ค่าฝุ่น PM 2.5 กทม. เช้านี้เกินมาตรฐาน 38 พื้นที่ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วน "ภาคเหนือ" เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่
วันที่ 17 ธ.ค. 2566 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 27.1-76.4 มคก./ลบ.ม., ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41.0 มคก./ลบ.ม. ส่วนค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐาน จำนวน 40 พื้นที่ อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 1 พื้นที่ อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 39 พื้นที่
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ในช่วง 27.1-74.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 38 พื้นที่ คือ
1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 74.3 มคก./ลบ.ม.
2. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 61.7 มคก./ลบ.ม.
3. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 60.4 มคก./ลบ.ม.
4. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
5. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55.0 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 53.8 มคก./ลบ.ม.
7. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 53.4 มคก./ลบ.ม.
8. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 52.7 มคก./ลบ.ม.
...
9. เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
10. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 52.3 มคก./ลบ.ม.
11. เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 51.6 มคก./ลบ.ม.
12. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 51.4 มคก./ลบ.ม.
13. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 50.2 มคก./ลบ.ม.
14. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
15. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 49.8 มคก./ลบ.ม.
16. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้า ซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.
17. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 49.0 มคก./ลบ.ม.
18. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 48.0 มคก./ลบ.ม.
19. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 47.3 มคก./ลบ.ม.
20. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 47.1 มคก./ลบ.ม.
21. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.
22. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 45.7 มคก./ลบ.ม.
23. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 45.7 มคก./ลบ.ม.
24. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 45.2 มคก./ลบ.ม.
25. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.
26. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.
27. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
28. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.
29. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
30. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.
31. เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.
32. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
33. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.
34. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
35. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 39.3 มคก./ลบ.ม.
36. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.
37. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
38. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรม หรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
...
คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17-25 ธ.ค. 66 การระบายอากาศค่อนข้างดี (ยกเว้น 18-19 ธ.ค. 66 อ่อน) อย่างไรก็ตาม สภาวะอากาศใกล้พื้นผิวมีลักษณะปิด จึงคาดว่าการระบายเป็นไปอย่างจำกัด จึงส่งผลต่อความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่มีแนวโน้มสะสมตัวในระยะนี้ และคาดการณ์วันนี้มีเมฆบางส่วนกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
ขณะที่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 17 ธันวาคม 2566 ณ 07.00 น. สรุปดังนี้ ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศ พบเกินค่ามาตรฐานใน จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ระยอง และ จ.หนองคาย
...
- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 10.8-44.4 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 10.0-38.0 มคก./ลบ.ม.
- ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 26.7-60.6 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.6-39.1 มคก./ลบ.ม.
- ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9.2-19.9 มคก./ลบ.ม.
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 25.3-87.5 มคก./ลบ.ม.
ขอบคุณเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร, ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