หนึ่งในดินแดนที่ปลอดภัยที่สุดในโลก ความเย่อหยิ่งที่ยืนยงมาอย่างยาวนานของชาวญี่ปุ่น กำลังถูกสั่นคลอนครั้งใหญ่ หลังกระสุนปืน 2 นัด จากอดีตเจ้าหน้าที่กองกำลังป้องกันตัวเอง ถูกกระหน่ำยิงเข้าใส่ “นายชินโสะ อาเบะ” อดีตนายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยวจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่อสัญกรรมในเวลาต่อมา ท่ามกลางฝูงชนในช่วงกลางวันแสกๆ อีกทั้งยังผู้ติดตามจำนวนหนึ่งคอยดูแลใกล้ชิด

อดีตนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ
อดีตนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ

มันเป็นไปได้อย่างไรที่ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นวัย 67 ปี และปัจจุบันยังคงเป็นผู้มากบารมีทางการเมือง และยังเป็นผู้นำของกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party) หรือ LDP ถูกลอบสังหารด้วย “อาวุธปืน” ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าเป็น “สิ่งต้องห้ามบนดินแดนแห่งนี้” ยิงจนเสียชีวิตได้

...

อะไรคือหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ญี่ปุ่น เคยปลอดภัยจากอาวุธปืน?

สัดส่วนประชากรต่อการครอบครองอาวุธปืน :

กฎหมายควบคุมอาวุธปืนอันแสนเข้มงวด :

หากอ้างอิงจากรายงานผลการศึกษาเรื่องการควบคุมอาวุธปืนในประเทศญี่ปุ่น ของ David Kopel นักเขียนชาวอเมริกัน และบรรณาธิการสื่อชื่อดังหลายฉบับ ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงใน Asia Pacific Law Review ในปี 1993 ระบุว่า อาวุธปืนที่ชาวญี่ปุ่นสามารถซื้อไปครอบครองได้ คือ ปืนลูกซองและปืนลมไรเฟิล โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจะต้องนำปืนไปใช้สำหรับการล่าสัตว์และการยิงในกีฬาเป้าบิน (Skeet and Trap) เท่านั้น

อย่างไรก็ดี การจะไปซื้ออาวุธปืนได้ จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตครอบครองปืนที่มีทั้งขั้นตอนที่สุดเข้มงวดและยืดเยื้อ โดยเริ่มจากการเข้าอบรมภาคทฤษฎีเกี่ยวกับอาวุธปืนและกฎหมาย ซึ่งนอกจากจะเป็นการเข้าอบรมตลอดทั้งวันและมักจัดขึ้นเพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้นแล้วยังต้องผ่านการสอบข้อเขียนด้วย จากนั้นต้องไปเรียนภาคปฏิบัติในสนามยิงปืนและต้องผ่านการทดสอบการยิงในระดับที่สูงถึง 95% เมื่อผ่านแล้ว ยังต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่โรงพยาบาล เพื่อยืนยันว่าไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต หรือติดยาเสพติด จากนั้นในลำดับถัดไปคือการยื่นประวัติส่วนตัวและญาติกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยหากถูกตรวจพบว่า มีประวัติอาชญากร, เป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง หรือนักเคลื่อนไหว ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะถูกปฏิเสธการขออนุญาตพกปืนทันที เนื่องจากมีเหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีอันตรายต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และความสงบสุขของสาธารณะ

เมื่อผ่านการพิจารณาของตำรวจ ผู้ที่ได้รับอนุญาต จะต้องไปทำเรื่องขออนุญาตซื้อกระสุนปืนด้วย และการไปซื้อกระสุนทุกครั้งจะมีการลงบันทึกรายละเอียดของผู้ซื้อและจำนวนกระสุนที่ซื้อไป (ห้ามเกินกว่า 1,000 นัดต่อครั้ง) นอกจากนี้ เจ้าของปืนจะต้องเก็บอาวุธปืนไว้ในตู้นิรภัยที่มิดชิดเช่นเดียวกับกระสุนปืน รวมถึงต้องแยกที่เก็บปืนและกระสุนเอาไว้คนละที่ ขณะเดียวกันยังต้องมอบแผนที่บ้านที่แสดงตำแหน่งของล็อกเกอร์เก็บปืนและกระสุนที่ชัดเจนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ใบอนุญาตพกปืนจะต้องต่ออายุทุกๆ 3 ปี อีกด้วย!

ทั้งนี้ พลเรือนญี่ปุ่นไม่สามารถเป็นเจ้าของปืนพก หรือปืนไรเฟิลติดลำกล้องขนาดเล็กได้ ส่วนผู้ที่มีใบอนุญาตครอบครองปืนไรเฟิล ก่อนมีการแก้ไขกฎหมายห้ามมีปืนไรเฟิลไว้ในครอบครองในปี 1971 นั้น แม้จะสามารถครอบครองปืนเอาไว้ได้ต่อไปแต่จะถูกห้ามถ่ายโอนปืนไปให้กับบุคคลอื่น และเมื่อเสียชีวิตลงทายาทจะต้องนำปืนมาส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งความยุ่งยากและซับซ้อนเช่นนี้ จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่แทบไม่มีความคิดที่จะมีอาวุธปืนเอาไว้ในความครอบครอง ในขณะที่จำนวนผู้ครอบครองปืนเองก็ค่อยๆ ลดน้อยลงทุกทีๆ

...

อำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่น :

สำหรับในประเทศญี่ปุ่นการครอบครองอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย แทบไม่ต่างอะไรกับการครอบครองยาเสพติด ซึ่งถือเป็นความผิดโดยสมัครใจและมักไม่มีเหยื่อไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้น ในการค้นหาอาวุธปืนผิดกฎหมาย ตำรวจญี่ปุ่นจึงได้รับอำนาจการค้นหาและยึดอาวุธปืนผิดกฎหมายได้

โดยหากตำรวจญี่ปุ่นวินิจฉัยว่า "มีเหตุอันน่าควรสงสัย" ว่าบุคคลที่พบอาจจะพกอาวุธปืน ดาบ หรือ มีด และมีแนวโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่น สามารถเข้าตรวจค้นบุคคลนั้นได้ทันที รวมถึงยังสามารถขอเข้าตรวจค้นบ้านของผู้ได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืน เพื่อตรวจสอบว่าผู้ได้รับใบอนุญาตได้ปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดหรือมีการนำปืนไปให้กับบุคคลอื่นได้หรือไม่อีกด้วย

บทลงโทษทางกฎหมายอันแสนรุนแรง :

เนื่องจากไม่มีบทลงโทษขั้นต่ำสำหรับการครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่โดยมากถึง 81% ของผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด มักถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 1 ปี หรือ มากกว่านั้น อย่างไรก็ดีสำหรับกรณีการก่ออาชญากรรมด้วยอาวุธปืนส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นโดยมากมักเกิดขึ้นจากอาชญากรมืออาชีพ ด้วยเหตุนี้โดยมากจึงมักถูกลงโทษจำคุก 10 ปี และปรับเงินอีก 1 ล้านเยน

...

ชาวญี่ปุ่นร่วมไว้อาลัย
ชาวญี่ปุ่นร่วมไว้อาลัย

ถึงแม้จะมีเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งและซับซ้อนเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ “พลเมือง” เข้าถึงอาวุธปืน ซึ่งอาจนำมาซึ่งการก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้มากถึงขนาดนี้แล้ว แต่ในท้ายที่สุด “บุคคลสำคัญระดับประเทศ” เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ กลับต้องมาจบชีวิตลงเพราะการถูกลอบสังหารด้วย “อาวุธปืน” ไปอย่างไม่มีใครคาดคิด มันจึงกลายเป็นคำถามที่ตามชุดใหญ่ๆ ณ เวลานี้ว่า...ประเทศญี่ปุ่นยังจะเป็นประเทศที่ปลอดภัยและปราศจากอาวุธปืนเช่นที่เคยเป็นมาได้ต่อไปอีกหรือไม่ หรือว่า...บางทีประเทศญี่ปุ่นอาจไม่เป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไปแล้ว

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
กราฟิก : Sathit Chuephanngam

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

...