เมื่อวันที่ 12 ก.ย.65 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีผู้แทนบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) เดินทางมาขอรับเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) คืนจาก รฟม. พร้อมกับเผยว่า วันนี้ตั้งใจมารับซองเสนอราคาคืน เพราะว่า 2-3 วัน มีการเปิดซองราคาสายสีส้ม คิดว่าจะขอซองคืนเพื่อมาตรวจดูว่าราคาของบริษัทต่างกันมากน้อยแค่ไหน โดยบริษัทได้ทำหนังสือและประสานด้วยวาจาเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา วันนี้ได้รับซองที่ 1 และ 2 ส่วนซองที่ 3 ข้อเสนอราคา ทาง รฟม.ได้ส่งไปให้ที่บริษัทแล้ว ส่วนเรื่องราคาที่เสนอเดิมบริษัทตั้งใจจะเปิดที่นี่ เพราะเกรงว่าจะถูกเข้าใจผิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพราะมีการโยกย้าย อย่างไรก็ตามบริษัท เชิญสื่อมวลชนร่วมตรวจสอบในการเปิดซองนี้ด้วย ส่วนสาเหตุที่บริษัทไม่ยื่นการประมูลในครั้งใหม่ เพราะคุณสมบัติไม่ผ่านด้านโยธา เพราะมีการเปลี่ยนคุณสมบัติเปลี่ยนเกณฑ์ จนเข้าไม่ได้ เหตุผลที่ไม่ผ่านเพราะบริษัทไม่มีประสบการณ์ ไม่มีผู้รับเหมางานโยธาเนื่องจาก รฟม. ต้องการผู้รับเหมาด้านโยธามีคุณสมบัติ เฉพาะที่ทำงานกับรัฐบาลไทย ซึ่งที่ผ่านมาเมืองไทย มีผู้รับเหมาไทยที่ผ่านเกณฑ์ 2-3 ราย

วันเดียวกัน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บีทีเอสซี เปิดเผยว่า ในวันนี้ทาง รฟม.ได้จัดส่งกล่องเอกสารซองข้อเสนอการร่วมลงทุน ซองที่ 3 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนคืนมาให้ที่บริษัทเอง ในการนี้ ตนจึงได้เปิดซองข้อเสนอ ซองที่ 3 ให้กับสื่อมวลชนได้รับทราบว่า หากการประมูลในครั้งนั้นไม่ยกเลิก รัฐจะได้ประโยชน์ตอบแทนมากขึ้น เนื่องจากบริษัทได้ยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐ ราว 7 พันล้านบาท ในขณะที่การประมูลในครั้งหลัง บริษัทที่ยื่นข้อเสนอดีที่สุด เสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐ กว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งแตกต่างกันมากถึง 10 เท่า ซึ่งเรื่องนี้ทางบริษัทจะทำหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการคัดเลือกฯ คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ด รฟม. และคณะกรรมการ PPP เพื่อทราบเป็นข้อมูลในการพิจารณาต่อไป

...

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 7 ก.ย.65 ได้มีการเปิดซองการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน ซึ่งผลการยื่นข้อเสนอในเบื้องต้น ปรากฏว่า 1.บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน : NPV) เท่ากับ-78,287.95 ล้านบาท 2. ITD Group เสนอผลประโยชน์สุทธิ (มูลค่าปัจจุบัน : NPV) เท่ากับ-102,635.66 ล้านบาท ทั้งนี้ ผลประโยชน์สุทธิ คือ เงินตอบแทนที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะให้แก่ รฟม. หักลบด้วยจำนวนเงินสนับสนุนค่างานโยธาที่ผู้ยื่นข้อเสนอจะขอรับจาก รฟม.