รู้จัก A-Level (Applied Knowledge Level) การสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ มีความสำคัญอย่างไร พร้อมเปิดไทม์ไลน์การสอบ 2567 

นอกจากจะสอบ TGAT/TPAT ที่มีการประกาศผลคะแนนแล้วนั้น นักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หลายคนยังเตรียมตัวกับการสอบ A-Level เพื่อนำคะแนนไปใช้ในระบบ "TCAS67" อีกด้วย ซึ่งปกติแล้วจะสอบช่วงประมาณเดือนมีนาคม 

A-Level คืออะไร 

A-Level ย่อมาจาก Applied Knowledge Level เป็นการสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ เน้นการนำความรู้ที่เรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมก็คือวิชาสามัญ แต่มีการปรับปรุงลดความซ้ำซ้อนในการสอบ โดยเริ่มจัดให้มีการสอบตั้งแต่ปี 2565 หรือในรุ่นของ DEK66 

โดยคะแนนที่ได้จากการสอบ A-Level สามารถนำไปยื่นในระบบ TCAS ในรอบโควตา, รอบ Admission และรอบรับตรง ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงสอบทุกวิชา แต่ให้ดูจากคณะ มหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าว่ามีการกำหนดเกณฑ์อย่างไร ซึ่งแต่ละวิชาจะกำหนดเวลาในการสอบ 90 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

...

รายวิชาสอบ A-Level มีดังนี้

1. คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

โครงสร้างข้อสอบ

  • สาระจำนวนและพีชคณิต : เซต, ตรรกศาสตร์, จำนวนจริงและพหุนาม, ฟังก์ชัน, ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม, ฟังก์ชันตรีโกณมิติ, จํานวนเชิงซ้อน, เมทริกซ์, ลําดับและอนุกรม
  • สาระการวัดและเรขาคณิต : เรขาคณิตวิเคราะห์, เวกเตอร์ในสามมิติ
  • สาระสถิติและความน่าจะเป็น : สถิติ, การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น, หลักการนับเบื้องต้น, ความน่าจะเป็น
  • สาระแคลคูลัส : แคลคูลัสเบื้องต้น


2. คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 

โครงสร้างข้อสอบ 

  • จำนวนและพีชคณิต : เซต, ตรรกศาสตร์เบื้องต้น, เลขยกกำลัง, ฟังก์ชัน, ลําดับและอนุกรม, ดอกเบี้ยและมูลค่าของเงิน
  • สถิติและความน่าจะเป็น : สถิติ, หลักการนับเบื้องต้น, ความน่าจะเป็น

3. วิทยาศาสตร์ประยุกต์

โครงสร้างข้อสอบ 

  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ : ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม, การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์, การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์, ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์, การดำรงชีวิตของพืช, พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ : อะตอมและสมบัติของธาตุ, สารโคเวเลนต์, สารประกอบไอออนิก, สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, พอลิเมอร์, ปฏิกิริยาเคมี, สารกัมมันตรังสี, การเคลื่อนที่และแรง, แรงในธรรมชาติ, พลังงานทดแทน, คลื่นกล, เสียง, แสงสี, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ : เอกภพและกาแล็กซี, ดาวฤกษ์, ระบบสุริยะ, เทคโนโลยีอวกาศ, โครงสร้างโลก, การแปรสัณฐานของแผ่นธรณี, ธรณีพิบัติภัย, การเกิดลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

4. ฟิสิกส์

โครงสร้างข้อสอบ  

  • กลศาสตร์ : ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่, สมดุลกลของวัตถุ, งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล, โมเมนตัมและการชน, การเคลื่อนที่แนวโค้ง, การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย
  • คลื่นกล และแสง : คลื่น, เสียง, แสง
  • ไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้ากระแส, แม่เหล็กและไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • อุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร : ความร้อนและแก๊ส, ของแข็งและของไหล
  • ฟิสิกส์แผนใหม่ : ฟิสิกส์อะตอม, ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

5. เคมี

โครงสร้างข้อสอบ

  • สมบัติของธาตุและสารประกอบ : อะตอมและสมบัติของธาตุ, พันธะเคมี, แก๊ส, เคมีอินทรีย์, พอลิเมอร์
  • สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี : ปริมาณสัมพันธ์, อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, สมดุลเคมี, กรด–เบส, เคมีไฟฟ้า
  • ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร : ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี, โมล, สารละลาย

6. ชีววิทยา

โครงสร้างข้อสอบ 

  • ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม : ระบบนิเวศและไบโอม, ประชากร, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน
  • หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต : เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต, โครงสร้างและการทำงานของเซลล์
  • ระบบและการทำงานต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ : ระบบย่อยอาหาร, ระบบหมุนเวียนเลือด, ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน, ระบบขับถ่าย, ระบบหายใจ, ระบบประสาทและการเคลื่อนที่, ระบบสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต, ระบบต่อมไร้ท่อ, พฤติกรรมของสัตว์
  • โครงสร้างและการทำงานของส่วนต่างๆ ในพืช : เนื้อเยื่อและโครงสร้างภายในของพืช, การแลกเปลี่ยนแก๊ส การคายน้ำของพืช และการลำเลียงของพืช, การสังเคราะห์ด้วยแสงและสารอินทรีย์ในพืช, การสืบพันธุ์ของพืชดอก, การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
  • พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ : การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม, สมบัติของสารพันธุกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างยีน การสังเคราะห์โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม, การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม, เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ, วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์ประชากร

