นายกฯ แจง Landbridge แนวคิดจากศักยภาพการผลิตสินค้าของไทย เหตุช่องแคบ "มะละกา" ขนถ่ายสินค้าแออัด ไทยมีความเป็นกลาง มั่นใจ Mega Project สร้างเศรษฐกิจ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน

วันที่ 4 ม.ค. เวลา 12.20 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ดังนี้

โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจง ขยายความเกี่ยวกับโครงการ Landbridge ซึ่งเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจากประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าหลายชนิด มีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้าง สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสร้างสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง มี Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานทำให้ไทยอยู่บนหมุดหมายสำคัญของการผลิต ทั้งนี้ ไทยมีประชากร 70 ล้านคน หลายสินค้าที่ผลิตในไทยจะถูกส่งไปขายทั่วโลก

โดยที่ ปัจจุบันช่องแคบมะละกา แออัด และเกิดอุบัติเหตุ ทำให้การเข้าคิวผ่านช่องแคบกินเวลาเยอะ ปริมาณสินค้าที่จะใช้เส้นทางเดินเรื่อเพิ่มขึ้น ช่องแคบมะละกาไม่สามารถบริหารได้ โครงการ Landbridge เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของไทย ด้วยการขนส่งน้ำมัน 60 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก ขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา หากช่องแคบ คับแคบ การขนถ่ายสินค้ามีปัญหา จะทำให้เกิดปัญหา

รัฐบาลคิดทำโครงการ Landbridge ด้วยการตระหนักถึง ความขัดแย้ง Geopolitics ของโลก ไทยได้เปรียบจากการดำเนินนโยบายด้วยความเป็นกลางของไทย เชื่อมต่อโลก ไทยไม่มีปัญหากับประเทศใด ทำให้เป็นจุดขนถ่ายสินค้าได้เป็นอย่างดี พร้อมยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ประเทศไทยเรา มีความเป็นกลาง การที่เราเสนอตัวทำ Landbridge จีนกับสหรัฐฯ ก็จะสามารถใช้ไทยเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าเป็นอย่างดี

...

อย่างไรก็ดี รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเสียงของประชาชนในพื้นที่ พร้อมรับฟังทั้งฝ่ายค้าน ภาคประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งนักธุรกิจ เพื่อมั่นใจว่าโครงการนี้จะเป็น Mega Project ที่มีประโยชน์กับประเทศ และมีความสำคัญโลก นอกจากนั้น ทำให้หลายๆ ประเทศ อาทิ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความมั่นคงทางพลังงานสูงมาก อยากมาลงทุน อยากมาสร้างโรงกลั่น ซึ่งจะทำให้ไทยมีความมั่นคงทางพลังงานนอกจากความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ไทยมีความพร้อมมากขึ้น ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน