“รายงานพิเศษ”-กรุงเทพธนาคมลุย-เมืองสวยไม่รกสายตา

ขณะนี้ กทม.มีโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครภายในปี 2564 เพื่อจัดระเบียบ ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้ดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สายสื่อสารรกรุงรัง ในส่วนนี้ กทม.ได้มอบหมาย ให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจ ของ กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการ

ขั้นตอนการดำเนินการล่าสุด อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลความต้องการใช้ท่อร้อยสายแต่ละเส้นทางของผู้ประกอบการ ที่ได้ยื่นความประสงค์ใช้ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินจำนวน 13 ราย เพื่อประเมินต้นทุนการก่อสร้าง ซึ่งจะสะท้อนออกมาเป็นอัตราอ้างอิงค่าเช่าท่อร้อยสายจริง ที่ทางบริษัทฯ จะเสนอไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณากำหนดอัตราค่าเช่าท่อร้อยสายต่อไป

สำหรับพื้นที่ที่จะเริ่มก่อสร้างท่อร้อยสายซึ่งแบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้ พื้นที่ที่ 1 กรุงเทพเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 335 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอยในบริเวณพื้นที่เขตดุสิต เขตพญาไท เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตบางเขน เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตราชเทวี เขตจตุจักร เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี และเขตคลองสามวา เช่น ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนรามอินทรา ถนนเทพรักษ์ ถนนสุวินทวงศ์ ถนนพหลโยธิน ซอยอารีย์ ถนนพระราม 6 ถนนวงศ์สว่าง ถนนกรุงเทพฯ นนท์ ถนนประชาชื่น

...

พื้นที่ที่ 2 กรุงเทพตะวันออก ระยะทางประมาณ 605 กม.ตามระยะทางเท้า หรือประมาณ 315 กม.ตามระยะถนน ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอยในบริเวณพื้นที่เขตดินแดง เขตวัฒนา เขตห้วยขวาง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก รวมถึง พื้นที่บางส่วนของเขตสวนหลวง เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตราชเทวี เขตคลองเตย เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตประเวศ และเขตคลองสามวา เช่น ถนนสุขุมวิท ซอยเอกมัย ถนนพัฒนาการ ถนนกรุงเทพกรีฑา ถนนร่มเกล้า ถนนสุวินทวงศ์ ถนนรามคำแหง ถนนลาดพร้าว ถนนเทียนร่วมมิตร พระราม 9 ดินแดง มิตรไมตรี

พื้นที่ที่ 3 กรุงธนเหนือ ระยะทางรวมประมาณ 605 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 315 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอยในบริเวณพื้นที่เขตบางรัก เขตสาทร เขตยานนาวา เขตบางคอแหลม เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตพระโขนง เขตบางนา รวมถึงพื้นที่
บางส่วนของเขตคลองเตย เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตจอมทอง และเขตบางบอน เช่น ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนจอมทอง พระราม 3 ถนนมหาพฤฒาราม ถนนจันทน์ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนสาธุประดิษฐ์ นางลิ้นจี่ สาทรเหนือ/ใต้ สุนทรโกษา ถนนพระราม 4 ถนนบางนา-ตราด ถนนอ่อนนุช ถนนลาดกระบัง

พื้นที่ที่ 4 กรุงธนใต้ ระยะทางรวมประมาณ 620 กม. ตามระยะทางเท้า (หรือประมาณ 330 กม. ตามระยะถนน) ครอบคลุมถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนโครงข่าย และซอยในบริเวณพื้นที่เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตดุสิต เขตราชเทวี เขตจอมทอง และเขตบางบอน อาทิ ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนจอมทอง พระราม 3 ถนนมหาพฤฒาราม ถนนจันทน์ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถนนสาธุประดิษฐ์ นางลิ้นจี่ สาทรเหนือ/ใต้ สุนทรโกษา ถนนพระราม 4 ถนนบางนา-ตราด ถนนอ่อนนุช ถนนลาดกระบัง

ส่วนผู้ประกอบการที่ยื่นความประสงค์ใช้ท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดินของบริษัทฯ จำนวน 13 รายนั้น ประกอบด้วย 1.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 2.บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด 4.บริษัท แอมเน็กซ์ จำกัด 5.บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท เคเบิลคอนเนค จำกัด 7.บริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด 8.บริษัท อินฟอเมชั่น ไฮเวย์ จำกัด 9.บริษัท เอแอลที เทเลคอม จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) 11.บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเล-คอม จำกัด (มหาชน) 12.บริษัท ซิมโฟนี่คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ 13.บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)