จ่อขึ้นค่าไฟ หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เผยสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟขึ้นสูง และอาจปรับขึ้นไปถึง 6.01 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบัน 4.18 บาทต่อหน่วย แต่ถ้าเทียบกับประเทศในอาเซียน พบว่าไทยมีค่าไฟแพงอยู่ลำดับที่ 5 และอาจมีแนวโน้มปรับขึ้นอีกจากปัจจัยด้านพลังงาน

โดยช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เปิด 3 ทางเลือก ค่าไฟงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม โดยทางเลือกที่ 1 จ่ายคืนหนี้ กฟผ.ทั้งหมดภายในเดือนธันวาคมนี้ เมื่อบวกกับค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 44% จากระดับ 4.18 บาทในปัจจุบัน

ทางเลือกที่ 2 แบ่งคืนหนี้ กฟผ. 3 งวด เมื่อบวกกับค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 18% จากงวดปัจจุบัน และทางเลือกที่ 3 แบ่งคืนหนี้ กฟผ. 6 งวด บวกค่า Ft ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 11% จากงวดปัจจุบัน ซึ่ง กกพ. จะนำทั้ง 3 แนวทางไปเปิดรับฟังความคิดเห็น ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ระหว่างวันที่ 12–26 กรกฎาคมนี้ ก่อนสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

...

โดยสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นมาก มาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า บวกกับราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปี และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินที่มีต้นทุนถูก ผลิตได้ลดลง เมื่อรวมหนี้ที่ต้องจ่ายคืน กฟผ. ส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มขึ้น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย

ดังนั้น ถ้าเทียบราคา 'ค่าไฟไทย' แพงแค่ไหนในอาเซียน ที่มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ก.พ. 67 พบว่า

สิงคโปร์ เฉลี่ย 8.01 บาท/หน่วย

ฟิลิปปินส์ เฉลี่ย 7.10 บาท/หน่วย

กัมพูชา เฉลี่ย 5.45 บาท/หน่วย

อินโดนีเซีย เฉลี่ย 4.21 บาท/หน่วย

ไทย เฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย โดยปลายปี 67 แตะขึ้น 4.65-6.01 บาท/หน่วย

เวียดนาม เฉลี่ย 3.57 บาท/หน่วย

ลาว เฉลี่ย 2.29 บาท/หน่วย

มาเลเซีย เฉลี่ย 1.80 บาท/หน่วย

เมียนมา เฉลี่ย 1.70 บาท/หน่วย

บรูไน เฉลี่ย 1.48 บาท/หน่วย