่งอยู่ในสัดส่วน 71.3% ตามมาด้วย พนักงานฝ่ายสรรหาบุคคลากร 65% และพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงและรักษาความปลอดภัย 64.6% ธุรกิจญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากสังคมผู้สูงอายุ ภาคการก่อสร้าง : ธุรกิจก่อสร้างของญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาขาดแคลนแรงงานและแม้ปัจจุบัน จะพยายามหาทางเพิ่มการจ้างแรงงานกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่งแรงงานหญิงให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งการขึ้นค่าจ้างหรือการติดตั้งห้องน้ำสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะในไซต์ก่อสร้างก็ตาม แต่เนื่องจากธุรกิจก่อสร้าง เป็นงานที่ต้องทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ใช้แรงงานหนัก และได้รับค่าจ้างไม่สูงนัก จึงเป็นเหตุให้ถูกหมางเมินจากคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ต่อไปโดยหากอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า แรงงานในธุรกิจก่อสร้างของญี่ปุ่นมีตัวเลขที่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จำนวนแรงงานภาคการก่อสร้างปี 2019 : 5,000,000 คนปี 2020 : 4,940,000 คนปี 2021 : 4,850,000 คนปี 2022 : 4,790,000 คน โดยแยกเป็น เพศชาย : 3,942,170 คน หรือ 82.3% และ เพศหญิง : 847,830 คน หรือ 17.7%หากแต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้น คือ ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 29 ปี เพียง 12% (574,800 คน) เท่านั้น ในขณะที่ผู้มีอายุเกินกว่า 55 ปี มีสัดส่วนสูงถึง 36%! (1,724,400คน)ภาคการขนส่งไม่ต่างจากธุรกิจก่อสร้าง จำนวนแรงงานในธุรกิจนี้ลดลง จากปัญหาเรื่องค่าจ้างต่ำและต้องทำงานหนัก โดยเฉพาะพนักงานขับรถบรรทุกสินค้าของญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 2,568 ชั่วโมง!นอกจากนี้ กฏหมายฉบับใหม่ซึ่งจะมีการจำกัดชั่วโมงการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้า ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน ปี 2024 นี้ จะยิ่งเป็นตัวเร่งปัญหาในเรื่องให้รุนแรงขึ้นไปอีก เนื่องจากมีการประเมินเอาไว้ว่า ความสามารถในการขนส่งสินค้าของญี่ปุ่นจะลดลงถึง 34% ภายในปี 2030 และเป็นผลให้สินค้าถึง 940 ตัน ติดค้างการขนส่งในแต่ละปี ด้านรายงานของกระทรวงคมนาคมญี่ปุ่น รายงานว่าในปี 2021 จำนวนผู้ขับรถแท็กซี่ทั่วประเทศลดลงถึง 40% เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขับรถแท็กซี่สูงสุดในปี 2009 ด้วย จำนวนแรงงานภาคขนส่งปี 2019 : 3,480,000 คนปี 2020 : 3,490,000 คนปี 2021 : 3,520,000 คนปี 2022 : 3,510,000 คน โดยแยกเป็น เพศชาย : 2,741,310 คน หรือ 78.1% และ เพศหญิง : 768,690 คน หรือ 21.9% ภาคการเกษตร อ้างอิงจากข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่น จำนวนประชากรที่ลดลงอีกทั้งจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลให้ภาคการเกษตรประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง จนเป็นผลให้อัตราเฉลี่ยพื้นที่เกษตรกรรมถูกทิ้งร้างว้างเปล่าจนกลายเป็นทุ่งหญ้า มากกว่า 10% แล้วด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ญี่ปุ่นสามารถพึ่งพาผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศได้เพียง 38% จากปริมาณความต้องการทั้งหมดในปี 2022 และหากปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตรยังคงไม่ได้รับการแก้ไข เป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่ต้องการผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศถึง 45% ภายในปี 2030 ก็จะยิ่งกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จำนวนแรงงานภาคการเกษตรปี 2019 : 2,070,000 คนปี 2020 : 2,000,000 คนปี 2021 : 1,950,000 คนปี 2022 : 1,920,000 คน โดยแยกเป็น เพศชาย : 1,180,800 คน หรือ 61.5% และ เพศหญิง : 739,200 คน หรือ 38.5%ทั้งนี้ ในจำนวนดังกล่าวมากถึง 43% (825,600คน) เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของเกษตรกรญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ที่ 68 ปี! ซึ่งอายุเฉลี่ยของเกษตรกรญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆนี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นด้วยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตรชื่อดังระดับประเทศบางชนิด อาจถึงคราวต้องสูญหายไปเนื่องจากไร้ผู้สืบทอดหรือขาดแคลนแรงงานในการผลิตในอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ ธุรกิจค้าปลีก อ้างอิงจาก Japan Franchise Association ปี 2020 “Combini” หรือ บรรดาแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อชื่อดังต่างๆในประเทศญี่ปุ่นขาดแคลนพนักงานสูงถึง 172,000 คน เป็นผลให้เหลือร้านที่สามารถเปิด 24 ชั่วโมงเพียง 87% ซึ่งลดลงจาก 92% ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ปี 2019 จำนวนแรงงานค้าปลีกปี 2019 : 10,640,000 คนปี 2020 : 10,620,000 คนปี 2021 : 10,690,000 คนปี 2022 : 10,440,000 คนโดยแยกเป็น เพศชาย : 4,969,440 คน หรือ 47.6% และ เพศหญิง : 5,470,560 คน หรือ 52.4% แนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานของญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น อนุมัติงบประมาณ 1 ล้านล้านเยน (239,055ล้านบาท) สำหรับการฝึกอบรมเพิ่มทักษะในการทำงานของแรงงานให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี ภายใน 5 ปีข้างหน้า สภาไดเอท ผ่านกฏหมายที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมากขึ้น โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2019 ด้วยเหตุนี้ ตัวเลขแรงงานต่างด้าวในญี่ปุ่น ในปี 2023 จึงพุ่งติดระดับ 2.05 ล้านคนเป็นครั้งแรก เพิ่มจำนวนแรงงานสตรี ด้วยการออกกฏหมายที่ว่าด้วยการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความก้าวหน้าของสตรีในภาคธุรกิจต่างๆ Rakuten อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น พัฒนาหุ่นยนต์และยานพาหนะไร้คนขับ รวมถึงเข้าควบรวมกิจการกับบริษัทตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนและแรงงานในการกระจายการส่งสินค้าให้คลอบคลุมมากขึ้น Tmsuk บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นจากเกียวโต ประกาศผลการทดสอบการนำหุ่นยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ Raicho 1 ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว สามารถช่วยลดชั่วโมงการทำงานของมนุษย์จาก 529 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 29 ชั่วโมง หรือเท่ากับลดการใช้แรงงานคนในกระบวนการเพาะปลูกข้าวทั้งหมดจาก 95% ให้เหลือเพียง 20% เท่านั้น Lawsons แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานด้วยการเปิดตัวบริการใหม่ ที่ให้พนักงานใช้ Avartar สำหรับให้คำแนะนำลูกค้าผ่านจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้าน และสามารถดูแลหลายๆร้านได้พร้อมกัน โดย Lawsons วางเป้าหมายติดตั้งเครื่อง Avartar ให้ได้ 100,000 เครื่องทั่วประเทศภายในปี 2030Toyota เริ่มนำ “หุ่นยนต์ขนส่งยานพาหนะ” (Vehicle Logistics Robots) ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายรถยนต์เข้าสู่ระบบการเตรียมการขนส่งได้โดยอัตโนมัติมาใช้งานแล้ว โดยเบื้องต้น ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น คาดการณ์ว่า หุ่นยนต์ขนส่งยานพาหนะ 10 เครื่อง จะสามารถเข้ามาทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ได้ถึง 22 คน ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน กราฟฟิก sathit chuephanngamอ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม พนันออนไลน์ รูปแบบการเติบโตและความเสี่ยงในอนาคตVision Pro กลยุทธ์เกมยาวธุรกิจ สู่อนาคตของ Appleเมื่อการปรับลดพนักงาน ส่งผลกระทบย้อนกลับบริษัทเทคโนโลยีซอน เฮือง มิน การให้อภัยเพื่อโอกาสและอนาคตของเกาหลีใต้ฟุตบอลเกาหลีใต้ ล้วงเบื้องลึกความขัดแย้งและล้มเหลว