เบื้องหลังปัญหาไฟไหม้ ตรอกโพธิ์ เยาวราช และอุปสรรคการเข้าดับไฟ ชี้ทางแคบ พื้นที่ไข่ดาว ถูกล้อมโดยตึกสูง และระหว่างทางเข้าต้องระมัดระวังการใช้น้ำป้องกันไฟช็อต 

จากที่คนกำลังพูดถึง MV ลิซ่า ที่เยาวราช จู่ๆ ก็เกิดแสงเพลิง ไฟไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ เมื่อค่ำคืนวันที่ 6 ก.ค.  และล่าสุด พิสูจน์หลักฐาน ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุ โดยเฉพาะบ้านต้นเพลิงหลังหนึ่ง ที่อยู่ลึก 50 เมตร ภายในซอยแคบ ซึ่ง จนท. ได้ทำการตรวจสอบที่ “กล่องควบคุมไฟฟ้า” 

อย่างไรก็ดี ทาง พ.ต.อ.วิทวัส เข่งคุ้ม ผกก. สน.พลับพลาไชย 2 ได้ระบุว่า เบื้องต้น ยังไม่ตัดประเด็นใดทิ้ง โดยเฉพาะประเด็นที่ประชาชนต้องสงสัยว่าเกิดจากการวางเพลิง เผาไล่ที่หรือไม่ หรือ จะเป็นเพียงข่าวลือหรือไม่

“สิ่งสำคัญคือ รอการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานอย่างละเอียด โดยเฉพาะ การตรวจสอบเชิงนิติวิทยาศาสตร์” 

สิ่งที่เกิดขึ้นกับเหตุไฟไหม้ “ชุมชนแออัด” นั้น ไม่ใช่ครั้งแรก แต่ทุกครั้งที่เกิด จะมีประเด็น การเข้าควบคุมเพลิงที่ยากลำบาก 

...

เอ็กซ์ จักรกฤษณ์ คงคำ เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.  บอกกับ "เรา" ว่า ปัญหาของชุมชนแออัดนั้น จะมีลักษณะ เหมือน “ไข่ขาวอยู่รอบไข่แดง” 

ไข่ขาว คือ ตึกอื่นๆ ล้อมรอบ ขณะที่ชุมชนจะอยู่ตรงกลาง ก็คือ “ไข่แดง” ฉะนั้น สิ่งแรกที่เราจะเจอ คือ “เส้นทางเข้า” ที่มีขนาดเล็ก ซอยแคบ 

เวลาการเข้าดับเพลิง หากเป็น “เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมืออาชีพ” เขาจะไม่ทำให้ ทางเข้าเปียก เพราะสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้น ประชาชน ชุมชน เขากำลังเร่งขนย้ายของหนีกันอยู่ การที่พื้นเปียก มีความชื้น อาจจะส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช็อกชาวบ้านที่กำลังหนี...

นี่คือสิ่งสำคัญในเรื่องแรก คือ การป้องกันไฟช็อตคนในชุมชน

พี่เอ็กซ์ ระบุว่า  เวลาเกิดเหตุ กลุ่มคนที่จะเข้าไปช่วย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาสาสมัครที่ไม่ใช่นักดับเพลิง ซึ่งกลุ่มนี้เขาจะช่วยในด้านกายภาพ ฉีดน้ำสกัด ขณะที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็จะเข้าในจุดหลัก

แต่...ปัญหาคือ 

1. การเข้าไม่ถึง เพราะทางเข้าแคบ 

2. ตึกที่รายล้อมอยู่ด้านนอก นั้น เราจะไม่สามารถผ่านได้ เพราะ รปภ.ก็ไม่มีอำนาจในการอนุญาต ต้องรอคำสั่ง นี่คืออีกมุม ที่เราเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะอาศัยใช้ตึกล้อมรอบในการฉีดน้ำ 

ปัจจัยความเสี่ยงไฟไหม้ชุมชนแออัด 

1.กระแสไฟฟ้า : โอกาสการเกิดกระแสไฟฟ้าโหลดเยอะกันไป หรือสายไฟเก่า 

2. แก๊สครัวเรือน : เรื่องนี้มีโอกาสน้อย เนื่องจากชาวบ้าน โดยเฉพาะชุมชนแออัดจะให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว 

“หากเป็นกระแสไฟฟ้า ถ้าเกิดช็อต มันจะวิ่งทั้งเส้นไปจนถึงสะพานไฟ จากนั้น สายไฟฟ้าที่ลัดวงจรจะเกิดการละลาย ฉนวนที่เป็นพลาสติก จะเกิดการลุกไหม้ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควบคุมยาก โดยเฉพาะคนที่ไม่เข้าใจปัจจัยความเสี่ยงของมัน” 

เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ของ กทม. ยอมรับว่า ช่วงนี้มีเหตุไฟไหม้หลายครั้ง แต่ส่วนมากจะเป็นตามตึกต่างๆ แต่สิ่งที่ประเด็น คือ การเข้าตึก อาคารต่างๆ เพื่อควบคุมเพลิงนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะหากเราไม่ขออนุญาต จะถือเป็นการบุกรุก และเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องมาวางแผนแก้ปัญหากันใหม่

ระยะเวลา กับ เพลิงไหม้ ในพื้นที่ชุมชนแออัด 

หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไม่ว่าที่ใด จะเริ่มลุกลามบานปลายใน 5 นาที ส่วนคนที่จะเข้าไปควบคุมเพลิง จะต้องเข้าให้ถึง และฉีดสกัด ไม่ให้ลุกลามภายใน 4 นาที 

...

