อธิบายคำว่า Road Safety Culture อย่างง่ายๆ คือ แนวคิดด้านการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนน ที่ต้องอาศัยการร่วมมือกันของคนในสังคม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฏจราจรทั้งในส่วนของคนเดิน คนขับรถ และผู้ใช้ท้องถนนทุกๆ คน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยขึ้นมาได้
ต้องไม่มีคนตาย
“ทางองค์กรสรุปได้ว่า การลดอัตราเสียชีวิตบนท้องถนนให้เท่ากับศูนย์ เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมแล้ว เพราะแม้กระทั่งผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียว เราก็ไม่อาจยอมรับได้”
นี่คือหนึ่งในความเท่ที่อยู่ในประวัติที่มาขององค์กร TZD - Towards Zero Deaths (อาจแปลได้ว่า “มุ่งสู่การเสียชีวิตเป็นศูนย์”) ที่มีจุดเริ่มต้นจากรัฐจอร์เจีย ก่อนจะได้รับการผลักดันและพัฒนาร่วมกันจากหลายองค์กรไปสู่วาระระดับชาติของชาวอเมริกันในเวลาต่อมา ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรรัฐอย่างสำนักงานบริหารทางหลวงสหรัฐ (The Federal Highway Administration หรือตัวย่อคือ FHWA)
หากสังเกตดูวิสัยทัศน์ขององค์กรความปลอดภัยในเครือ FHWA ส่วนใหญ่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป้าหมายคือ “ต้องไม่มีคนตาย” (Vision Zero) จากอุบัติเหตุบนท้องถนน ฟังดูเป็นไปไม่ได้ แต่มุมมองด้านความปลอดภัยแบบสุดโต่งนี้เองที่ทำให้เกิดบรรยากาศ “เอาจริง” ในการพูดคุยระดับนโยบาย
มุมมองที่น่าสนใจของ TZD คือการมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยน “ปัจจัยสังคม” ให้เอื้อต่อเรื่องความปลอดภัยได้มากที่สุด โดยเฉพาะต้นธารของการกำหนดนโยบายอย่างผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ เรียกได้ว่าจะทำอะไรต้องให้ผู้บริหารคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ก่อน จึงจะสามารถสร้างวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน
ขั้นตอนการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety Culture)
...
อย่างไรก็ตาม การจะไปถึงขั้นสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาได้ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นจากคนอินประเด็นนี้ไม่กี่คนลงมือเปลี่ยน แต่ทั้งสังคมยังต้องเอาด้วย โดยการนี้ TZD มีเอกสาร 92 หน้า ที่อธิบายวิธีการในด้านต่างๆ อย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม วิดีโอสรุปเนื้อหาสำคัญใน 3 นาที มีเนื้อหาโดยย่อเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนดังนี้
- การปลูกฝังตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน และสถานที่ทำงาน - เพราะครอบครัวที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยจะช่วยสร้างนิสัยที่ติดตัวไปตลอดชีวิต บ้านที่บอกให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งและตั้งสมาธิกับการขับรถแบบไม่วอกแวกกับมือถือ ย่อมปลอดภัยกว่าบ้านที่ปล่อยไหลสบายๆ เช่นเดียวกับการสร้างบรรยากาศที่แคร์เรื่องความปลอดภัยทั้งในโรงเรียนและสถานที่ทำงาน
- ความร่วมมือในภาคส่วนสังคม - เช่นโรงพยาบาลที่หลีกเลี่ยงการเน้นย้ำเรื่องการใช้ยาที่ก่อให้เกิดความง่วงซึมอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถ หรือการออกกฎหมายเพื่อสร้างความปลอดภัยทางจราจรมากขึ้น ลดการขับขี่สุ่มเสี่ยงให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ในข้อนี้รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายหลังกระทำความผิดด้วย
- การสร้างพันธมิตรกับองค์กรต่างๆ - พยายามยกระดับให้องค์กรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหันมาจับมือกับคนทำงานในด้านนี้มากขึ้น เพื่อกระจายทรัพยากรลงไปให้ชุมชน สถานทำงาน และครอบครัว ในการสร้างจิตสำนึก สร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในเรื่องความปลอดภัย และทำงานรณรงค์ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แนวทางการริเริ่มเช่น สร้างความเข้าใจร่วมกันในหลักความปลอดภัย อาจจะผ่านคู่มือส่งเสริมหรืออื่นๆ
มนุษย์พลาดได้ แต่ต้องป้องกัน-แก้ไขเป็น
แน่นอนว่าแนวคิด Vision Zero คืออุดมคติที่บรรลุไม่ได้ในชีวิตจริง แต่ใช่ว่าคนทำงานจะมองไม่เห็นถึงเรื่องนี้ โดย FHWA ระบุไว้ว่าการจะไปสู่สัยทัศน์นี้ได้ ต้องอาศัย Safe System หรือระบบความปลอดภัย ที่ตระหนักว่ามนุษย์ทำผิดพลาดได้ จึงต้องมีการบูรณาการความพยายามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ กลุ่มเข้าด้วยกัน
เรื่องหนึ่งที่สะท้อนวิธีคิดเรื่อง Safe System มากที่สุดก็คือการ “คาดการณ์” ว่ามนุษย์จะทำพลาดตรงไหนบ้าง เพื่อให้ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของท้องถนนให้ลดความเสี่ยงมากที่สุด โดยมี 5 องค์ประกอบหลักของความปลอดภัยคือ ผู้ใช้ถนนที่ปลอดภัย, รถยนต์ที่ปลอดภัย, ความเร็วที่ปลอดภัย, ถนนที่ปลอดภัย, และการดูแลหลังจากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจะวางรากฐานตั้งแต่การเริ่มสร้างถนน ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพของรถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย
เราจะเห็นแนวคิดการรักษาความปลอดภัยเชิงรุกแบบแนวคิด Safe System ได้จากหลายๆ ประเทศที่เจริญแล้ว เนื่องด้วยการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับเด็กๆ อย่างที่ในเพจ Money Disruptor นำเสนอเรื่อง รถโรงเรียนของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่ควบคุณคุณภาพให้มีความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ มีการออกแบบให้มีสีเหลืองเป็นเอกลักษณ์ ให้มองเห็นได้ง่ายจากทุกคนในชุมชน ที่นั่งเป็นวัสดุกันไฟพร้อมระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เป็นต้น
...
โดยสรุป แนวคิดเรื่องต้องไม่มีคนตาย และระบบความปลอดภัย อันเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนในสมัยใหม่ ต้องเกิดจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน ทั้งการสร้างนิสัยตั้งแต่ในบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน การบังคับใช้กฎหมาย โครงสร้างพื้นฐานที่ดี หรือการสร้างถนนที่มีคุณภาพ
ซึ่งนาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าประเทศไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตประจำวันกันเพิ่มขึ้น แต่การดำเนินงานแบบในหลายๆ ประเทศที่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยกันอย่างจริงจังและดำเนินการในเชิงรุก ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามกันต่อไป
อ้างอิง: