นับตั้งแต่การเข้ามาเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กรใหญ่ด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างไมโครซอฟท์ของสัตยา นาเดลลา ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้บริหารวัย 55 ปี จากประเทศอินเดียคนนี้ ได้สร้างความคึกคักในวงการเทคโนโลยีแทบทุกปี

ถ้าหากคุณเป็นคอเกมโดยเฉพาะเครื่องเกมคอนโซล เราจะเห็นได้ว่า ไมโครซอฟท์ ในยุคของสัตยา นาเดลลา มีความพยายามผลักดันให้ “Xbox” ก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของ “PlayStation” อย่างหนักหน่วง ชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

Xbox ที่มีสัตยา นาเดลลา มองดูอยู่ไกลๆ ได้ไล่ซื้อสตูดิโอผู้พัฒนาเกมที่มีศักยภาพและน่าสนใจอยู่มาก ไล่ตั้งแต่ Mojang ผู้พัฒนาเกม Minecraft, ZeniMax Media ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาเกม The Evil Within, Fallout, Wolfenstein และ Doom เป็นต้น รวมถึงการซื้อกิจการที่รอไฟเขียวอย่าง Activision Blizzard 

ในด้านหนึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ อุตสาหกรรมคอนโซลการขับเคี่ยวระหว่างแบรนด์ Xbox และ PlayStation 

สัตยา นาเดลลา
สัตยา นาเดลลา

...

ขณะที่ ในปี 2023 ดูเหมือนว่าจะเป็นปีที่ไมโครซอฟท์ “มุ่งทะยาน” ไปสู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะแชตบอตของโอเพนเอไอ (OpenAI) ที่มีชื่อว่า ChatGPT นอกเหนือไปจากธุรกิจเกม

อย่างที่ทุกคนทราบ เพียงแค่วันแรกๆ ของ ChatGPT ที่เปิดให้บริการในวันที่ 30 พฤศจิกายน จากวันนั้นจนถึงวินาทีนี้ โลกเทคโนโลยีก็ไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป 

ยักษ์ใหญ่ที่มีผลงานด้านปัญญาประดิษฐ์มาเนิ่นนานอย่างกูเกิล (Google) จำเป็นต้องเปิดรหัสแดง (Code red) เร่งสร้างแชตบอตขึ้นมา เพราะหวั่นไหวต่อการมาของ ChatGPT ว่าจะเข้ามาเขย่าธุรกิจหลักของตัวเองอย่างเสิร์ชเอนจินลงได้ นั่นจึงทำให้เราได้เห็น Bard AI ของกูเกิล ในเวลาไม่นานหลังการเปิดตัวของ ChatGPT 

แต่ด้วยความเร่งรีบของกูเกิล จึงทำให้ผลลัพธ์ของ Bard AI ออกมาในแง่ลบจากผู้ใช้งาน รวมถึงความแม่นยำของข้อมูล ซึ่งกลายเป็นการบ้านกองโตของกูเกิลต้องมาปรับแก้

ควรต้องกล่าวด้วยว่า ไมโครซอฟท์ มีการลงทุนในโอเพนเอไอ มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แม้ในช่วงแรกไมโครซอฟท์ ซึ่งนำโดยอดีตซีอีโอของบริษัทอย่างบิล เกตส์ อาจไม่มั่นใจในโอเพนเอไอมากนัก แต่ก็ยอมปล่อยผ่านให้เกิดการลงในบริษัทสตาร์ทอัพแห่งนี้ ซึ่งในเวลาต่อมา คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินไปนัก หากจะบอกว่า ไมโครซอฟท์ ได้เข้าครอบงำโอเพนเอไอ เรียบร้อยแล้ว

ไมโครซอฟท์ ครอบงำโอเพนเอไอ เรียบร้อยแล้ว
ไมโครซอฟท์ ครอบงำโอเพนเอไอ เรียบร้อยแล้ว

ไมโครซอฟท์ กำลังอยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวดอกผลที่มาจากการลงทุนก่อนหน้านี้ของพวกเขา โดยการนำเทคโนโลยีของ ChatGPT ไปใส่ไว้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ไมโครซอฟท์ ไล่ตั้งแต่ Microsoft Office, Bing, Edge, Azure และเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่มีชื่อว่า Microsoft Security Copilot 

จุดนี้น่าสนใจมาก เพราะการผนวกเอา ChatGPT ไปมายังบริการที่มีผู้คนใช้งานน้อยอย่าง Bing ส่งผลให้ผู้คนเกิดให้ความสนใจในเสิร์ชเอนจินนี้ของไมโครซอฟท์มากขึ้น รวมไปถึง Edge เว็บเบราว์เซอร์นี้ของไมโครซอฟท์ด้วย

จากการเปิดเผยของไมโครซอฟท์ ในเดือนมีนาคม 2023 ตัวเลขผู้ใช้งานล่าสุดของ Bing อยู่ที่ 100 ล้านคนต่อวัน โดยเป็นผลมาจากการประกาศที่จะรวมเอา ChatGPT มาไว้ใน Bing อย่างไรเสีย ตัวเลขนี้ของ Bing ยังถือว่าน้อยมากนัก เมื่อเทียบกับกูเกิลซึ่งมีผู้ใช้งานระดับ 1,000 ล้านคนต่อวัน แต่ก็ถือว่าไมโครซอฟท์เดินเกมได้ถูกต้องแล้ว

พร้อมกันนี้ การนำ ChatGPT ผนวกเข้ากับบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ยังถือเป็นประตูบานแรกๆ ที่จะเปิดรับผู้ใช้งานได้เข้ามาลองใช้งานบริการอื่นของไมโครซอฟท์ด้วย 

ควรต้องกล่าวด้วยว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกๆ ที่เราได้เห็นไมโครซอฟท์เข้าไปเริ่มต้นรุกตลาดก่อนหน้าคู่แข่ง โดยมาในฐานะผู้นำ ไม่ใช่ผู้ตาม เพราะเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ที่ไมโครซอฟท์มักเข้าสู่ตลาดช้าเกินไป ดังที่เคยเกิดขึ้นในยุคสงครามสมาร์ทโฟนที่ Windows Phone มาค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับ Android และ iOS

การเล่นเกมนี้ของไมโครซอฟท์ ชวนให้เข้าใจได้ไม่ยากว่า ไมโครซอฟท์กำลังโน้มน้าวความเชื่อของทุกคนที่เคยเชื่อกันก่อนหน้านี้ว่า กูเกิล ครอบครองผู้นำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ จากการพัฒนา AlphaGo ของบริษัท DeepMind แต่เปล่าเลย ในวันนี้ นาทีนี้ ชั่วโมงนี้ ไมโครซอฟท์ต่างหากที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นที่แรกหากคุณกำลังนึกถึงคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์”

...

ด้วยการโน้มน้าวที่ว่านี้ของไมโครซอฟท์ จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเชื้อเชิญให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานเดินเข้ามาลิ้มลองผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ (ซึ่งผนึกกำลังกับโอเพนเอไอ) 

แต่เมื่อขึ้นเป็นผู้นำแล้ว สิ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องทำต่อไปก็คือ การช่วงชิงแสงสปอตไลต์ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้ลงมาที่ไมโครซอฟท์ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้มีแสงไปตกกระทบที่คู่แข่งอย่างกูเกิล ยกตัวอย่างเช่นการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ความสามารถใหม่ ที่ผู้ใช้งานคาดไม่ถึง 

สัตยา นาเดลลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไมโครซอฟท์ เคยให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และแชตบอตอาจเป็นการปรับเปลี่ยนองคาพยพด้านซอฟต์แวร์ครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งอาจทำให้ไมโครซอฟท์ มีโอกาสแซงหน้ากูเกิล พร้อมกับการทำให้ส่วนแบ่งตลาดของทั้ง Bing และ Edge เชิดสูงขึ้น

Bing และ Edge มาแรงขึ้นในช่วงที่ผนึกกำลังกับ OpenAI
Bing และ Edge มาแรงขึ้นในช่วงที่ผนึกกำลังกับ OpenAI

...

ถ้าหากไมโครซอฟท์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ นั่นหมายความว่า สถานะผู้นำของไมโครซอฟท์จะถูกสั่นคลอนลงได้ทุกเมื่อ เพราะเราต้องไม่ลืมว่า ในวันที่ ChatGPT เปิดให้บริการวันแรก ได้ก่อให้เกิดคู่แข่งมากหน้าหลายตาในอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์แทบจะทันที

ดังเช่นในกรณีของ Bard AI ซึ่งกล่าวไปข้างต้น อีกทั้งเราต้องไม่ลืมว่า เมตา (Meta) ก็พร้อมโจนทะยานลงมาเล่นเกมปัญญาประดิษฐ์ทุกเมื่อ แม้การลงทุนจำนวนมากของเมตายังคงเป็นเรื่องเมตาเวิร์สก็ตาม ส่วนแอปเปิลแม้จะยังนิ่งไม่ไหวติง แต่ใครเล่าจะรู้ว่า บริษัทที่มีชื่อเป็นผลไม้จะเริ่มขยับตัวเมื่อใด

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้นำแห่งเมตา
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้นำแห่งเมตา

หากมองในแง่ดีที่สุด การแข่งขันระหว่างไมโครซอฟท์ และกูเกิล รวมถึงบริษัทบิ๊กเทคอื่นๆ ผู้ชนะที่แท้จริงอาจเป็นผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ได้ เพราะในด้านหนึ่งการมาของ ChatGPT และ Bard AI ก็คือการเป็นเครื่องมือให้มนุษย์ รวมถึงเป็นการกระตุ้นให้มนุษย์มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตัวเองไม่ให้แพ้ปัญญาประดิษฐ์

...

อ้างอิง : BingBusiness News