กระแสวิพากษ์วิจารณ์ กระแสควบรวม "ทรู-ดีแทค" หลังบอร์ด กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจ ส่งผลแฮชแท็ก #กสทช ติดเทรนด์
วันที่ 21 ต.ค. 65 จากกรณี ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด กสทช. ได้พิจารณาวาระพิเศษการขอควบรวมกิจการ ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
โดยมีรายงานว่า บอร์ด กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนเสียงข้างน้อยขอสงวนความเห็น ไม่อนุญาตการรวมธุรกิจ
ขณะที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค หรือ สอบ. ได้ออกหนังสือ แสดงความผิดหวังกับ กสทช. ในประเด็นรับทราบการควบรวมทรู-ดีแทค และเตรียมขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินก่อนมีคำพิพากษา พร้อมกันนี้ จะร้องคณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เนื่องจากมองว่า กรรมการ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการพิจารณาการควบรวมกิจการประเภทเดียวกันในครั้งนี้
นอกจากนี้ ก็จะเดินหน้าร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการกับ กสทช. ที่อนุญาตให้ควบรวมในครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับกระแสที่ บอร์ด กสทช. มีมติเสียงข้างมาก รับทราบการรวมธุรกิจระหว่างทรู และดีแทค ในครั้งนี้ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียล จนเกิดแฮชแท็ก #กสทช เนื่องจากก่อนหน้านี้ทั้งนักวิชาการ และภาคประชาชนมองว่า การควบรวมกิจการดังกล่าว อาจขัดต่อกฎหมายมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 และประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561
...
โดยส่วนใหญ่กังวลว่า หากมีการควบรวมกิจการนี้เกิดขึ้น นำไปสู่การจัดตั้งบริษัทใหม่ และจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 49.40% และทำให้ในตลาดเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย (เกิดสภาวะ Duopoly หรือผู้ขายสองราย) สามารถอ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่
ที่มาจาก ทวิตเตอร์