ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งทุกปี จนกลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งภาคการเกษตรอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว กลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้แก้ไขกัน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นตามมติ ครม. โดยรัฐบาลได้พิจารณายกระดับการปฏิบัติงานจาก “ศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ” ขึ้นเป็น “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งที่ 12/2563 จัดตั้งเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2563 ที่ผ่านมา

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ไปติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา.
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ไปติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา.

...

โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เพื่ออำนวยการบูรณาการ และประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐ รวมถึงภาคเอกชน ในการควบคุมวิกฤติน้ำในภาวะรุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้อยู่ในวงจำกัด

เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล ติดตาม ประเมินสถานการณ์ การอำนวยการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สร้างการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาขาดแคลนน้ำตลอดจนให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที

พล.อ.ประวิตร ฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับงานวางท่อคลองสะพาน-อ่างเก็บนํ้าประแสร์ จ.ระยอง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ EEC.
พล.อ.ประวิตร ฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับงานวางท่อคลองสะพาน-อ่างเก็บนํ้าประแสร์ จ.ระยอง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ EEC.

หนึ่งในพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เข้าไปดูแลคือ โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ครอบคลุม 3 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 540 ล้าน ลบ.ม.

โดยเฉพาะระยองและชลบุรีเป็นศูนย์รวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสวนไม้ผลทางเศรษฐกิจ มีความต้องการใช้น้ำมากถึง 430 ล้าน ลบ.ม.

ผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกลงในพื้นที่ EEC มีปริมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ทำให้เมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ปี 2562 ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างสำคัญในเขตจังหวัดชลบุรี ระยอง (บางพระ หนองค้อ 5 อ่างพัทยา ดอกกราย หนองปลาไหล คลองใหญ่ และประแสร์) มีรวมกันแค่เพียง 390 ล้าน ลบ.ม.

เจ้าหน้าที่ปูแผ่น PE ในคลองน้ำแดง ป้องกันน้ำซึมลงใต้พื้นดิน ในการสูบผันน้ำจากอ่างประแสร์ไปลงคลองน้ำแดงและอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จ.ระยอง.
เจ้าหน้าที่ปูแผ่น PE ในคลองน้ำแดง ป้องกันน้ำซึมลงใต้พื้นดิน ในการสูบผันน้ำจากอ่างประแสร์ไปลงคลองน้ำแดงและอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จ.ระยอง.

...

ดังนั้น กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จำเป็นต้องจัดหาน้ำเข้าไปเสริมในระบบเพิ่มเติมอีกประมาณ 40 ล้าน ลบ.ม. พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกภาคส่วนในการดำเนินการตามมาตรการต่างๆที่ได้กำหนดขึ้น เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำให้ทุกกิจกรรมในพื้นที่ EEC

เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการบริหารคือ ระบบเครือข่ายอ่างเก็บน้ำพื้นที่ภาคตะวันออก ของ กรม ชลประทาน และ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสต์วอเตอร์ (East Water)

ท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ถูกนำมาติดตั้งเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปยังพื้นที่ EEC.
ท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ถูกนำมาติดตั้งเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปยังพื้นที่ EEC.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้สั่งการให้แก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการนำพาผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การอุปโภค-บริโภค การเกษตร ฯลฯ ให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้งปี พ.ศ.2563

...

อีกทั้งยังได้ลงพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อขอบคุณพี่น้องประชาชน จ.จันทบุรี ที่แบ่งปันน้ำให้จังหวัดอื่นๆในภาคตะวันออก โดยมีมาตรการสำคัญต่างๆ เช่น การแบ่งปันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองประแกด จ.จันทบุรี มาเติมอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง จำนวน 10 ล้าน ลบ.ม.

เจ้าหน้าที่วางระบบท่อส่งน้ำเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆเข้าไปใช้ในพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC.
เจ้าหน้าที่วางระบบท่อส่งน้ำเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆเข้าไปใช้ในพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC.

เพื่อให้อ่างเก็บน้ำในเขตจังหวัดระยองมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในระบบเครือข่ายน้ำประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล-ดอกกราย-หนองค้อ-บางพระ- อ่างพัทยา ซึ่งมีระบบท่อส่งน้ำเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไว้ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

...

รวมทั้งได้วางแผนซ่อมแซม ปรับปรุง และก่อสร้างระบบผันน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประแสร์ หนองปลาไหล และบางพระ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยงสูงในการขาดแคลนน้ำในอนาคต

นอกจากนี้ การดำเนินการของ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ยังได้มีการประชุมหารือแก้ไขปัญหาทั้งในระดับของพื้นที่ KEYMAN WATER WARROOM และในระดับส่วนกลางในคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อสั่งการแก้ไขประสานงาน และติดตามการแก้ไขปัญหา ให้ทั้งราชการและเอกชนได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ

หนึ่งในมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหา คือ การนำน้ำจากแหล่งน้ำของภาคเอกชนในพื้นที่ EEC เข้ามาเสริมระบบเครือข่ายน้ำของภาคตะวันออก ประมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีทั้งจาก การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และ อีสต์วอเตอร์ ในการดำเนินการตามมาตรการ

ระบบสูบผันน้ำประแสร์-คลองใหญ่ สูบน้ำปริมาณน้ำ 300,000 ลบ.ม./วัน ระบายลงคลองน้ำแดง 120,000 ลบ.ม./วัน และไปลงอ่างหนองปลาไหล 180,000 ลบ.ม./วัน.
ระบบสูบผันน้ำประแสร์-คลองใหญ่ สูบน้ำปริมาณน้ำ 300,000 ลบ.ม./วัน ระบายลงคลองน้ำแดง 120,000 ลบ.ม./วัน และไปลงอ่างหนองปลาไหล 180,000 ลบ.ม./วัน.

ทำให้ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในพื้นที่ EEC คลี่คลายขึ้น ซึ่งล้วนเกิดจากผลการดำเนินการตามมาตรการต่างๆอย่างเข้มข้น มีการติดตามอย่างใกล้ชิดจากคณะทำงานด้านต่างๆของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

หากสถานการณ์ฝนในปี พ.ศ.2563 เป็นไป ตามที่คาดการณ์เอาไว้ คือจะเริ่มมีปริมาณฝนตก ในราวเดือน พ.ค.2563 ประกอบกับนิคมอุตสาหกรรมได้ปรับลดการใช้น้ำ โดยนำมาตรการ 3Rs มาใช้เป็นมาตรการเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม จะทำให้สถานการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่ EEC ดีขึ้น

ทั้งหมดนี้คือผลจากการดำเนินงานของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ที่เชื่อว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้จะบรรเทาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศแน่นอน.

ทีมข่าวภูมิภาค รายงาน