ปตท.มุ่งหน้าสู่เป้าหมายทำให้ไทยเป็นประเทศ “พลังงานสะอาด” ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำร่องโมเดลต้นแบบการดักจับ และ กักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้ใต้ทะเล และเหมืองเกลือทั่วประเทศเป็นคลัง พร้อมขายพื้นที่กักเก็บ CO2 เป็นการถาวรให้ประเทศอื่นๆ ใช้เป็นข้ออ้างอิงการจัดเก็บคาร์บอนเครดิตในราคาเริ่มต้นต่ำกว่า 80 ดอลล่าร์สหรัฐฯเพื่อเป็นการจูงใจ

ไปญี่ปุ่นกับ “ดร.เอ้” คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เพื่อดูงานโรงงานกำจัดขยะ ของเทศบาลนครโตเกียว ที่มีผลพลอยได้ออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า ก๊าซไฮโดรเจน และน้ำ ซึ่งเรียกรวมๆ กันได้ว่า พลังงานสะอาด 

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ไปดูงานโรงงานกำจัดขยะ ของเทศบาลนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ไปดูงานโรงงานกำจัดขยะ ของเทศบาลนครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

...

พลังงานสะอาดซึ่งทำให้คนญี่ปุ่นได้อยู่ในเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศสะอาด และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยในบรรยากาศที่ไร้มลภาวะ ไม่ว่าเมืองจะเต็มไปด้วยผู้คนอยู่อาศัยจำนวนมากสักเท่าใด เป็นศูนย์รวมธุรกิจหลากหลาย มีรถราคับคั่งขนาดไหน หรือแม้แต่มีแผ่นดินไหวปีละกว่า 6,000 ครั้งก็ตาม การบริหารจัดการเมืองของพวกเขาก็ยังคงดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เฉพาะที่มหานครโตเกียวอย่างเดียว ก็มีโรงงานกำจัดขยะมากมาย โดยโรงงานที่เทศบาลเมืองเป็นผู้กำกับดูแลก็มีมากถึง 23 โรงแล้ว แต่ละโรงไม่ได้สร้างผลภาวะให้แก่ชาวเมืองโตเกียวเลยแม้แต่นิดเดียว

กลับมาที่ “พลังงานสะอาด” ซึ่งมีความหมายสำคัญที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติพร้อมกับตั้งเป้าหมาย ตามสนธิสัญญาการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งต้องไม่ทำให้โลกร้อนเกินว่า 1.5  - 2 องศาเซลเซียส แม้ปีนี้ โลกจะร้อนไปแล้ว 1.2 องศาเซลเซียส ก็ตามที แต่อย่างน้อยผลกระทบจากภาวะโลกร้อนควรจะลดลงได้ไม่มากก็น้อยในระยะเวลาข้างหน้า

สำหรับประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านส่ิงแวดล้อมให้ความเห็นว่า ถ้า ปตท.ไม่ออกมาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทย ก็คงจะหาใครทำไม่ได้ แม้แต่รัฐบาลเอง 

ความเห็นนี้ น่าจะถูกต้อง เพราะ ปตท.มีมือไม้ และเครือข่ายที่มีความสามารถสูงในการสร้างพลังงานสะอาด และปฏิบัติตามสนธิสัญญาการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ครบถ้วน

ดร.คงกระพัน ในฐานะผู้นำองค์กรสำคัญแห่งนี้ ตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยต้องใช้พลังงานสะอาด ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 15 (เทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2563) ให้สำเร็จในปี 2573 (ค.ศ. 2030) หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า 

พร้อมกับมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอีก 10 - 20 ปีหลังจากนั้น ด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 จบก่อนเป้าหมายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ในปี 2065

อย่างไรก็ตาม การจะผลักดันให้ ปตท.และหน่วยงานในเครือข่าย ไปให้ถึงเป้าหมาย Net Zero ได้ จำเป็นต้องวางแผนการปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน และกักเก็บก๊าซเรือนกระจก หรือ CO2 โดยไม่ปล่อยขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น

“ปตท.กับ ปตท.สผ.(บริษัทที่ทำหน้าที่สำรวจ และผลิตปิโตรเลี่ยม) จำเป็นต้องมองหาพื้นที่สำหรับการกักเก็บ CO2 ใต้ทะเล และใต้ดิน หลังขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยได้ ปตท.สผ.จะต้องหาพื้นที่ใต้ทะเล หรือหลุมก๊าซเก่าในทะเลสำหรับกักเก็บก๊าซ CO2 ที่ได้ออกมาด้วย... ในเวลาเดียวกัน ปตท.กำลังสำรวจเหมืองเกลือทั่วประเทศที่ถูกดูดขึ้นมาจากใช้ และเกิดโพรงขึ้นเพื่อใช้เป็นที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกด้วย”

ดร.คงกระพัน กล่าวด้วยว่า ปตท.จะมุ่งหน้าทำธุรกิจที่รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่การเป็นองค์กรที่ทำหน้าหลักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม และของประเทศภายใต้โครงการดักจับ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 (Carbon Capture and Storage : CCS) ...

ด้วยการผลักดันให้ปตท.สผ.ทำหน้าที่เป็นองค์กรคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของปตท.ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 

CCS คือ กระบวนการในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรม และนำมากักเก็บไว้ในชั้นใต้ดินอย่างถาววร โดยไม่ปล่อยกลับไปสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีการบริหารจัดการ การติดตาม และตรวจสอบก๊าซเจ้าปัญหานี้อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในทุกขั้นตอน 

เทคโนโลยี CCS นี้ เป็นโมเดลธุรกิจที่ปตท.จะใช้นำร่องเนื่องจากมีศักยภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ และจัดเก็บได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ ในขณะที่หลายประเทศไม่ได้มีสภาพพื้นที่เช่นเดียวกับประเทศไทย 

“เรายังอาจขายพื้นที่เพื่อการจัดเก็บก๊าซ CO2 เป็น คาร์บอนเครดิตให้แก่ประเทศอื่นได้ด้วย อย่างในสหรัฐฯขายกันที่ตันละ 80 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ของไทยอาจขายในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อดึงดูดลูกค้าจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในเอเชียได้ทั้งหมด โดยกระบวนการนี้ จะเริ่มสำรวจได้ภายในปลายปีนี้” ดร.คงกระพัน กล่าว

ดร.คงกระพัน กล่าวด้วยว่า เขาจะไม่มัวไปเวิ่นเว้อกับธุรกิจใดที่ไม่มีโอกาสเติบโตในอนาคต หรือไม่ใช่ธุรกิจแห่งอนาคตแน่ๆ

การมีผู้นำที่มีความชัดเจน ย่อมจะผลักดันองค์กรให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และแข็งแกร่ง