เทคโนโลยีที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นเรื่องง่ายดายขึ้น บางครั้งกลายเป็นดาบ 2 คม เมื่อข้อมูลที่เก็บรักษาไว้บนโลกออนไลน์ที่แสนเปราะบางนั้น ถูกละเมิดหรือสูญหายไป และหลายครั้งความสูญเสียดังกล่าวอาจสร้างความเจ็บปวดต่อผู้ใช้งานในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะหากเป็นการสูญเสียข้อมูลส่วนตัว รูปถ่าย หรือบันทึกสำคัญทางธุรกิจ

WorldBackupDay.com รวบรวมสถิติพบว่า มีคนมากถึง 21% ไม่เคยสำรองข้อมูล ขณะที่มีโทรศัพท์ถูกขโมย 113 เครื่องในทุกนาที นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ 29% ของเหตุการณ์ข้อมูลสูญหายที่มีการทำสำรวจไว้ แสดงให้เห็นถึงช่องโหว่ของไฟล์ดิจิทัล มิหนำซ้ำยังมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 30% ติดมัลแวร์อยู่แล้วด้วย ตอกย้ำให้เห็นถึงภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของข้อมูล

การตระหนักรู้ถึงความสำคัญของข้อมูลดิจิทัลอันแสนล้ำค่าเหล่านี้ นำไปสู่การริเริ่มกำหนดให้มีวันสำรองข้อมูลโลก เพื่อชวนให้คนเห็นความสำคัญในข้อมูลส่วนตัว ที่ควรได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย โดยกำหนดให้วันที่ 31 มี.ค.ของทุกปีเป็นวันสำรองข้อมูลโลก และในโอกาสนี้ “ซีเกท เทคโนโลยี” ผู้ให้บริการนวัตกรรมโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลความจุสูง ได้เผยแพร่ข้อแนะนำในการเก็บรักษาข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไป ไว้ดังนี้

1.กำหนดเวลาการสำรองข้อมูลเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญจากการถูกลบโดยไม่ตั้งใจ ความเสียหายต่อไฟล์ หรือการจารกรรม โดยควรใช้เวลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำการสำรองข้อมูลทั้งหมด ทดสอบระบบสำรองข้อมูลและเสริมด้วยการสำรองข้อมูลส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นทุกวัน

2.ใช้กฎ 3-2-1 เพื่อกระจายระบบสำรองข้อมูล นั่นคือ เก็บข้อมูลใน 3 เวอร์ชัน (ต้นฉบับและสำเนาสองชุด) บนสื่อที่แตกต่างกัน 2 แบบ (เช่น พื้นที่จัดเก็บในเครื่องและระบบคลาวด์) และจัดเก็บข้อมูลนอกสถานที่อีก 1 รายการ

...

3.จัดลำดับความสำคัญของความปลอดภัยข้อมูลสำรอง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบสำรองข้อมูลมีการรักษาความปลอดภัยแบบติดอยู่กับตัวเครื่องตลอดการใช้งานของฮาร์ดแวร์สำรองข้อมูล ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น และควรสำรองข้อมูลบนคลาวด์ไว้ด้วย เพราะจะทำให้ไฟล์และข้อมูลถูกกู้คืนได้ง่ายขึ้น

4.จับคู่ความจุและจำนวนเงินที่ต้องจ่าย กรณีมีรูปภาพ วิดีโอและไฟล์ที่ต้องเก็บสำรองข้อมูลเป็นจำนวนมาก ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บมากขึ้นไปด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีบริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ให้เลือกมากมาย พิจารณาให้ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและสะดวก

5.ใช้ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล เช่น ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าของระบบปฏิบัติการ Windows ช่วยให้สามารถคัดลอกข้อมูลไปยังไดรฟ์สำรองได้ ติดตั้งง่ายแต่มีข้อจำกัด รวมถึงซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่นการซิงก์

บนคลาวด์ บริการสำรองข้อมูลออนไลน์ ที่ช่วยให้กระบวนการสำรองข้อมูลทำได้ง่ายในราคาสมเหตุผล.

คลิกอ่านคอลัมน์ “บทความไซเบอร์เน็ต” เพิ่มเติม