"เศรษฐพงค์" แนะว่าที่ กสทช. ปรับแนวกำกับดูแลอุตสาหกรรม ICT ให้สอดคล้องยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรม

เมื่อวันที่ 19 ต.ค.63 พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) และรองประธานกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (ดีอีเอส) ให้สัมภาษณ์ว่า ในโอกาสที่จะมีการสรรหา กสทช. ชุดใหม่ จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการปรับแนวทางการทำงาน โดยเฉพาะงานด้านกำกับ การควบคุม โดยเมื่อไม่นานมานี้ทาง ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และธนาคารโลกได้มีการเอกสารที่น่าสนใจฉบับหนึ่งที่ชื่อ Digital Regulation Handbook โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะได้แนะนำองค์กรกำกับดูแล หรือหน่วยงานกำกับนโยบายทั่วโลก ที่จะอำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนและหน่วยธุรกิจต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม เนื้อหาในรายงานฉบับนี้นอกจากพูดถึงการกำกับดูแลอุตสาหกรรม ICT ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation) ยังได้มีการแนะนำวิสัยทัศน์การดูแลและเครื่องไม้เครื่องมือ รวมทั้งเวลาที่เหมาะสมในการออกนโยบาย วิวัฒนาการในการกำกับดูแลได้มีการเริ่มต้นตั้งแต่ยุค 1st Generation และในขณะนี้เข้าสู่ยุคที่ 5th Generation ซึ่งปรัชญาและนโยบายแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากแนวทางการกำกับดูแลในยุคดั้งเดิมที่ใช้วิธีออกคำสั่ง และไปควบคุมซึ่งเหมาะสำหรับในยุคที่กิจการสื่อสารเป็นการผูกขาด 

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวอีกว่า ในยุคต่อมาเข้าสู่การเปิดเสรีและให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน ก็เน้นในเรื่องทำให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ในยุคที่ 3 และยุคที่ 4 เป็นยุคที่มีการสร้างนวัตกรรมไอซีทีขึ้นมาก การกำกับดูแลเน้นการให้เกิดประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ ทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในหลายประเทศการกำกับดูแลไม่สอดคล้องกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศขาดโอกาสในการพัฒนาเป็นอย่างมาก แต่ในยุคที่ 5 ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Automation, AI, 5G, หุ่นยนต์และ IoT นวัตการรมในการดูแลกิจการสื่อสารได้ขยายขอบเขตขึ้นมาก และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อุตสาหกรรมสื่อสารเท่านั้น แต่จะส่งผลไปอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศอีกเป็นอันมาก เพราะจะทำให้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสู่ยุคดิจิทัลจะเกิดขึ้นในหลายวงการ 

...

"หนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือ การกำกับดูแลการข้ามอุตสาหกรรม ที่จะต้องเน้นความร่วมมือกันระหว่างองค์กรกำกับดูแลในอุตสาหรรมต่างๆ การเป็นผู้กำกับดูแลนอกจากจะต้องมีความรอบรู้ในทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ยังต้องมีวิสัยทัศน์ในการดูแลไม่เน้นการควบคุม เพื่อยังประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆด้วยที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ นอกจากนี้การกำกับดูแลควรจะต้องเป็นลักษณะ Proactive ที่จะต้องมีความสามารถคาดการณ์ได้ว่า ทิศทางของตลาดที่ไม่ใช่แต่เฉพาะตลาดสื่อสารเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงตลาดอื่นๆที่จะมีแนวโน้มการยกระดับเข้าสู่ยุคดิจิทัล แต่ถ้าองค์กรกำกับดูแลยังมีวิสัยทัศน์เหมือนยุค 1st Generation ที่มีมุมมองเฉพาะการกำกับดูแลที่เน้นการออกคำสั่งและเข้าควบคุม จะทำให้ประเทศขาดโอกาสในการมาถึงของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้" พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว