Winter is coming? ฤดูหนาวกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อยๆ หากแต่ในปลายปีนี้ 27 ประเทศในทวีปยุโรป อาจจะต้องหนาวเหน็บมากกว่าที่เคยเป็นมาทุกปี นั่นเป็นเพราะ “บริษัทแกซพรอม” (Gazprom) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย ได้ประกาศตัดการส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมด ผ่านท่อส่ง “นอร์ด สตรีม 1” (Nord Stream 1) เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงยุโรปด้วยก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา

“บริษัทแกซพรอม” (Gazprom) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย
“บริษัทแกซพรอม” (Gazprom) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย

ส่วนหากท่านใดอยากทราบความสำคัญของท่อส่ง “นอร์ด สตรีม 1” ที่มีต่อยุโรป สามารถติดตามอ่านได้ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม :

...

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย
ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

เพราะอะไรรัสเซียจึงตัดสินใจใช้ “นอร์ด สตรีม 1” กดดัน อียู :

คำสั่งตัดการส่งก๊าซธรรมชาติไปให้กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ อียู ผ่าน “นอร์ด สตรีม 1” โดยอ้างเหตุผลเรื่องการซ่อมบำรุง มีขึ้นเพื่อกดดันให้สหรัฐฯและชาติตะวันตกยุติการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย รวมถึงเพื่อเป็นการตอบโต้กรณีที่กลุ่ม G7 ออกแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนให้มีการวางกลไกกำหนดราคาน้ำมันของรัสเซีย หรือ พูดง่ายๆคือ ความพยายามทำให้ราคาขายน้ำมันของรัสเซียมีราคาถูกลงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อกดดันให้รัสเซียยอมยุติสงครามในยูเครน

ส่วนหากท่านใดอยากทราบรายละเอียดในประเด็นเรื่องความพยายามกดดันรัสเซียเรื่องราคาพลังงานสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

อ่านเพิ่มเติม :

ก๊าซธรรมชาติกับสหภาพยุโรป :

มากกว่า 25% ของสัดส่วนการใช้พลังงานในยุโรปมาจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ก๊าซธรรมชาติจึงถือเป็นพลังงานที่มีความสำคัญต่อทวีปยุโรปมาก ทั้งในแง่ของการใช้งานในครัวเรือนโดยเฉพาะการสร้างความอบอุ่นในช่วงฤดูหนาว รวมถึงการนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมหลัก อย่างไรก็ดี ราคาก๊าซธรรมชาติได้เริ่มค่อยๆปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา หรือ ก่อนหน้าที่รัสเซียบุกยูเครนแล้ว หลังหลายๆประเทศเริ่มฟื้นตัวจากล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19

...

อย่างไรก็ดี หลังจากรัสเซียเริ่มมีปัญหากับชาติตะวันตก รัสเซียได้ค่อยๆลดการส่งมอบในระดับ 30-50% หรือ บางครั้งไม่ส่งเลย โดยอ้างเหตุซ่อมบำรุงท่อก๊าซนอร์ด สตรีม 1 หลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นๆ จนส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนชาวยุโรปในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงช่วงฤดูหนาวที่ใกล้มาถึง เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติสูงกว่าช่วงฤดูร้อนถึง 2 เท่าครึ่งเพื่อต่อสู้กับความหนาวเย็น

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อยุโรป ไร้ก๊าซธรรมชาติจาก “นอร์ด สตรีม 1” :

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สถาบันวิจัย "โกลด์แมน แซคส์" (Goldman Sachs Research) วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ประเมินว่า หากรัสเซีย ปิดท่อส่ง นอร์ด สตรีม 1 ลงอย่างสมบูรณ์ อาจส่งผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนของยุโรปเพิ่มขึ้นประมาณ 65% หรือ ประมาณ 512 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (18,780 บาท) เป็นอย่างน้อยจากต้นทุนการจัดซื้อพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น

...

ขณะเดียวภาวะขาดแคลนพลังงานยังอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมหลักในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตสารเคมี , แก้ว , กระดาษ , เหล็ก , และซีเมนต์ ต้องลดกำลังการผลิตลงและนำไปสู่การพักงานหรือเลิกจ้างงาน จนกระทั่งทำให้เศรษฐกิจในยูโรโซนหดตัวลงมากกว่า 2% จนถึงเดือนมีนาคม 2023 ขณะเดียวกัน GDP ของ ประเทศที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นหลัก เช่น อิตาลี และ เยอรมนี อาจลดลงถึง 4% และ 3% ตามลำดับด้วย

ฉากทัศน์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับยุโรปในช่วงฤดูหนาวนี้ :

นักวิเคราะห์จาก โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า หลายรัฐบาลในยุโรปอาจจำเป็นต้องออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมให้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ รวมไปจนกระทั่งถึงธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และหากสถานการณ์เลวร้ายลงถึงขีดสุด อาจมีความจำเป็นต้องนำมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ถูกพักงานเนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 หรือ “Furlough Scheme” กลับมาใช้อีกครั้ง

...

ยุโรปสามารถหาก๊าซธรรมชาติมาทดแทนได้ทันในช่วงฤดูหนาวนี้หรือไม่ :

นักวิเคราะห์จากหลายสำนักมองตรงกันว่า “เป็นไปได้ยาก” เนื่องจากที่ผ่านมายุโรปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นหลักมาตลอดหลายปีที่ผ่าน จนแทบไม่มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหาก๊าซธรรมชาติทดแทนจากแหล่งอื่น ซึ่งในกรณีนี้รวมถึง การค้นหาพลังงานทดแทนอื่นๆด้วย เนื่องจากมองว่า การตัดก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย เป็นเรื่องที่ “เป็นไปไม่ได้”

ขณะที่ความพยายามพึ่งพาการนำเข้า "ก๊าซธรรมชาติเหลว" หรือ LNG เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดหายไปจากรัสเซีย นั้น “มีต้นทุนที่สูงกว่ามาก” ฉะนั้น การใช้วิธีนี้ย่อมจะยิ่งเป็นการผลักดันให้ต้นทุนด้านพลังงานมีราคาสูงขึ้น และซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อที่ยังควบคุมได้ยากให้รุนแรงมากยิ่งขึ้นต่อไป

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมคือ ท่าทีล่าสุดของกลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) ซึ่งแทนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามที่สหรัฐฯและชาติตะวันตกร้องขอ กลับประกาศลดกำลังการผลิตในเดือนตุลาคมลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนั่นเท่ากับว่า มีแนวโน้มสูงว่า ราคาน้ำมันโลกจะปรับตัวขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้อย่างแน่นอน

นั่นจึงนำมาสู่ “คำถาม” สำคัญที่ว่า เมื่อ “Winter is coming” ในปีนี้ “อียู” จะเย็นยะเยือกมากแค่ไหน? และระหว่าง “อียู” กับ “รัสเซีย” ใครจะอึดในเกมนี้ได้มากกว่ากัน!

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :