เมื่อวันที่ 3 ต.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวการเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย ว่า อว.และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษากว่า 15 แห่งได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอน ดักเตอร์เป็นหลักสูตรกลางหลักสูตรแรกของประเทศไทย เพื่อผลิตกำลังคนทักษะสูงตอบสนองอุตสาหกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ โดยมี 3 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ นำร่องจัดการเรียนการสอนด้านเซมิคอนดักเตอร์ในปีการศึกษา 2568 และในปีการศึกษาถัดไปจะมีอีก 5 มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนโดยตั้งเป้าผลิตวิศวกรรมเซมิ คอนดักเตอร์ให้ได้อย่างน้อย 1,500 คนต่อปี

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สจล.เปิดโอกาสให้นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 เปลี่ยนสาขาเข้ามาศึกษาได้ เพื่อเร่งรัดการผลิตกำลังคนที่ขาดแคลนให้รวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับผู้เรียนในชั้นปีที่ 4 จะสามารถเลือกฝึกงานในภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ หรือเลือกเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็ได้ ขณะที่จุฬาฯมีเปิดหลักสูตรวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์นานาชาติ ในปีการศึกษา 2568 มุ่งเน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI ชิบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์โฟโตนิก รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ โดยมีแผนจะพัฒนาเป็นหลักสูตรสองปริญญา ร่วมกับ Lunghwa University ของไต้หวัน และมีการฝึกงานในสถานประกอบการชั้นนำของประเทศ ส่วน มจพ.จะมีการรับนักศึกษาเข้าไปฝึกปฏิบัติจริงยาวนานถึง 1 ปี ทำให้บัณฑิตมีความพร้อมทำงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ Kyushu Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่นและบริษัทในประเทศสิงคโปร์ ให้นักศึกษาเลือกไปฝึกงานได้ ซึ่งบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรจะมีความเชี่ยวชาญในด้านการประกอบและทดสอบ IC ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ที่สำคัญได้งานทำ 100%.

...

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่