งาน The Combined Exhibition of Advanced Technologies (CEATEC 2019) เป็นงานแสดงเทคโนโลยีขั้นสูงด้านไอทีและอิเล็กทรอนิกส์ประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เป็นเสมือนเวทีที่นำเสนอเทคโนโลยีอันทันสมัย และความสำเร็จในการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ของแต่ละผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายสำคัญของญี่ปุ่น

ทางบริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมงานด้วยการนำเสนอวิสัยทัศน์การดำเนินชีวิตของสังคมคนญี่ปุ่นในยุค 5.0 ผ่านการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ด้วยการสนับสนุนของ Maisart (Mitsubishi Electric’s AI Creates the State-of-the-ART in technology) เป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เป็นลิขสิทธิ์ของมิตซูบิชิ อิเล็คทริค ซึ่งก่อกำเนิดเป็นความลงตัวของความคิดสร้างสรรค์และประโยชน์ใช้สอย

...

เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นี้มาประกอบกับการประมวลผลที่ล้ำสมัยเพื่อทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความฉลาดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการใช้งานที่ง่ายและสะดวกสบาย ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

โดยทางมิตซูบิชิ อิเล็คทริคได้จัดโชว์เทคโนโลยี 4 หมวดด้วยกันโดยแบ่งเป็น

โซน “Life ชีวิต”

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสารก้าวข้ามอุปสรรคด้านภาษา และข้อจำกัดต่างๆด้วยแอปพลิเคชัน “SwipeTalk” แอปนี้เราสามารถพูดใส่ในเครื่องและสามารถแปลงมาเป็นตัวหนังสือแบบ 3 มิติการพัฒนามี 2 ระดับหรือระดับแรกมาจากด้านหลัง พูดใส่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตและเอานิ้วรูดหน้าจอ ตัวหนังสือจะวิ่งตามนิ้วที่รูดรวมทั้งสามารถแปลภาษาที่พูดออกมาได้ 10 ภาษา เช่นพูดภาษาญี่ปุ่นจะแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้ทันที

รวมทั้งสามารถวาดรูปได้เมื่อแคปหน้าจอเป็นคลิปวิดีโอเราสามารถส่งต่อได้เลย และเมื่อเอามารวมกับเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ในการจับภาพนิ่งและภาคเคลื่อนไหวสำหรับ การใช้งานบนโซเชียลมีเดีย จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารในยุคสมัยใหม่ได้สนุกยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มทดลองใช้ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว จากผลงานจากทีม Design X

โซลูชันในการจดจำเสียงพูดหลายภาษาเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น

โซน “Industry อุตสาหกรรม”

โชว์เทคโนโลยี AI “KOTSUMON” ที่สามารถเข้าถึงลำดับการเคลื่อนไหวได้เฉพาะในวิดีโอเพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ โดยนำมาพัฒนาใช้เพื่อติดตามคนงานในโรงงานในขณะทำงานว่ามีความเคลื่อนไหวผิดปกติหรือไม่ และมีข้อผิดพลาดตรงไหน พอได้ข้อมูลมาวิเคราะห์รวม เพื่อการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ซึ่งปกติจะใช้เวลานานถึง 30 วัน แต่เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้จะร่นเวลาเหลือเพียง 3 วัน โดยขณะนี้เริ่มนำมาใช้ในโรงงานของมิตซู-บิชิ อิเล็คทริคในญี่ปุ่น

เทคโนโลยีการแสดงผลการทำงานบนหน้าจอแบบสัมผัสที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบโดยไม่ต้องมีการสัมผัสทางกายภาพ การทดลองใช้โซลูชันการแสดงภาพสายการผลิตโดยใช้เทคโนโลยี AR เพื่อการวินิจฉัยและบำรุงรักษาแบบประหยัดพลังงาน เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิด e-F@ctory

...

โซน “Infrastructure โครงสร้างพื้นฐาน”

พัฒนาดิสเพลย์ในรูปแบบใหม่เป็นจอในอากาศ ไม่จำเป็นต้องมีจอรองรับ ทางบริษัทได้พัฒนาจากแผ่นกันสะท้อนเพราะช่วยให้การแสดงผลทางอากาศได้มีขนาดใหญ่ เป็นผลการวิจัยร่วมกับศาสตราจารย์ยามาโมโต้ จากมหาวิทยาลัยอิโซ- โนมิยะ ทำให้เรามองเห็นป้ายต่างๆได้แม้จะอยู่ในที่สว่างก็ตาม เทคโนโลยีนี้ช่วยการจัดวางพื้นที่จัดแสดงทำได้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในสนามบินที่ต้องเดินผ่านหลายขั้นตอน ป้ายนี้จะช่วยแสดงผลโดยไม่ต้องใช้พื้นที่ รวมทั้งธุรกิจบันเทิงและการสื่อสารเทคโนโลยีคาดว่าจะนำไปใช้หลังปี 2020

การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมแบบอัตโนมัติ และประหยัดพลังงาน ผ่านเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Mitsubishi Mobile Monitoring System for Diagnosis

การส่ง Live video ที่มีความคมชัดสูงโดยใช้การสื่อสาร 5G ในคลื่นความถี่ 28GHz

...

โซน “Mobility การคมนาคม”

เทคโนโลยีสำหรับยานยนต์ที่สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางได้อย่างแม่นยำแม้กระทั่งในเวลาที่ฝนตกหนัก หรือมีหมอก QZS-compatible ระบบที่ใช้ในการระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูงช่วยให้เครื่องจักรที่ใช้สำหรับการเกษตร โดรน และอื่นๆ สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ

EMIRAI4 คอนเซปต์คาร์สำหรับยุคการคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Smart Mobility ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีช่วยเหลือการขับขี่ในโลกอนาคตซึ่งจะช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น.