"องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก" ชวนส่งต่อความรัก ร่วมบริจาคช่วยเหลือ "ช้าง" กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้างไทย เพื่อให้พ้นจากวงจรชีวิตที่ทุกข์ทรมาน 

วันที่ 2 มี.ค. 2567 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดโครงการ "กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง" โดยมีเป้าหมายเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือช้างออกจากสถานที่เลี้ยงดูที่มีสภาพไม่เหมาะสม และมีสวัสดิภาพต่ำ ให้พ้นจากวงจรชีวิตที่ทุกข์ทรมานจากการถูกกักขังและถูกฝึกด้วยวิธีการที่โหดร้ายเพื่อร่วมทำกิจกรรมกับนักท่องเที่ยว เช่น ขี่ช้าง, อาบน้ำช้าง, โชว์ช้าง ฯลฯ 

อีกทั้ง ช้างเหล่านี้ยังต้องถูกผสมพันธุ์อย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า "การผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์" เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากลูกช้างเกิดใหม่ซึ่งต้องถูกพรากแม่พรากลูก จนนำเข้าสู่วงจรชีวิตที่ทุกข์ทรมานอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยกองทุนนี้จะสามารถช่วยไถ่ชีวิตช้างอย่างยั่งยืนโดยมั่นใจได้ว่าช้างทุกตัวที่ได้รับการไถ่ตัว จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดชั่วอายุขัย และไม่ต้องถูกส่งกลับไปทำงานเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับนักท่องเที่ยวอีกต่อไป

...

สำหรับ "คำแพง" ช้างเพศเมีย อายุ 54 ปี ในอดีตถูกบังคับให้ทำงานอย่างหนัก ตั้งแต่งานลากซุง และกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยว ทำให้มีสภาพร่างกายที่ซูบผอมมากอย่างเห็นได้ชัด ตาบอดหนึ่งข้าง และไม่เหลือฟันสำหรับเคี้ยวอาหารอีกต่อไป 

นอกจากนี้ ยังพบร่องรอยของความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเมื่อคำแพงทำงานไม่ได้ ก็จะถูกล่ามโซ่ไม่ให้เคลื่อนที่ไปไหนทั้งวัน ทำได้เพียงโยกตัวไปมาอย่างรุนแรง ซึ่งบ่งบอกถึงสภาวะความเครียดของช้างคำแพง เพิ่งได้รับชีวิตใหม่ โดยการช่วยเหลือจากองค์กร Unchained Elephants ให้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตช่วงบั้นปลายที่สงบสุขอย่างยั่งยืน โดยอาศัยอยู่ที่มูลนิธิสมบูรณ์เลกาซี่ จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในปางช้างเป็นมิตรกับช้างที่องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 

ขณะที่ คำแพง คือหนึ่งในตัวอย่างของช้างอีกกว่า 3 พันตัว ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กำลังอยู่อย่างทุกข์ทน และรอคอยชีวิตใหม่ที่มีอิสระตามธรรมชาติ อย่างที่สัตว์ป่าทุกตัวควรจะได้รับ "กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง" จึงเป็นสุขสุดท้ายที่จะทำให้ช้างได้พบกับบั้นปลายของชีวิตที่มีความสุข โดยไม่ต้องมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการถูกนำกลับไปใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โหดร้ายทารุณ

ปัจจุบันองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ทำงานร่วมกับปางช้างที่มีสวัสดิภาพการเลี้ยงดูช้างระดับสูงจำนวน 10 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งจากการทำงานร่วมกับปางช้างเหล่านี้ ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ นั่นคือค่าใช้จ่ายที่สูงมากเพื่อไถ่ชีวิตช้างให้เป็นอิสระจริงๆ เพื่อไม่ทำให้ช้างต้องมีชีวิตที่เผชิญความเสี่ยงต่อการถูกนำกลับไปใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่โหดร้ายทารุณอีกต่อไป ดังเช่นตัวอย่างความสำเร็จในการช่วยเหลือคำแพง ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีช้างอีกจำนวนมากที่กำลังอยู่อย่างทุกข์ทน และรอคอยชีวิตใหม่ที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ อย่างที่สัตว์ป่าทุกตัวควรจะได้รับ "กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง" จึงเป็นสุขสุดท้ายที่แท้จริง ที่จะทำให้ช้างได้พับกับบั้นปลายของชีวิตที่มีความสุข 

สำหรับ "ปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง" ช้างแต่ละตัวที่ปางช้างเหล่านี้จะได้ใช้ชีวิตตามวิถีธรรมชาติ ไม่มีกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสัมผัสช้าง ไม่มีการบังคับขี่ช้าง ไม่มีการแสดงโชว์ ไม่มีกิจกรรมอาบน้ำช้าง ถูตัวช้าง ฯลฯ ช้างได้กินอาหารที่หลากหลาย มีสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ ไม่ต่างจากคำแพง ช้างทุกตัวมีสวัสดิภาพดีขึ้นทั้งร่ายกายและจิตใจ มีความสุขเพิ่มขึ้น พฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกเปลี่ยนไปในเชิงบวก ทำให้ทั้งเจ้าของปางช้าง ควาญช้าง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่นี้ มีความสุขจากการมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ช้าง  

ทั้งนี้ พวกเราในฐานะนักท่องเที่ยวเป็นเพียงผู้เฝ้าดูชีวิตที่มีความสุขในแบบธรรมชาติของช้างเหล่านั้น ในช่วงเดือนแห่งความรักนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก หวังที่จะเห็นช้างไทยที่เรารัก สัตว์ตัวยักษ์ที่แสนฉลาด น่ารัก และอบอุ่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน เป็นช้างรุ่นสุดท้ายของประเทศไทยที่ต้องวนเวียนอยู่ในวงจรแห่งความโหดร้ายทารุณนี้ เราทุกคนสามารถส่งมอบความรักที่แท้จริงให้แก่ช้างได้มีชีวิตใหม่ผ่าน "กองทุนช่วยเหลือเพื่อไถ่ชีวิตช้าง" ด้วยการบริจาคให้กับ มูลนิธิพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (ประเทศไทย) ซึ่งจะสามารถช่วยให้ช้างให้ได้มีสวัสดิภาพและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมต้องการให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช้างทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแลช้างให้ได้มาตรฐานด้านสวัสดิภาพและสนับสนุนการท่องเที่ยวด้วยหัวใจที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ส่วนรายละเอียดโครงการและช่องทางบริจาค เว็บไซต์องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทยโครงการปันบุญ.