นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง และ นางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กรและลงทุนสัมพันธ์ เปิดกิจกรรมปลูกต้นไม้ “โครงการป่าในฟาร์ม” ที่ฟาร์มบ้านธาตุ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี.

ในโลกยุค 4.0 เทคโนโลยีพัฒนาและก้าวไกลไปมาก ภาคการเกษตรจำเป็นต้องมีการปรับตัวนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีพัฒนาการอย่างมั่นคงยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งบริษัทนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีพัฒนา “ฟาร์มเลี้ยงไก่อัจฉริยะ” (Smart Farm) เพื่อตอกย้ำความปลอดภัยทางชีวภาพ ยกระดับรูปแบบโรงเรือน ใช้วัสดุก่อสร้างรักษ์โลก ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนพื้นที่ว่างในฟาร์มและโรงงานเป็นพื้นที่สีเขียว

นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ เป็นบริษัทผลิตอาหารชั้นนำที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ.
นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ.

...

ให้ความสำคัญการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ตลอดกระบวนการผลิต ทั้งระบบอัตโนมัติ AI IoT ควบคู่การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด มีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียว อาทิ ธุรกิจไก่เนื้อเป็นธุรกิจหลักของซีพีเอฟ มีการนำนวัตกรรมมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่

บริษัทส่งเสริมให้ ฟาร์มบ้านธาตุ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นต้นแบบของฟาร์มไก่ที่มุ่งเน้นการดำเนินงาน ตามหลักปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และเป็น ฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Farm) มีการใช้พื้นที่ว่างในฟาร์มและโรงงานให้เป็นพื้นที่สีเขียว เกิดประโยชน์ต่อโรงงานและชุมชน

นายพีรพงศ์ กรินชัย, นางกอบบุญ ศรีชัย และ นายนิธิวัชร์ จิรายุธัญวัฒน์ ผู้บริหารซีพีเอฟ ร่วมปลูกต้นไม้ในโครงการฯ.
นายพีรพงศ์ กรินชัย, นางกอบบุญ ศรีชัย และ นายนิธิวัชร์ จิรายุธัญวัฒน์ ผู้บริหารซีพีเอฟ ร่วมปลูกต้นไม้ในโครงการฯ.

นายสิริพงศ์ กล่าวอีกว่า ซีพีเอฟได้ริเริ่ม “โครงการป่าในฟาร์ม” เพื่อสานต่อความมุ่งมั่นมีส่วนร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงสร้างพื้นที่สีเขียวในฟาร์มและโรงงานที่มีศักยภาพในการปลูกต้นไม้ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก

ได้แก่ การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการไม้ใหญ่ในฟาร์ม และการจัดการคาร์บอนเครดิต จะมีการขยายผลไปยังฟาร์มและโรงงานอื่นๆของซีพีเอฟต่อไป

นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ.
นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง ซีพีเอฟ.

ขณะที่ นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง กล่าวว่า ซีพีเอฟมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบฟาร์มสมัยใหม่ โดยนำความรู้ด้านวิศวกรรมและระบบฟาร์มอัจฉริยะมาใช้ คำนึงถึงการออกแบบฟาร์มให้มีพื้นที่เลี้ยงเหมาะสมใช้พื้นที่เต็มประสิทธิภาพ มีระยะป้องกันโรคที่เหมาะสมตามมาตรฐานระดับโลก

...

รวมถึงยกระดับรูปแบบโรงเรือนใหม่ให้มีการกระจายลมที่เหมาะสม อุณหภูมิสม่ำเสมอ ออกแบบแสงสว่างให้กระจายทั่วทุกพื้นที่ สามารถรองรับการใช้ระบบอัตโนมัติต่างๆ ทั้ง AI IoT ช่วยเก็บข้อมูลการเลี้ยงไก่ บริหารจัดการการใช้พลังงาน อาทิ นำมูลไก่มาผลิตไฟฟ้า

“ฟาร์มรูปแบบใหม่มีการออกแบบให้ใช้วัสดุก่อสร้างรักษ์โลก อาทิ ใช้คอนกรีตรักษ์โลก 100% ในการก่อสร้าง ใช้ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปเพื่อให้เหลือเศษวัสดุเหลือทิ้งที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด” นายพีรพงศ์ กล่าว

คณะผู้บริหารซีพีเอฟ และผู้ร่วมโครงการ ร่วมกันปลูกต้นไม้ 4,500 ต้น บนพื้นที่ 30 ไร่ เป็นต้นแบบของการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สีเขียว.
คณะผู้บริหารซีพีเอฟ และผู้ร่วมโครงการ ร่วมกันปลูกต้นไม้ 4,500 ต้น บนพื้นที่ 30 ไร่ เป็นต้นแบบของการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สีเขียว.

...

นอกจากนี้ยังมีการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและการนำมูลไก่มาผลิตไฟฟ้า มีการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบปิดจนถึงบ่อบำบัด มีเป้าหมายไปสู่ฟาร์ม Zero Discharge

สำหรับกิจกรรม “โครงการป่าในฟาร์ม” ครั้งนี้ คณะผู้บริหารและพนักงานจากสายธุรกิจต่างๆพร้อมด้วย นายโยธิน พงษ์อ้อ นายก อบต.ท่าตูม, นายทนงยุทธ จันทกูล นายก อบต.ท่าคล้อ ปศุสัตว์อำเภอแก่งคอย และทุกภาคส่วน จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมอย่างคึกคัก

ทุกคนร่วมกันปลูกต้นไม้ จำนวน 4,500 ต้น บนพื้นที่ 30 ไร่ บริเวณฟาร์มบ้านธาตุ เป็นต้นแบบของการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สีเขียว ดั่งป่าเลียนแบบธรรมชาติอีกด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการจะช่วยยกระดับฟาร์มเลี้ยงไก่ นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต พัฒนาประสิทธิภาพ และมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ ควบคู่ไปกับการอยู่ร่วมกับชุมชนและโลกอย่างยั่งยืน

ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศและภูมิภาค.

สุวัฒน์ พุฒิสกุลวงศ์ รายงาน

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่