“รายงานวันจันทร์”-ประชาชนได้อะไรขยายสัมปทานทางด่วน 2
ในที่สุดข้อพิพาทระหว่างการทาง พิเศษแห่งประเทศไทย กทพ. กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BEM ก็สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นลง ด้วยการขยายสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2563 ที่ผ่านมา
โดยนายสุรงค์ บูลกุล ประธานบอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้เป็นประธานการลงนามในสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข) ระหว่าง นายดำเกิง ปานขำ รองผู้ว่าการ กทพ.ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ กทพ. กับนายสุพงศ์ ชยุตสาหิจ และนางพเยาว์ มริตตนะพร จาก บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ BEM และบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ NECL
“รายงานวันจันทร์” จะมาย้อนดู TIME LINE ของการดำเนินการครั้งนี้ ว่ามีที่มาที่ไป และข้อสรุปอย่างไรในวันนี้
@@@@
ที่มาของข้อพิพาท
คดีขอชดเชยรายได้ตามสัญญาทางด่วน สายบางปะอิน-ปากเกร็ด (C+) กรณีมีโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย จากอนุสรณ์สถาน-รังสิต
1.ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด มีปริมาณจราจรน้อย ให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ แต่รัฐจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2539 จึงให้เอกชนร่วมลงทุนรับสัมปทาน
2.ในสัญญากำหนดให้ NECL (บริษัทลูกของ BEM) เป็นผู้รับความเสี่ยงรายได้แทนรัฐ แต่ถ้ารัฐก่อสร้างทางพิเศษในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ปริมาณจราจรและรายได้ลดลงจากประ-มาณการในสัญญา รัฐจะชดเชยรายได้ให้ NECL
3.ในปี 2541 มีการสร้างดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย จากอนุสรณ์สถานรังสิต NECL จึงขอให้ กทพ.ชดเชยรายได้ ที่ลดลงตามสัญญา เพราะการก่อสร้าง ดอนเมืองโทลล์เวย์ ส่วนต่อขยายส่งผลกระทบต่อปริมาณจราจรและรายได้ของ NECL แต่ กทพ.ไม่ชดเชยให้ NECL จึงเกิดเป็นข้อพิพาท ท้ายที่สุด ศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้ กทพ.ชดเชย รายได้ช่วงปี 2542–2543 ให้ NECL ตามสัญญามูลค่ากว่า 4,300 ล้านบาท ซึ่งคดีนี้จะมีผลต่อเนื่องทุกปีรวมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น (7.05%)
...
คดีขอชดเชยรายได้จากการไม่ปรับค่าผ่านทางตามสัญญา ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน ABC และ D และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด (C+)
1.ตามสัญญาทั้ง 3 ฉบับ กำหนดให้ค่าผ่านทางปรับขึ้นทุก 5 ปี ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่เพิ่มขึ้น โดยค่าผ่านทางที่เพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง จะคำนวณปรับเป็นจำนวนเต็มช่วงละ 5 บาท
2.ตั้งแต่ปี 2546 หากคำนวณค่าผ่านทางที่เพิ่มขึ้นได้ไม่ถึง 5 บาท กทพ.จะไม่ปรับค่าผ่านทางขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
3.BEM/NECL ขอชดเชยรายได้จากการไม่ปรับขึ้นค่าผ่านทางตามสัญญา แต่ กทพ. ไม่ได้ชดเชยจึงเกิดเป็นข้อพิพาทปัจจุบัน คดีส่วนใหญ่คณะอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองกลางตัดสินให้ กทพ.แพ้ต้องชดเชยรายได้ให้ BEM/NECL ตามสัญญา ซึ่งคดีนี้จะมีผลต่อเนื่องทุกปี รวมดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น (7.05%)
@@@@
ขั้นตอนการยุติข้อพิพาทและการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2
17 ก.ย. 2561 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ กทพ.ชดเชยค่าเสียหายจากคดีการแข่งขันโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ให้แก่ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ BEM มูลค่ากว่า 4,300 ล้านบาท ซึ่งคดีนี้จะมีผลต่อเนื่องจนจบสัมปทาน (พ.ศ.2563)
2 ต.ค.2561 ครม.มีมติให้ กทพ.เจรจาต่อรองกับคู่พิพาทเพื่อบรรเทาความเสียหายของรัฐ
18 ก.พ.2562 ครม.มีมติให้กระทรวงคมนาคม (กทพ.) เร่งรัดการเจรจากับคู่กรณี ให้เป็นที่ยุติโดยเร็วและให้รายงานความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว ต่อ ครม.
