รองปลัด กทม. นำประชุมหน่วยงานในสังกัด เตรียมความพร้อมป้องกันและยับยั้งการติดเชื้อโคโรนาไวรัส เคาะแนวทางมาตรการ 3 ระยะ ตั้งแต่ก่อนเข้าจนถึงออกจากโรงเรียน

วันที่ 18 มิ.ย. 2563 นพ.พิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันและยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสถานศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่จะเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 ก.ค. 2563 โดยมีหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร อาทิ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม ผู้แทนกลุ่มเขต 6 กลุ่ม หน่วยงานภายนอก อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กรมการแพทย์ กรมอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้มีการกำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้

นพ.พิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานคร
นพ.พิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานคร

มาตรการก่อนเข้าโรงเรียน

...

1. กำหนดให้มีคณะทำงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมบทบาทหน้าที่ชัดเจน

2. ผู้ปกครองต้องแจ้งข้อมูลการเจ็บป่วยของนักเรียนให้ทางโรงเรียนทราบ หากปกปิดข้อมูลมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตามมาตรา 31

3. ผู้ปกครองสังเกตอาการไข้ หรือตรวจวัดอุณหภูมิของนักเรียนทุกครั้งก่อนออกจากบ้านมาที่โรงเรียน หากตรวจพบอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือมีอาการทางเดินหายใจ ให้นักเรียนงดไปโรงเรียนและให้ผู้ปกครองพาไปตรวจรักษาที่สถานพยาบาล

4. กำหนดให้มีจุดคัดกรองอุณหภูมิร่างกายแก่บุคลากร นักเรียน และผู้มาติดต่อให้ชัดเจน และครอบคลุมทุกจุดที่มีการเข้า-ออกจากโรงเรียน

5. จัดให้มีห้องหรือพื้นที่แยกส่วนสำหรับบุคลากรหรือนักเรียนที่มีอาการป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันและยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสถานศึกษาในพื้นที่ กทม.
การประชุมเตรียมความพร้อมป้องกันและยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสถานศึกษาในพื้นที่ กทม.

มาตรการในโรงเรียน

1. ให้มีการตรวจสอบการลาป่วยของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน หากพบว่ามีผู้ป่วยมากผิดปกติ ให้รายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบ

2. กำหนดนโยบายให้บุคลากร นักเรียน และผู้มาติดต่อสวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดเวลาที่อยู่ภายในโรงเรียน และหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์

3. งดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศ ประชุมผู้ปกครอง เป็นต้น

4. จัดให้มีการทำความสะอาดอาคารสถานที่บ่อยๆ ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เช่น ห้องเรียน ห้องนอน ห้องอาหาร ห้องเด็กเล่น ห้องสุขา ของเล่น ลูกบิดประตู ราวบันได ยานพาหนะ สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น รวมทั้งตรวจสอบระบบระบายอากาศ เช่น พัดลมดูดอากาศ ให้พร้อมใช้งาน

5. ให้มีการคัดกรองอุณหภูมินักเรียนทุกคน ก่อนเข้าเรียนในช่วงบ่าย

6. กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ สำหรับนักเรียน มีการเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร เช่น ระหว่างโต๊ะเรียนที่นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก ทางเดิน จุดรอคอย หรือหากพื้นที่ไม่เพียงพอ อาจใช้ฉากกั้นแทน

7. จัดให้มีช่องทางในการติดต่อแก่ผู้ปกครอง เช่น โทรศัพท์ หรือช่องทาง Social media เช่น Line Facebook หรือ E-mail เพื่อให้การประสานงาน และประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว

8. ในกรณีที่พบนักเรียนที่สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือเจ็บป่วยให้โทรแจ้งสายด่วน 1646 ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ ในการส่งต่อผู้ป่วย

มาตรการหลังออกจากโรงเรียน

1. ในกรณีพบนักเรียนที่มีผลการตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้โรงพยาบาลที่ตรวจยืนยันผลนักเรียนที่ติดเชื้อ แจ้งให้ผู้ปกครองและโรงเรียนทราบ และแจ้งสำนักอนามัยเพื่อลงพื้นที่สอบสวนโรค

...

2. หากศูนย์เอราวัณพบว่ามีผู้ป่วย URI ผู้ป่วยต้องสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยันในแต่ละพื้นที่ของกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก ให้ศูนย์เอราวัณแจ้งไปยังสำนักอนามัยเพื่อลงพื้นที่สอบสวนโรค