เว็บไซต์ Apple Developer ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดคำแนะนำ และข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบน visionOS โดยมีหนึ่งในประเด็นสำคัญนั่นคือ แอปเปิลมีคำแนะนำนักพัฒนาให้เลี่ยงการใช้คำว่า AR หรือ VR 

หลังจากมีข่าวว่า แอปเปิลประกาศว่า Apple Vision Pro จะเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ แต่ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ นั่นคือ การเปิดเผยผ่านหน้าเว็บไซต์ Apple Develope ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล ข้อกำหนด และคำแนะนำต่างๆ แก่พนักงาน สำหรับผลิตแอปพลิเคชันลงสู่แพลตฟอร์ม visionOS โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง 

เรื่องแรกแอปเปิลได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการที่นักพัฒนาควรทำสำหรับการทดสอบแอปพลิเคชันของตัวเองบนแพลตฟอร์ม visionOS, การเตรียมภาพสกรีนชอต และการสร้างไอคอน เป็นต้น

ประเด็นที่สองเป็นเรื่องของชื่ออย่างเป็นทางการของแพลตฟอร์ม visionOS นั่นคือ ตัว “v” ที่เป็นตัวพิมพ์เล็ก และใช้ “OS” เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และชื่อผลิตภัณฑ์เต็มๆ ของอุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกว่า “Apple Vision Pro”

ประเด็นที่สาม คือการอ้างถึงแอปพลิเคชันที่ปรากฏบนแพลตฟอร์ม visionOS แอปเปิลได้แนะนำให้นักพัฒนาเลี่ยงการใช้คำว่า AR (augmented reality), VR (virtual reality), XR (extended reality) หรือแม้แต่คำว่า MR (mixed reality) ทั้งนี้แอปเปิลได้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้ของตัวเองว่าเป็นสินค้าในกลุ่ม Spatial computing

อย่างไรก็ดี การเรียกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Spatial computing ของแอปเปิลก็มีความขัดแย้งอยู่บ้าง เพราะแอปเปิลเคยเรียก Apple Vision Pro เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีด้านความจริงเสมือน Virtual reality และความจริงเสริม Augmented reality นอกจากนี้แล้วในงาน WWDC 2023 ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอปเปิล ก็ได้เรียก Vision Pro ว่าเป็นแพลตฟอร์ม AR ใหม่

...

ทั้งหมดนี้เข้าใจได้ว่าแอปเปิลตัดสินใจด้วยแนวคิดทางการตลาด และต้องการสร้างแบรนด์ให้แตกต่างไปจากคู่แข่งด้วยการใช้คำเรียกที่ไม่เหมือนกัน เพื่อแยกตัวเองออกจากผู้ผลิตเฮดเซต AR, VR, XR หรือ MR ก็ตาม เพราะในความเป็นจริงแล้ว เมื่อครั้งที่ visionOS ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ในหมู่วิศวกรของแอปเปิลได้เรียกด้วยชื่อ xrOS ด้วยซ้ำ

ในเวลาเดียวกัน แอปเปิลไม่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา มีความใกล้เคียงกับโลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) ของเมตา (Meta) ด้วยการเลือกไม่ใช้คำว่าเมตาเวิร์สแม้แต่ครั้งเดียว แม้จะมีความเหมือนกันมากน้อยแค่ไหนก็ตาม

ที่มา: BBC