พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. และหัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นห่วงพี่น้องประชาชน ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อถูกหลอกอีก

แถลงข่าวเตือนภัยสังคม

เปิดเผยสถิติรับแจ้งความ “คดีออนไลน์” มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1. คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2.คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3.คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4. คดีข่มขู่ทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน และ 5.คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์

ภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นมาก 2 เรื่อง 1. “สรรหาวิธีแอบอ้างสรรพากร หลอกเอาเงิน” รูปแบบแรก แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทร.หาผู้เสียหายอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรกล่าวหาผู้เสียหายว่าทำผิด หลอกให้โอนเงินเพิ่มอีก

รูปแบบที่ 2 แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทร.หาผู้เสียหาย อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ช่วยยกเลิกหรือสมัครโครงการรัฐบาล เช่น ธงฟ้า คนละครึ่ง ถุงเงิน บัตรประชารัฐหรือลดหย่อนภาษีหรือช่วยไม่ให้เสียภาษีย้อนหลัง

ให้ผู้เสียหายเข้าเว็บปลอมเพื่อกรอกและเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อเข้าควบคุมเครื่องโทรศัพท์ แล้วโอนเงินของผู้เสียหายออกไปเข้าบัญชีของกลุ่มคนร้าย

2. “ซื้อสินค้ามือสอง แต่ได้สินค้ามือเปล่า” คดีนี้สร้างเพจหรือโพสต์ตามเพจต่างๆ ซื้อขายสินค้ามือสองหรือสินค้าทั่วไป ใช้รูปโปรไฟล์เป็นผู้หญิงหน้าตาดีหรือสร้างเพจขึ้นมาโดยใช้ชื่ออื่น จนมีผู้ติดตามจำนวนมาก

มีหน้าม้ากดเพิ่มเครดิต

ทำให้มีความน่าเชื่อถือ หลอกขายสินค้ามือสองหรือสินค้าทั่วไป ให้ผู้เสียหายจ่ายเงินมัดจำหรือจ่ายเงินก่อน เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้แล้วจะไม่ส่งสินค้าให้ บล็อกผู้เสียหายเพื่อไม่ให้สามารถติดต่อมาได้

...

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชี้ให้เห็นว่า สถิติรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.โทรศัพท์ ไอพอด 2.ผลไม้หรือของกิน 3.เสื้อผ้า ของแบรนด์เนม 4.เกม 5.บัตรงาน บัตรคอนเสิร์ต ความเสียหายหลอกขายสินค้าและบริการ ตั้งแต่ 1 มี.ค.ถึงวันที่ 29 เม.ย. จำนวน 89,577 เคส ความเสียหายกว่า 1,300 ล้านบาท

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. มอบ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนพิจารณาดูจุดสังเกตของความแตกต่าง ระหว่างเว็บไซต์หรือเพจของจริงกับของปลอม และศึกษาวิธีป้องกันมิให้ตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ และเพจเตือนภัยออนไลน์

พล.ต.อ.สมพงษ์ แนะนำวิธีป้องกันเบื้องต้น 1.ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเพจ 2.ควรทำการเช็กเครดิตการซื้อขายก่อน 3.กรณีโพสต์ถามหาเครดิตว่าบุคคลที่มาให้เครดิตมีตัวตนจริง

ให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่.

“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th