แม้จะเกิดในเขตชุมชน แต่ภายในชุมชนก็จะมีถังดับเพลิงกันอยู่ ดังนั้น หากทุกคนที่เห็นเหตุการณ์ช่วยกัน ระดมฉีดดับเพลิง ช่วยกัน “ยื้อเวลา” 

และที่สำคัญคือ “ไม่มีอะไรที่ดับกระแสไฟฟ้าได้” นอกจากการตัดไฟ คำถามคือ ใคร...จะมีความสามารถในการตัดไฟ ถ้าไหม้ในบ้าน กดคัตเอาต์ในบ้าน มันก็จบ หรือมีระบบตัดอยู่แล้ว แต่ถ้าต้นเพลิงเริ่มตั้งแต่หน้าบ้าน 

แล้วความเป็นจริง ที่กว่าเราจะเข้าไปได้ เราใช้เวลาประมาณกี่นาที พี่เอ็กซ์ นิ่งเป็นสักครู่ ก่อนตอบว่า มันอยู่ที่ปัจจัยเบื้องต้น จริงๆ ถ้าทุกคนรุมช่วยกันดับ หรือเพื่อหน่วงเวลารอรถดับเพลิง มันก็ช่วยได้... 

“คนที่ทำหน้าที่ดับเพลิง เรามี KPI อยู่แล้ว ว่าต้องเข้าพื้นที่ให้ทันภายในกี่นาที เรากล้าการันตีว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ เรามีแผนในการปฏิบัติ แต่เมื่อถามว่า ทำไมไฟถึงโหมเยอะ ไฟไหม้รุนแรง ก็ต้องย้อนกลับไปดูต้นทาง นอกจากนี้ ก็ต้องดูเชื้อเพลิงด้วย ว่าเป็นไม้ ไม้เก่าแค่ไหน เชื้อเพลิงทันสมัย คือ ของที่มีสารเคมีผสม หากโดนไฟลุกไหม้ แล้วอาจติดเร็ว” นายจักรกฤษณ์ กล่าว และว่า 

...

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ เยาวราชนั้น ตอนเกิดเหตุ พวกเราช่วยกัน “ล้อมเพลิง” คำคำนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และทำให้เจ้าหน้าที่เข้าไปยากมาก ทำให้การฉีดน้ำสกัดทำได้ยาก และอย่างหนึ่ง คือ กระแสไฟฟ้า คืออีกเรื่องที่ทำให้เรา ยากจะเข้าถึงได้ และทุกอย่างที่เป็น ปีกของวงจร อาคารล้อมรอบทั้งหมด ทำให้เราเข้าไม่ถึง 

เป็นห่วงหรือไม่ ชุมชนแออัดใน กทม. มีนับร้อยแห่ง นักผจญเพลิง ตอบว่า ก็เป็นห่วง แต่เราก็มีแผนปฏิบัติงานอยู่ การเกิดจะรุนแรงหรือไม่ อยู่ที่ต้นทาง 

หากไม่ใช่ชุมชนที่มี “ตึกล้อม” ก็สามารถเข้าออก ตามบล็อก หรือ ซอย เราอาจต้องยอมสูญเสียจาก 1 เป็น 3 หลัง เราจะช่วยกันล้อมได้ หากไหม้ 15 นาที อาจจะโดน 3 หลัง ซึ่งมันก็เป็นไปตามเวลาของเหตุไฟไหม้ 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ด้วย เช่น ลม, เส้นทางควัน ที่มีอยู่ ทัศนวิสัยที่มีอยู่ เจ้าหน้าที่ก็ต้องเตรียมสายน้ำ รถดับเพลิง ทั้งหมดเป็นปัจจัยแวดล้อมที่เจอ ซึ่งเราสามารถนำมาถอดบทเรียนได้ 

สิ่งสำคัญ หลังจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักให้ความรู้ชุมชน แม้กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่เราก็เข้าใจเขา จะบังคับให้เขามีความรู้ ทั้งที่เขาต้องหาเช้ากินค่ำมันก็ลำบาก ซึ่งเราเองก็ทำหน้าที่ของเรา มีโอกาสก็จะลงพื้นที่ให้ความรู้ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักป้องกันฯ 

“คำว่า “เบื้องต้น” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดการเพลิง คือ ต้องเข้าควบคุมเร็วที่สุด หากไม่มีใครเรียนรู้เรื่องการควบคุมเพลิงขั้นต้นได้ มันจะเป็นไฟลุกลาม ซึ่งเรื่องนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ไม่สามารถดับไฟขั้นต้นได้ นอกจากประชาชน หรือทุกคนที่ช่วยกันดับก่อน ไฟไหม้ที่บ้าน เสียงเตือนไปถึงเจ้าหน้าที่ดับเพลิง นักดับเพลิงถึงจะออกปฏิบัติหน้าที่ ระยะเวลาหน่วง จึงสำคัญ หากมีอุปกรณ์ช่วยหน่วงได้ เจ้าหน้าที่ที่รีบมาก็ช่วยดับไฟได้เร็วขึ้น เพราะปริมาณไฟมีไม่มาก” 

...

อ่านสกู๊ปที่น่าสนใจ