สถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกิน ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมาก พบสัตว์ป่วยรายเดือนปี 2565 เทียบปี 2564 ลดลงถึงร้อยละ 99.38

โดยในปี 2565 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของสัตว์ป่วยทั้งประเทศแค่ 389 ตัว ขณะที่ปี 2564 ค่าเฉลี่ยรายเดือนสัตว์ป่วยทั้งประเทศ อยู่ที่ 62,654 ตัว รายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 ถึง 30 ส.ค.2565 พบสัตว์ป่วยใหม่เพียง 3,115 ตัว เป็นลูกสัตว์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

กรมปศุสัตว์ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือที่ให้ความสำคัญและความร่วมมือมาโดยตลอด

สำหรับมาตรการควบคุมและป้องกันโรคลัมปี สกิน ที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการ มี 5 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย 1.เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว เพื่อให้การควบคุมโรคให้สงบอย่างรวดเร็ว 2.เข้มงวดการควบคุมการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ 3.ควบคุมแมลงพาหะนำโรค ด้วยการใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์และบริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ 4.รักษาสัตว์ป่วยตามอาการและระยะการป่วยของโค-กระบือ เนื่องจากไม่มียาในการรักษา และ 5.ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับโค-กระบือของเกษตรกร โดยในปี 2564 กรมปศุสัตว์มีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศรวม 5,360,000 โดส และได้รับการบริจาคจากภาคเอกชน 700,000 โดส

นอกจากนี้ได้เร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันมีศักยภาพกำลังการผลิตเดือนละ 50,000 โดส และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อไปเพื่อความมั่นคงของวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกินของประเทศ

สำหรับปีงบประมาณ 2565 กรมปศุสัตว์ได้จัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติม 6,300,000 โดส สำหรับการฉีดกระตุ้นวัวให้กับสัตว์ที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้ว และฉีดให้กับสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน โดยเฉพาะในลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันระดับฝูงต่อโรคลัมปี สกิน ลดการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าว

...

เนื่องจากการควบคุมป้องกันโรคจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้โค–กระบือต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ตามแนวทางขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH).

สะ–เล–เต