สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย ชี้ยกเลิกพาราควอต มีเงื่อนงำทางธุรกิจ เพราะใช้สารตัวใหม่มีอันตรายไม่ต่างจากตัวเดิม แถมทำเกษตรกรกระเป๋าฉีก 7เท่าต่อไร่ -ประสิทธิภาพด้อยกว่า


เมื่อวันที่ 23 ต.ค. นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย กล่าวว่า เกษตรกรยอมรับมติของ คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่จะจำกัดการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิด คือ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคนบางกลุ่มที่จะให้ยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 เนื่องจาก เกษตรกรใช้สารเคมีดังกล่าวมาเป็นเวลานาน ไม่เคยมีปัญหา สารเคมีต่างๆ 90% เป็นสารอินทรีย์ ที่จะสลายตัวไปได้เอง หากใช้อย่างถูกวิธีจะไม่ส่งผลกระทบกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

สารกลูโฟซิเนต ที่มีการเสนอให้ใช้แทนพาราควอตนั้น มีความเป็นพิษไม่ต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืชสู้พาราควอต และไกลโฟเซต ไม่ได้ และที่แตกต่างกันคือมีราคาสูงกล่าวพาราควอต และต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่า ยิ่งจะทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีมากขึ้น โดยรวมหากต้องเปลี่ยนมาใช้ยาตัวนี้จะทำให้เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นต่อไร่ถึง 7 เท่า

...

ทุกวันนี้มีประเทศที่ห้ามและจำกัดการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด 53 ประเทศ แต่มีประเทศที่ใช้กันอยู่เกือบ 100 ประเทศ หากสารทั้ง 3 ชนิดถูกแบน จะทำให้ระบบเกษตรของไทยต้องล้มสลายเพราะรายจ่ายของเกษตรกรจะมีมากขึ้นพวกตนจึงยอมไม่ได้

นายสกรรณ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่ตนพูดมานี้เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ อยากให้คนที่เห็นแตกต่างเอาข้อมูลมาพูดกันเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร และยืนยันที่เรียกร้องเพราะตัวเองเป็นเกษตรกรหากต้องไปใช้สารเคมีที่มีราคาสูงกว่าเดิมถึง 7 เท่าคงอยู่ลำบาก และมองว่าข้อเสนอให้แบนสาร พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และให้จำกัดการใช้ ไกลโฟเซต อาจมีเบื้องหลังอะไรทางธุรกิจอะไรหรือไม่ เพราะผู้ขายสารกลูโฟซิเนต จะไม่สามารถขายได้เลยหากยังไม่แบนพาราควอต เนื่องจากเป็นยาสามัญประจำฟาร์มที่เกษตรกรทั่วไปใช้กันอยู่.