รมว.ศธ.หนุน สพฐ.เร่งผลักดัน พลิกโฉมกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ให้เร่งขยายผลทั่วประเทศ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมใน 2 ปี เพื่อให้นักเรียนเป็นนวัตกร


วันที่ 7 ส.ค. 67 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดเวทีสภาการศึกษานานาชาติ ตั้งรับการศึกษาของโลกและสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันพร้อมเดินหน้า หลักสูตร Active Learning ขยายผลทั่วประเทศภายใน 2 ปี เพื่อให้นักเรียนเป็นนวัตกร

โดย รมว.ศธ. ย้ำถึงบทบาทการศึกษาไทยดีขึ้นมาก ณ ตอนนี้ เห็นด้วยที่ สพฐ. รุกนำรูปแบบ Active Learning มาใช้ และเห็นด้วยที่จะผลักดันให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

เพราะที่ผ่านมาเราก็ใช้รูปแบบนี้มาบ้าง แต่ยังไม่สมบูรณ์และมากพอ และเห็นว่ารูปแบบนี้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เด็กไทยพัฒนาขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมเองและไปได้ดีด้วย เห็นด้วยที่จะก้าวต่อด้วย
GPAS 5 Steps โมเดลการคิดขั้นสูง เรียนรู้แบบ Active learning หลายๆ โรงเรียนที่สังกัด กทม. สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย บางส่วนก็ใช้รูปแบบนี้กันเยอะแล้ว

...

ขอบคุณหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาร่วมสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนด้านการศึกษาไทยที่ดีขึ้น และอยากให้ขับเคลื่อนรูปแบบ Active learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ต่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศโดยเร็ว ใน 2 ปีจะได้เห็นความสำเร็จการศึกษาไทยที่จะออกมาได้สมบูรณ์ และเด็กไทยจะได้ประโยชน์ที่สูงสุด

ขณะที่ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ระบุก่อนหน้านี้ว่า ในปัจจุบันรูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยยังมีโรงเรียนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่เคยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ดังกล่าวมาก่อนเลย เพราะการจัดการเรียนการสอนกลับกลายเป็นรูปแบบนำข้อมูลในหนังสือเรียนมาอธิบาย บรรยาย เพิ่มข้อมูลจากที่มีอยู่เพื่อให้นักเรียนนำไปทบทวนให้เกิดความจำ เพื่อนำมาสอบวัดผลให้ได้คะแนนและลำดับที่ดี ซึ่งการสอนดังกล่าวนับว่าเป็นการเรียนแบบ Passive Learning นั่นเอง

ดร.ศักดิ์สิน เน้นย้ำถ้าทุกสถาบันการศึกษามุ่งเน้นปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้จากรูปแบบ Passive Learning ไปเป็นรูปแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบเป็นกลไกสำคัญในการให้นักเรียนเป็นผู้ถักทอหรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองทุกมิติ ทุกระดับ และกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps จะนำไปสู่การสร้างผลผลิตในระดับนวัตกรรม ส่วนการวัดและประเมินผลเน้นให้วัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เกณฑ์มิติคุณภาพ (Rubrics) เพื่อเน้นให้นักเรียนทุกคนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้อย่างมีร่องรอยหลักฐานที่เชื่อถือได้ และยังกำหนดให้ศักยภาพของนักเรียนในระดับประถมศึกษาสามารถนำหลักการไปเสริมสร้าง พัฒนาขั้นตอนการประกอบอาชีพของครอบครัวได้ และศักยภาพของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาสามารถทำงานร่วมกับชุมชนในรูปแบบปฏิบัติการเชิงวิจัยสร้างผลผลิต ผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศเพื่อการแข่งขัน นับว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูงระดับสากลอย่างแท้จริง โดยใช้มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้สำเร็จ.