ดีแทคเปิดตัว Mobility Data Dashboard เครื่องมือพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ที่นำข้อมูลนับล้านชุดมาทำให้มีชีวิต (Bringing Data to Life) โลดแล่นผ่านแผนที่และแดชบอร์ดให้เข้าใจง่าย หวังขยายโอกาสสู่ทุกภาคส่วน ช่วยสืบค้นอินไซต์พฤติกรรมท่องเที่ยวในประเทศ ยกระดับนโยบายและบริการที่ตรงใจนักท่องเที่ยวมากขึ้น

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า เพราะเชื่อว่าพลังแห่งข้อมูลจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน นอกเหนือจากประเด็นการใช้ประ โยชน์แล้ว “การเข้าถึงข้อมูล” ถือเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมาก ด้วยเหตุนี้ดีแทคจึงได้ร่วมมือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุญมีแล็บ พัฒนาเครื่องมือ Mobility Data Dashboard ซึ่งใช้งานง่าย ครบถ้วนด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสู่นโยบายสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่ผู้ประกอบการ นักลงทุนก็สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาเป็นสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

“เครื่องมือ Mobility Data Dashboard ที่พัฒนาขึ้นนี้ ถือเป็นการทำงานด้านข้อมูลที่มีนัยสำคัญ นำข้อมูลมาใช้เป็น วิเคราะห์ได้ แสดงผลในรูปแบบแผนที่ การสื่อสารและเล่าเรื่อง ทำให้ข้อมูลนับล้านชุดมาโลดแล่นผ่านแผนที่และแดชบอร์ด ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย หรือเรียกได้ว่าเป็นการทำให้ข้อมูลดิบมีชีวิตนั่นเอง (Bringing Data to Life)”

...

โดย Mobility Data Dashboard นี้ เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยอาศัยกรอบการวิจัยภายใต้ “โครงการศึกษา Mobility Data เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรอง” ผ่านข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยว กว่า 5.39 ล้านทริป ผู้ใช้งานสามารถเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องของแต่ละจังหวัด โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1.ภาพรวมจังหวัด ประกอบด้วยข้อมูล 10 จังหวัดภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดและ 10 อันดับปลายทางที่คนในจังหวัดออกไปท่องเที่ยว ปริมาณการท่องเที่ยวแบบไป-กลับและค้างคืน รวมถึงการแสดงผลดัชนีชี้วัดศักยภาพในรูปแบบกราฟประเมินศักยภาพ และข้อเสนอเชิงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศักยภาพที่ต่างกันของเมืองรอง

2.เจาะลึกระดับอำเภอ ประกอบด้วยข้อมูล 5 อำเภอที่มีการกระจุกตัวนักท่องเที่ยวในช่วงเวลากลางวันสูงสุด (06.01-22.00 น.) และ 5 อำเภอที่มีการกระจุกตัวนักท่องเที่ยวในช่วงเวลากลางคืนสูงสุด (22.01-06.00 น.) หรือเลือกแบบดูละเอียดได้ถึง 7 ช่วงเวลา ได้แก่ 06.01-10.00 น. 10.01-14.00 น. 14.01-18.00 น. 18.01-22.00 น. 22.01-23.59 น. 00.01-02.00 น. และ 02.01-06.00 น. นอกจากนี้ ยังระบุข้อมูลการกระจุกตัวตามช่วงวันหยุด ซึ่งแบ่งเป็นประเภทวันหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดยาว และวันหยุดเทศกาล

3.ท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มจังหวัด ประกอบด้วยข้อมูลแสดงปริมาณทริปการเดินทางระหว่างกันของกลุ่มจังหวัดหรือคลัสเตอร์ที่นักท่องเที่ยวมักจะเดินทางไปเยือนในทริปเดียวกัน ซึ่งในแต่ละจังหวัดนั้น สามารถจับกลุ่มการท่องเที่ยวเพื่อออกแบบนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันได้ตั้งแต่ 1-3 กลุ่ม

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำและหัวหน้าหน่วยวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เครื่องมือ Mo bility Data Dashboard ถือเป็น “เครื่องมือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชิ้นแรก” ของไทยที่จะช่วยให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละท้องถิ่นแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้สนใจใช้เครื่องมือ Mobility Data Dashboard ได้ที่ https://dtac.co.th/mobility-data/dashboard/