อาชญากรรมพื้นที่กรุงเทพฯ สลับซับซ้อนตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การก่อเหตุของคนร้าย มีรูปแบบที่หลากหลาย ยากต่อการเข้าปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายป้องกันปราบปราม

จากเหตุการณ์สูญเสียตำรวจพื้นที่ สภ.นาหวาย และเกิดเหตุสูญเสีย “รองหรั่ง” พื้นที่ สน.ท่าข้าม

หากขาดการประเมินผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ รอง ผกก. และ สารวัตร เนื่องจากเจ้าหน้าที่ระดับต่ำกว่าได้ฝึกทบทวนยุทธวิธี รอง ผกก. และ สารวัตร นำพาชุดปฏิบัติให้ปลอดภัยไม่ได้รับอันตราย และสำเร็จในภารกิจ

ตามหลักยุทธวิธีตำรวจ

รอง ผกก.ป.และ สวป. แต่ละโรงพัก ถือเป็นผู้บริหารเหตุการณ์ขั้นต้นในกรณีเกิดเหตุการณ์ใช้กำลังตำรวจระงับเหตุ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาการฝึกทบทวนยุทธวิธีอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำชุดปฏิบัติงาน

พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.จัดโครงการฝึกอบรมประเมินสถานการณ์ในระดับผู้บริหารให้ บก.น. 1-9 คัดเลือก รอง ผกก.ป. และ สวป. 88 โรงพัก ฝึกทบทวนให้กลับไปถ่ายทอดยุทธวิธีผู้ใต้บังคับบัญชา

ประจำสถานีตำรวจ

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เป็นประธานเปิด “โครงการฝึกอบรมการประเมินสถานการณ์ในระดับผู้บริหารขั้นต้นหน้างานป้องกันปราบปรามของ บช.น.” มี พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. มี พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา รอง ผบช.น. และ พล.ต.ต.วรวิทย์ ญาณจินดา ผบก.สปพ. รับผิดชอบโครงการ

พล.ต.ท.ธิติเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ ยึดหลักกฎหมาย และเป็นที่ไว้วางใจของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายรัฐบาลและ ตร.เพื่อลดอาชญากรรม สร้างความปลอดภัย ใส่ใจบริการ

...

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ บอกว่า “ขอบคุณ ผบช.น.ทำโครงการสั่งให้สำนักงานกำลังพลสำรวจเสื้อเกราะ อาวุธประจำกายตำรวจปฏิบัติการ ที่มีข้อจำกัดงบประมาณจัดหาอุปกรณ์ บริหารงบประมาณที่มีให้สอดคล้องกัน”

ให้สำนักงานกำลังพลนำข้อมูลคำของบประมาณปี 68 เป็นการลงทุนงบประมาณจาก ตร. ลงมาที่หน่วยได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ผู้บริหารชั้นต้น รอง ผกก. และ สว. หน้างานป้องกันปราบปรามเกิดทักษะความชำนาญ

มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพที่สุด.


"เพลิงพยัคฆ์"
pluengpayak@thairath.co.th

คลิกอ่านคอลัมน์ “เลขที่1 วิภาวดีฯ” เพิ่มเติม