นิด้าโพล เผยผลสำรวจ 1,310 หน่วยตัวอย่าง ส่วนใหญ่มองความขัดแย้งการเมืองทำเศรษฐกิจแย่ลง เชื่อ มีกลุ่มการเมืองเบื้องหลัง และค่อนข้างกังวลว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง ความขัดแย้งทางการเมือง โดยทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

เมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง พบว่า 

  • ร้อยละ 38.93 ระบุว่า เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง
  • ร้อยละ 20.08 ระบุว่า ความแตกแยกในสังคม
  • ร้อยละ 19.39 ระบุว่า ไม่กังวลใดๆ เลย
  • ร้อยละ 11.75 ระบุว่า การใช้ความรุนแรงในสังคม
  • ร้อยละ 9.54 ระบุว่า ความไม่มีเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตย
  • ร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ขณะที่ความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองส่วนใหญ่มีนักการเมือง พรรคการเมือง กลุ่มทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง พบว่า 

  • ร้อยละ 44.73 ระบุว่า เชื่อมาก
  • ร้อยละ 27.18 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
  • ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
  • ร้อยละ 10.84 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
  • ร้อยละ 5.19 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

...


ส่วนความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ พบว่า 

  • ร้อยละ 29.85 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล
  • ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ไม่กังวลเลย
  • ร้อยละ 22.75 ระบุว่า กังวลมาก
  • ร้อยละ 19.62 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล
  • ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