การท่าเรือแห่งประเทศไทย ร่วมกับกิจการร่วมค้า SANY และ ABSS พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเปลี่ยน "แกนตี้เครนพลังงานไฟฟ้า" เพิ่มศักยภาพการให้บริการ สะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และลดมลพิษ มุ่งสร้างมูลค่าด้านโลจิสติกส์ พร้อมก้าวสู่ท่าเรือสีเขียวมาตรฐานเทียบระดับสากล
นายดรุฒ คําวิชิตธนาภา กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ท่าเรือกรุงเทพถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยและเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของท่าเรือ เราจึงมีการเปิดตัวปั้นจั่นพลังงานไฟฟ้ายกตู้สินค้า ชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Shoreside Gantry Crane) หมายเลข 33 และหมายเลข 34 สู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก
โดยปั้นจั่นรุ่นใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการยกและเคลื่อนย้ายตู้สินค้า ช่วยลดเวลาการขนถ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของท่าเรืออีกด้วย ขณะเดียวกันจะช่วยส่งเสริมให้ท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าและการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต
"การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในครั้งนี้ จะช่วยให้ท่าเรือกรุงเทพสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น และพร้อมต่อการแข่งขันในระดับสากลได้อย่างมั่นคงในการทดแทนปั้นจั่นยกตู้สินค้า หมายเลข 17,18 ที่เสื่อมสภาพและใช้งานมาแล้ว 10-15 ปี การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้งานในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2573 ด้วยเช่นกัน"
...
ด้านนายรณยศ เลี้ยงอำนวย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ บิสซิเนส โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ ABSS กล่าวว่า กิจการร่วมค้า SANY Marine Heavy Industry Co., Ltd. และ ABSS ได้ดำเนินงานสร้างและติดตั้งปั้นจั่นยกตู้สินค้าชนิดเดินบนรางหมายเลข 33 และหมายเลข 34 นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยกและเคลื่อนย้ายตู้สินค้าภายในพื้นที่ท่าเรือ
โดยปั้นจั่นยกตู้สินค้านี้สามารถรองรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน มีความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าและบรรทุกตู้สินค้า ลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษา ทำให้การดำเนินการในท่าเรือมีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
"การผลิตปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนรางเพื่อทดแทนปั้นจั่นตัวเก่าให้กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้น เราได้ทำภายในกำหนดระยะเวลาของสัญญา เราเชื่อมั่นว่าด้วยประสิทธิภาพสูงของปั้นจั่นตัวใหม่นี้ที่มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและอุปกรณ์ครบครันจะเป็นการช่วยให้การท่าเรือเพิ่มประสิทธิผลในการให้บริการลูกค้า อย่างรวดเร็ว และแม่นยำอีกด้วย"
นอกจากนี้ SANY และ ABSS ยังได้ร่วมมือกันจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ สำหรับขนย้ายสินค้าเพื่อเป็นการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทางน้ำรองรับความต้องการจากทั่วโลก เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเรือ F และท่าเรือชายฝั่ง
พร้อมทั้งออกแบบและติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงโครงการเมกะโปรเจต์ แลนบริดจ์ เพื่อการพัฒนาให้ท่าเรือเป็น SAMRT GLOBAL PORT ที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลภาวะต่างๆ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการกับลูกค้าของท่าเรือเอกชนต่างๆ ในอนาคต
นายรณยศ กล่าวอีกว่า สำหรับ ABSS เองมีความพร้อมลุยตลาด Warehouse Automation Systems หรือ ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ เพื่อช่วยขับเคลื่อน SME ด้านการจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติยุคใหม่ ด้วยเครื่องจักรเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทฯและระบบ AI ที่ทำให้บริการของ ABSS เป็นระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse) ช่วยให้กระบวนการจัดเก็บและเรียกใช้สินค้าในคลังสินค้ารวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ลดการใช้แรงงานและเพิ่มความแม่นยำไม่ว่าจะเป็นการนำสินค้าเข้าชั้นวางหรือการนำสินค้าออกจากคลังและสรุปยอดแบบเรียลไทม์
รวมถึงระบบที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการยุคดิจิทัลคือระบบ ASRS หรือ Automated Storage & Retrieval System คือ ระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าอัตโนมัติ ช่วยให้การจัดการคำสั่งซื้อเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับออเดอร์ได้มากขึ้น
...
นอกจากนี้ยังลดความผิดพลาด, ระบบจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าดีขึ้น, แก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ, มีความคุ้มทุนในระยะยาว และระบบ AGV (Automated Guided Vehicle)ยานพาหนะไร้คนขับในคลังสินค้าที่ควบคุมด้วย AI ที่สามารถทำงานตอบสนองได้อย่างยอดเยี่ยม
ทั้งนี้ ABSS ถือเป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาและผู้จัดจำหน่ายระบบทั้งสองรูปแบบที่ให้บริการมาอย่างยาวนานพร้อมให้ คำแนะนำปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย