ทำความรู้จัก โครงการ PRE BUU ประจำปีการศึกษา 2568 ของมหาวิทยาลัยบูรพา โครงการที่เปิดโอกาสให้ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่คาดว่าจะเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไปมาลงเรียนล่วงหน้า

โครงการ PRE BUU คืออะไร 

โครงการ PRE BUU เป็นโครงการเรียนล่วงหน้า (Pre degree) ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือบุคคลทั่วไป มาเลือกเรียนรายวิชาของมหาวิทยาลัยบูรพาได้ตามความสนใจ โดยมหาวิทยาลัยจัดสรรโควตาพิเศษใน TCAS รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) สำหรับผู้เรียนในโครงการเรียนล่วงหน้าโดยเฉพาะ ผู้เรียนสามารถเก็บผลการเรียนใส่ไว้ในแฟ้มผลงาน (Portfolio) และนำมายื่นเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพารอบ Portfolio ได้

วัตถุประสงค์โครงการ และกลุ่มเป้าหมาย

มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า รวมทั้งบุคคลทั่วไป ที่คาดว่าจะเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2568 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสนับสนุน และส่งเสริม นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ที่มีศักยภาพสูงทางด้านวิชาการ รวมทั้งบุคคลทั่วไป ให้ได้เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ตอบสนองตามความต้องการของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพ และความถนัดของตนเอง ก่อนจะเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา

จำนวนการรับ และค่าใช้จ่าย

การเข้าร่วมโครงการไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้อาจจะมีค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเรียนรายวิชา หรือเข้าร่วมค่ายวิชาการตามเงื่อนไขของหลักสูตร (ถ้ามี) โดยให้ส่วนงานพิจารณาตามความเหมาะสม แจ้งจำนวนการรับไปที่กองทะเบียน และประมวลผลการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา

...

อย่างไรก็ตาม สามารถเช็กรายชื่อส่วนงาน และหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการ Pre BUU ประจําปีการศึกษา 2568 ได้ที่นี่ (คลิก)

สิทธิประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ

มหาวิทยาลัยจัดสรรโควตาพิเศษใน TCAS รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) สำหรับผู้เรียนในโครงการเรียนล่วงหน้าโดยเฉพาะ ผู้เรียนสามารถเก็บผลการเรียนใส่ไว้ในแฟ้มผลงาน (Portfolio) และนำมายื่นเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา รอบ Portfolio

โดยผู้เรียนที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ต้องเรียนรายวิชาจาก BUU MOOC หรือ เรียนรายวิชาของมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งระบบปกติและระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) อย่างน้อย 1 รายวิชา และเข้าร่วมค่ายวิชาการตามเงื่อนไขของหลักสูตร (ถ้ามี) รวมทั้งเกณฑ์อื่นตามประกาศการรับสมัครเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ไม่มีข้อผูกมัดหรือข้อบังคับใดๆ ทั้งสิ้นว่า ผู้เรียนในโครงการเรียนล่วงหน้า จะต้องศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ก็สามารถลงทะเบียนเรียนในโครงการเรียนล่วงหน้านี้ได้

นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ที่จะได้รับในด้านต่างๆ ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยสามารถรับผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงทางด้านวิชาการ เข้าศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยสามารถเตรียมความพร้อม และเปิดโอกาสให้ให้ผู้เรียนได้ค้นพบตัวตน และความถนัดในศาสตร์ของมหาวิทยาลัยก่อนเข้าศึกษา
  • ผู้เรียนมีโอกาสในการค้นหาตัวตนว่ามีความชอบ และความถนัดในศาสตร์ใดของมหาวิทยาลัย ก่อนจะเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นการป้องกันการย้ายสาขาภายหลังจากการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา
  • ผู้เรียนสามารถลดระยะเวลาการศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เพราะได้เรียนล่วงหน้าไปตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว
  • ผู้เรียนในโครงการ PRE BUU สามารถยื่นผลการเรียนรอบ Portfolio เพื่อสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งนี้ ผลการเรียนสามารถยื่นเข้าได้ในทุกวิทยาเขต

มีรูปแบบการเรียนอย่างไรบ้าง

  1. เรียนรายวิชาจาก BUU MOOC อย่างน้อย 1 รายวิชา หรือเรียนรายวิชาของมหาวิทยาลัยบูรพาทั้งระบบปกติและระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) อย่างน้อย 1 รายวิชา (ทั้งนี้ การเรียนรายวิชาขึ้นกับเงื่อนไขที่แต่ละหลักสูตรกำหนด)
  2. เข้าค่ายวิชาการตามเงื่อนไขของหลักสูตร (ในกรณีที่หลักสูตรกำหนดให้การเข้าค่ายวิชาการเป็นเกณฑ์การรับสมัครเข้าศึกษาเพิ่มเติมจากข้อ 1.) 

การลงทะเบียน และรายละเอียดเบื้องต้นที่ควรรู้

เดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ลงทะเบียนเรียนรายวิชาของมหาวิทยาลัยบูรพา ตามเงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนด จากช่องทางต่อไปนี้

1. รายวิชา "BUU MOOC" เรียนได้ตลอดเวลาได้ที่เว็บไซต์ BUU MOOC

2. รายวิชาของมหาวิทยาลัยบูรพาระบบปกติ ตามกำหนดการลงทะเบียนเรียนในระบบ https://reg.buu.ac.th/ 

3. รายวิชาในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ตามประกาศของส่วนงาน
เดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ในกรณีเรียนรายวิชาหลังกำหนดยื่นสมัคร TCAS รอบ Portfolio ประจำปีการศึกษา 2568 สามารถนำไปยื่นสมัครในปีการศึกษาถัดไปได้

เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

4. เข้าค่ายวิชาการของหลักสูตรที่ต้องการสมัคร เฉพาะหลักสูตรที่กำหนดให้ "การเข้าค่ายวิชาการ" เป็นเงื่อนไขการรับเข้าเพิ่มเติม ตรวจสอบรายละเอียดที่นี่ (คลิก)

เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

5. นำผลการลงทะเบียนเรียนรายวิชา และการเข้าค่ายวิชาการ (ถ้ามี) มาใช้สมัคร TCAS รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ตามกำหนดการและเงื่อนไขใน ระบบรับเข้าศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 

สำหรับ ผู้ไม่ประสงค์สมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบูรพา สามารถเก็บผลการเรียนไว้ใช้ประกอบการสมัครในปีการศึกษาถัดไปได้

อย่างไรก็ตาม หากใครสนใจ สามารถติดตามรายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ เพจเฟซบุ๊ก กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

ที่มาของมูลจาก เว็บไซต์ กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา