Credit : Janet Iwasa

ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ และแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมที่เป็นตัวควบคุมระบบการทำงานและลักษณะของร่างกาย โครโมโซมจะมีทั้งหมด 23 คู่ โดยใน 1 คู่จะมีโครโมโซมเพศ “เอ็กซ์” (X) คือชาย และ “วาย” (Y) คือหญิง ซึ่งเมื่อปี พ.ศ.2552 มีนักชีววิทยาชาวออสเตรเลีย–อเมริกันชื่ออลิซาเบธ แบล็คเบิร์น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเวชศาสตร์ ค้นพบว่าปลายของโครโมโซมมีปลอกหุ้มที่เรียกว่าเทโลเมียร์ (telomere) เป็นตัวป้องกันการเสียหายของโครโมโซม

ทั้งนี้ การแบ่งเซลล์แต่ละครั้งจะทำให้เทโลเมียร์สั้นลงเรื่อยๆ เป็นกระบวนการแก่ชราตามธรรมชาติ แต่ในเทโลเมียร์ก็มีเอนไซม์ชื่อเทโลเมอเรส (telomeraes) ช่วยชะลอการสั้นลงของเทโลเมียร์ ถ้าบำรุงร่างกายดีๆ ไม่ให้เทโลเมียร์หดสั้นลง ก็จะทำให้อายุยืนขึ้น แก่ช้าลง ล่าสุด นักชีววิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เบิร์กลีย์เผยการศึกษาใหม่เกี่ยวกับเอนไซม์เทโลเมอเรส ว่ามันมีความซับซ้อนกว่าที่เคยรู้ หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็ง (cryo-electron microscopy หรือ Cryo-EM) สุดล้ำสมัย ติดตามการทำงานของเอนไซม์เทโลเมอเรสอย่างลึกซึ้งในระดับอังสตรอม (angstroms) ที่เป็นการวัดความยาวคลื่นหรือโครงสร้างเซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก จนสามารถถอดรหัสโครงสร้างของโมเลกุล และพบว่ามีโปรตีนทั้งหมด 11 ตัว ที่จะเป็นกรอบการวิจัยสำคัญต่อๆไป

การค้นพบคุณสมบัติที่น่าตื่นใจของเอนไซม์เทโลเมอเรส ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าอาจนำไปสู่การถอดรหัสมะเร็ง และจะเปิดแนวทางใหม่ๆ ของการรักษาโรคมะเร็งในอนาคต.