15 พ.ค.2562 คณะกรรมการ กทพ. ได้เจรจา และมีมติเห็นชอบให้ยุติข้อพิพาททั้งหมดระหว่าง กทพ.กับ BEM โดยให้ BEM ต่อขยายสัมปทาน ทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน ABC และ D) และทางด่วนบางปะอิน–ปากเกร็ด (C+) ออกไปสัญญาละ 30 ปี และลงทุนก่อสร้าง Double Deck (ทางยกระดับบนทางด่วน) ปรับขึ้นค่าผ่านทางตามที่ กทพ. กำหนดและแบ่งรายได้ให้ กทพ.ตามสัญญาเดิม
26 ก.ย.2562 กทพ.ได้เสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาเพื่อยุติข้อพิพาทให้กระทรวงคมนาคมเพื่อ เสนอ ครม.เห็นชอบ
25 ธ.ค.2562 กระทรวงคมนาคมให้ กทพ. ทบทวนแนวทางในการดำเนินการเพื่อยุติข้อพิพาทโดยไม่มีการก่อสร้าง Double Deck
6 ม.ค.2563 คณะกรรมการ กทพ. ได้เจรจากับ BEM เพิ่มเติม และมีมติเห็นชอบให้ยุติข้อพิพาททั้งหมด ระหว่าง กทพ. กับ BEM โดยให้ BEM ต่อขยายสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน ABC และ D) และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด (C+) ออกไปถึง 31 ต.ค.2578 และให้เสนอคณะกรรมการ ม.43 พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2556
13 ม.ค. 2563 คณะกรรมการ ม.43 เห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนตามมาตรา 47 พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2556
20 ม.ค.2563 สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นชอบร่างสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) และร่างสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข)
23 ม.ค.2563 กทพ.ได้เสนอเรื่องการแก้ไขสัญญาเพื่อยุติข้อพิพาทให้กระทรวง คมนาคมเพื่อ เสนอ ครม.เห็นชอบ
18 ก.พ.2563 คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) และร่างสัญญาโครงการทาง ด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข)
...
20 ก.พ.2563 กทพ.ลงนามในสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ฉบับแก้ไข) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ฉบับแก้ไข) กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ BEM และบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ NECL
@@@@
การแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง
ทางด่วนขั้นที่ 2 AB กทพ.60 BEM 40
ทางด่วนขั้นที่ 2 CD BEM 100
ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด BEM 100
BEM มีสิทธิต่อระยะเวลาสัญญาให้ครบตามสัญญาเดิมที่มีเงื่อนไขกำหนดให้ต่อสัมปทานได้ 10 ปี 2 ครั้ง (20 ปี)
BEM ยินดีร่วมมือยกเว้นค่าผ่านทางในวันหยุดประจำปีตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่รัฐบาลประกาศยกเว้นค่าผ่านทาง
อัตราค่าผ่านทางที่มีผลบังคับใช้ตลอดระยะเวลาของสัญญา
ทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 ส่วน AB 50/75/110 (4 ล้อ/6-10 ล้อ/มากกว่า 10 ล้อ) ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2561- 31 ส.ค. 2571, 60/90/130 ตั้งแต่ 1 ก.ย.2571-31 ต.ค.2578
ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน C 15/20/35 ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2561- 31 ส.ค. 2571, 15/20/35 ตั้งแต่ 1 ก.ย.2571-31 ต.ค.2578
ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D 25/55/75 ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2561- 31 ส.ค. 2571, 30/65/90 ตั้งแต่ 1 ก.ย.2571-31 ต.ค.2578
ทางด่วนอุดรรัถยา
ด่านเมืองทอง-เชียงราก 45/100/150 ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2563-31 ต.ค. 2571, 55/135/170 ตั้งแต่ 1 พ.ย.2571-31 ต.ค.2578
ด่านบางปะอิน 55/100/150 ตั้งแต่ 1 พ.ย.2563-31 ต.ค.2571, 65/135/200 ตั้งแต่ 1 พ.ย.2571-31 ต.ค.2578.