เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายของมนุษย์จะมีระบบเส้นใยภายในเซลล์ คือระบบไมโครทิวบูล (Microtubule) และเส้นใยที่รองรับรูปร่างที่ไม่ยืดหยุ่นของเซลล์ ไมโครทิวบูลเกิดจากโปรตีนทิวบิวลิน มีบทบาทสำคัญในการแบ่งเซลล์ที่มีสุขภาพดีและเซลล์เนื้องอก ดังนั้น ไมโครทิวบูลจึงเป็นเป้าหมายของยาต้านมะเร็ง ในการที่จะยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกด้วยการขัดขวาง tubulin polymerization

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์รัสเซียกลุ่มหนึ่งจาก National Research University Higher School of Economics ในกรุงมอสโก แห่งรัสเซีย ได้ค้นพบและอธิบายกลไกการทำงานของโมเลกุลต่อต้านมะเร็งชนิดใหม่นั่นคือ Diphenylisoxazole ซึ่งโมเลกุลนี้มีความโดดเด่นตรงที่สังเคราะห์ได้ง่าย โดยใช้สารประกอบที่มีอยู่ เช่น เบนซาลดีไฮด์, อะซีโตฟีโนน และแอริล ไนโตรมีเทน โดยทีมนักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า Diphenylisoxazole สามารถยับยั้ง tubulin polymerization ในตัวอ่อนหอยเม่นที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วคล้ายกับเซลล์มะเร็ง

การทดลองนี้ไม่เพียงพิสูจน์ให้เห็นประสิทธิภาพของโมเลกุลที่ทำงานได้ในตัวอ่อนของหอยเม่น แต่ยังหมายรวมถึงเซลล์มะเร็งในมนุษย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งการวิจัยโมเลกุลที่ค้นพบใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การผลิตยารักษามะเร็งที่ราคาถูกลงกว่าเดิม.

(ภาพ) Credit : National Research University Higher School of Economics