(ภาพจาก : University of Plymouth)
เมื่อเร็วๆนี้มีการศึกษาใหม่จากนักวิจัยนำโดยมหาวิทยาลัยพลีมัธ ในประเทศอังกฤษ รายงานลงในวารสารเนเจอร์ จีโอไซเอนซ์ (Nature Geoscience) ว่ามหาสมุทรทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อประมาณ 170 ล้านปีก่อน เมื่อความสัมพันธ์ ของนักล่าและเหยื่อที่ถูกล่าเข้าควบคุมความเป็นห่วงโซ่อาหาร จุดนั้นเองที่สิ่งมีชีวิตทางทะเลถูกควบคุมจากสิ่งที่ไม่ใช่ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ หรือสภาวะทางเคมีของมหาสมุทร
ทีมวิจัยได้ทดสอบทฤษฎีที่ว่าด้วยความสำคัญทางวิวัฒนาการของสภาพแวดล้อม โดยที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยทางชีวภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ใช้การวิเคราะห์แร่ธาตุอะราโกไนต์และแคลไซต์ที่ก่อตัวขึ้นเป็นวัตถุอนินทรีย์ในมหาสมุทรช่วงระยะ 500 ล้านปีที่แล้ว และนำไปเปรียบเทียบกับองค์ประกอบแร่ของเปลือกหอยในเวลาเดียวกัน ผลการทดสอบปรากฏว่า ราวๆกลางยุคจูราสสิกเมื่อ 170 ล้านปีก่อน สิ่งมีชีวิตมีการหลั่งแร่ธาตุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีข้อได้เปรียบด้านวิวัฒนาการ
นักวิจัยอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเพิ่มจำนวนของแพลงก์ตอนที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเกาะเป็นเปลือกแข็ง และต่อมาภายหลังก็ทำให้องค์ประกอบทางเคมีของมหาสมุทรมีเสถียรภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในทะเลก็มีการเปลี่ยนแปลง.