7. สังคมศึกษา

โครงสร้างข้อสอบ

1. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 

  • ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  • การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ

2. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม 

  • หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
  • การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. เศรษฐศาสตร์ 

  • บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
  • สถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

4. ประวัติศาสตร์ 

  • เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ
  • พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเชีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา
  • ชาติไทย การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย

5. ภูมิศาสตร์

  • โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


8. ภาษาไทย

1. การอ่าน

  • การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา
  • การจับใจความ/การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
  • การตีความ
  • การวิเคราะห์จุดประสงค์/เจตนาของผู้เขียน
  • การวิเคราะห์ข้อคิด/แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
  • การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน
  • ท่าที/น้ำเสียง/อารมณ์ความรู้สึก/ความคิดเห็นของผู้เขียน

2. การเขียน

  • การเรียงลำดับข้อความ
  • การเรียงความ
  • การพรรณนา/บรรยาย/อธิบาย
  • การใช้เหตุผล
  • การแสดงทรรศนะ
  • การโต้แย้ง
  • การโน้มน้าว

3. การพูด การฟัง

  • การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด
  • การใช้ข้อความถามและตอบที่สัมพันธ์กัน
  • การตีความ/อนุมาน/วิเคราะห์สาร/บุคลิกของผู้พูดหรือผู้ฟัง

4.  หลักการใช้ภาษา

  • การสะกดคำ
  • การใช้คำตรงความหมาย
  • ประโยคกำกวม/ประโยคบกพร่อง
  • ประโยคสมบูรณ์
  • ระดับภาษา
  • การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย
  • ชนิดของประโยคตามเจตนา
  • คำที่มีความหมายตรง/อุปมา
  • คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
  • ราชาศัพท์

9. ภาษาอังกฤษ

โครงสร้างข้อสอบ

ทักษะการฟังและการพูด (Listening and Speaking Skills) (25 คะแนน)

1. เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversation) จำนวน 3 บทสนทนา

  • จำนวนข้อคำถาม (4 ข้อ/บทสนทนา รวม 12 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

2. เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversation) จำนวน 1 บทสนทนา

  • จำนวนข้อคำถาม (8 ข้อ/บทสนทนา รวม 8 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)

1.  โฆษณา (Advertisement) จำนวน 2 บทความ

  • จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

2. บทวิจารณ์สินค้าหรือบริการ (Product or service review) จำนวน 1 บทความ

  • จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

3. รายงานข่าว (News report) จำนวน 1 บทความ

  • จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

4. ภาพประกอบบทความ (Visual) เช่น กราฟ ตาราง แผนผัง หรือ แผนภูมิ จำนวน 2 เรื่อง

  • จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/เรื่อง รวม 6 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

5. บทความทั่วไป ที่มีจำนวนคำประมาณ 500–600 คำ หรือ 1 หน้ากระดาษ A4 จำนวน 2 บทความ

  • จำนวนข้อคำถาม 8 ข้อ/เรื่อง รวม 16 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 10 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

ทักษะการเขียน (Writing Skill) (25 คะแนน)

1. เติมบทความให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 3 บทความ

  • จำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 11 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

2. เรียงประโยคให้เป็นย่อหน้าที่สมบูรณ์ (Paragraph organization) จำนวน 5 ย่อหน้า

  • จำนวนข้อคำถาม 5 ย่อหน้า รวม 5 ข้อ
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 3 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

ระดับความยากง่ายของข้อสอบทั้งฉบับ

  • ระดับง่าย 20% (16 ข้อ)
  • ระดับปานกลาง 60% (48 ข้อ)
  • ระดับยาก 20% (16 ข้อ)

10. ภาษาต่างประเทศ 

- ฝรั่งเศส

- เยอรมัน

- ญี่ปุ่น

- จีน 

- เกาหลี

- บาลี

- ภาษาสเปน

ปฏิทินการสมัครสอบและปฏิทินการสอบ A-Level

  •  1-10 กุมภาพันธ์ 2567 สมัครสอบรายวิชา A-Level โดยเลือกสนามสอบแบบเรียงลำดับ 5 ลำดับ (ค่าสมัครรายวิชาละ 100 บาท)
  • 24 กุมภาพันธ์-18 มีนาคม 2567 พิมพ์บัตรที่นั่งสอบรายวิชา A-Level
  • 16 มีนาคม 2567 สอบ Bio/Phy/Thai/Soc
  • 17 มีนาคม 2567 สอบ Math1/Eng/Chem
  • 18 มีนาคม 2567 สอบ Math2/Sci/Fre/Ger/Jap/Kor/Chi/Bal/Spn
  • 17 เมษายน 2567 ประกาศผลคะแนนสอบ
  • 18-25 เมษายน 2567 ขอทบทวนผลคะแนนสอบ (วิชาละ 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 300 บาทต่อคน)