ความคิดที่ว่าอาจลดน้ำหนักโดยการตัดคาร์โบไฮเดรตหรือไม่กินแป้ง แล้วกินอาหารจำพวกให้โปรตีนเพิ่มนั้นจะไม่เป็นผลดีกับร่างกาย และมีคำถามตามมาว่าทำไมอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่มีโปรตีนสูงจึงเป็นที่นิยม? คำตอบแรกคืออาหารเหล่านี้กินได้ง่าย แต่ปัญหาพื้นฐานคืออาหารเหล่านี้มีรากฐานมาจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักและเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ จะช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส และเป็นส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมัน คาร์โบไฮเดรตแบ่งเป็น 2 ประเภทคือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว อาหารในกลุ่มนี้ เช่น ช็อกโกแลต ขนมเค้ก เครื่องดื่ม ซึ่งเมื่อกินเข้าไปร่างกายไม่ต้องทำงานเพื่อแยกแยะ เพราะเป็นอาหารมีแคลอรีสูง ควรหลีกเลี่ยง แต่ที่ควรให้ความสนใจคือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน อาหารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ข้าว มันฝรั่ง มันฝรั่งหวาน โฮลวีต ผักและผลไม้ ส่วนโปรตีนนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการช่วยสร้างเนื้อเยื่อแทนที่เซลล์ที่สึกหรอ ขนส่งเอนไซม์ฮอร์โมน สารภูมิต้านทานและสารสื่อประสาท สร้างกล้ามเนื้อ และช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจากร่างกายต้องการแคลอรีมากขึ้นในการย่อยอาหารเผาผลาญแคลอรี
โดยเฉลี่ยแล้วโปรตีนช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้มากถึง 30% แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอันตราย เพราะโปรตีนส่วนเกินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างกรดยูริกส่วนเกินในไต เป็นสาเหตุของปัญหาโรคกระดูกพรุนและโรคมะเร็ง ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเผยว่า การรับสารอาหารให้สมดุลกับร่างกายคือในแต่ละวันควรมีคาร์โบไฮเดรต 65% โปรตีน 25% และไขมัน 10% ก็เพียงพอแล้ว.