“รู้สึกถูกชะตาตั้งแต่แรกเห็น จึงซื้อมาในราคา 30,000 กว่าบาท”

นี่คือความรู้สึกของชายคนหนึ่งที่มีต่อ “ตุ๊กตายาง” สุดรักสุดโปรดของ นายคิม หนุ่มใหญ่วัย 54 ปี ที่อยู่กินกับ “ตุ๊กตายาง” ที่มีชื่อว่า “น้องเพลง” ที่มีส่วนสูงราว 160 ซม. น้ำหนัก 70 กก.

นายคิม ให้เหตุผลว่า เขาก็มีภรรยาและลูกตามปกติ กระทั่งเลิกราไปในปี 2554 การจะมีภรรยาใหม่ ก็กลัวว่าจะมีปัญหากับลูกสาว ฉะนั้น การมีตุ๊กตายาง ดีกว่าซื้อบริการ จ่ายครั้งเดียวจบ ลูกสาวก็รู้ ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องดี เพราะลดปัญหาอาชญากรรมและโรคติดต่อด้วย เพราะใช้ถุงยางอนามัย

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกกรมสุขภาพจิต ระบุว่า หากเป็นข่าวในสื่อทั่วไป เราไม่สามารถบอกได้ว่า ใครป่วย หรือ ไม่ป่วย ยิ่งกรณี “ตุ๊กตายาง” หรือ “เซ็กซ์ทอย” ซึ่งก็เป็นข่าวมาทั่วโลก

ทั้งนี้ มนุษย์สามารถมีความรักและผูกพันกับคน สัตว์ หรือแม้แต่เป็นสิ่งของต่างๆ ได้ ความผูกพันจะมีความลึกซึ้งแตกต่างกัน ตามลักษณะบุคคลและประสบการณ์ บางคนอาจจะรักและผูกพันกับสัตว์เลี้ยงมาก โดยไม่มีเรื่องเกี่ยวกับเพศมาเกี่ยวข้อง และเปรียบสัตว์เลี้ยงดั่ง “คนในครอบครัว” ฉะนั้น ความรักและความผูกพันที่มีต่อคน สัตว์ หรือ สิ่งของต่างๆ ก็ถือเป็นเรื่องปกติ

โฆษกกรมสุขภาพจิต อธิบายว่า หากคนๆ นั้น ยังมีความรู้สึกว่านั่นคือ สิ่งของที่รัก สัตว์เลี้ยงที่รัก สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นอะไร สามารถดำเนินชีวิตโดยไม่เดือดร้อนตัวเองและผู้อื่น แม้คนอื่นจะมองแปลกๆ ก็ไม่เป็นไร

...

เมื่อถามว่า การพูดคุยกับ “สิ่งของ” ถือเป็นอาการปกติหรือไม่ นพ.อภิชาติ ตอบว่า ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่คนทั่วไปก็ทำกัน เพียงแต่ถ้าคนๆ นั้นรู้สึกว่า สิ่งของดังกล่าวโต้ตอบกลับมา สื่อสารกันรู้เรื่อง แบบนี้น่าจะมีปัญหาแล้ว... และอาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ เนื่องจากอาจจะมีอาการหูแว่วก็เป็นได้

เซ็กซ์ กับ ตุ๊กตายาง กับ การช่วยตัวเอง

นพ.อภิชาติ ย้ำว่า เซ็กซ์ทอยในบางประเทศถือเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และสามารถซื้อขายได้อย่างปกติ แต่อาจจะมีข้อจำกัดในด้านการซื้อ เช่น กำหนดอายุของผู้ซื้อ บางประเทศ บางวัฒนธรรม ก็เป็นของต้องห้าม ซึ่งในระดับสากล ก็มีทั้งยอมรับและไม่ยอมรับ ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม

กรณี “มนุษย์” ต้องการปลดปล่อยทางเพศ การช่วยเหลือตัวเองก็ถือเป็นเรื่องปกติ และถือเป็นทางหนึ่งที่ปลอดภัย

ส่วนการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือ อย่างเช่น “เซ็กซ์ทอย” หรือ “ตุ๊กตายาง” ก็ต้องระมัดระวังว่าอุปกรณ์นั้นมีโทษกับร่างกายหรือไม่ เช่น บางคนแพ้เงิน แพ้ทอง หรือแพ้ยาง หรือบางอุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับทางเพศ เมื่อเอามาใช้ก็ต้องระมัดระวังการบาดเจ็บด้วย ดีที่สุดคือต้องทำตัวตามบริบทของกฎหมายด้วย

“เป็นไปได้ ใช้วิธีการ “ช่วยตัวเอง” จะเป็นอะไรที่ปลอดภัยกว่า”

ปัจจุบัน “เซ็กซ์ทอย” ยังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เข้าข่ายลามก อนาจาร เป็นอันตรายต่อสังคมและศีลธรรม กรมศุลกากร ห้ามนำเข้า หรือ ส่งออก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมา ในปี 2564 เคยมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากกรณีหญิงสาวรายหนึ่ง ซื้อเซ็กซ์ทอยมาใช้แล้วเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งต่อมา นายสิระ เจนจาคะ ในฐานะประธานกรรมธิการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนสภาผู้แทนราษฎร (ขณะนั้น) ออกมาสนับสนุนให้ “เซ็กซ์ทอย” เป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อที่จะควบคุมมาตรฐาน และมองว่าเป็นประโยชน์ในการลดปัญหาอาชญากรรม ข่มขืน รวมไปถึงการหย่าร้าง เนื่องจากความต้องการทางเพศไม่สมดุลกัน ...

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์

อ่านบทความที่น่าสนใจ 

...