หมอธีระวัฒน์ เผย ตัวกำหนดความรุนแรงของโรคโควิด-19 คือต้นทุนสุขภาพและการรักษาให้ทันท่วงที ย้ำวัคซีนปัจจุบันกันติดไม่ได้ และอาจมีผลข้างเคียงตามมา


วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ตัวโควิดแม้จะความรุนแรงน้อยลงมากจากตัวไวรัสเอง ยังมีอีกหลายปัจจัยที่คุ้มครองคือ ผลดีสะสมของวัคซีน ทั้งเชื้อตาย แอสตรา และ mRNA ร่วมกับผลของการติดเชื้อตามธรรมชาติ ที่ไม่ได้ประเมินจากระดับแอนติบอดีในเลือด แต่เป็นการเตรียมพร้อมของระบบภูมิคุ้มกันที่ออกฤทธิ์ทันทีโดยเซลล์นักฆ่า

แต่อีกประการสำคัญที่กำหนดความรุนแรงคือ ต้นทุนสุขภาพไม่ว่าจะอายุเท่าใด และการที่ต้องรักษาทันทีด้วยฟ้าทะลายโจรตั้งแต่เริ่มไม่สบาย ไม่ต้องรอขึ้นสองขีด เพราะจะขึ้นช้ามากจะพลาดโอกาสทอง

ต้องตระหนักว่าฟาวิพิราเวียเริ่มมีการดื้อตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา และสายพันธุ์ย่อยใหม่ BQ XBB BX7 ดื้อต่อวัคซีนทั้งหมด รวมทั้งวัคซีนรุ่นใหม่กันติดไม่ได้ แม้ว่าน่าจะลดอาการหนักได้ แต่ไม่ดีเท่ากับการติดเชื้อตามธรรมชาติที่ผ่านมา และต้องระวังว่าวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงในบางรายที่รุนแรง ได้แก่ หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน จากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นกระจุกที่ขัดขวางการควบคุมการเต้นของหัวใจ

ตามรายงานล่าสุดของการพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตทันทีอายุ 45 ถึง 75 ปี จากคณะพยาธิแพทย์ที่มีชื่อเสียงของเยอรมนี รวมทั้งเส้นเลือดหัวใจตันและหัวใจวาย โควิดสายย่อยใหม่นี้นอกจากดื้อวัคซีนแล้วยังดื้อต่อโมโนโคลนอลแอนติบอดีทุกชนิดที่ใช้ในการรักษา และป้องกันที่มีฤทธิ์ยาวนานหลายเดือน ตามข้อมูลของ US CDC และในยุโรปและในอังกฤษ.

...


ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha