ปัจจุบัน สภาทนายความจัดทนายประจำโรงพัก ใครถูกจับไปโรงพักไม่มีทนายคอยช่วยเหลือ ให้อ่านตรงนี้...
ว่าที่ ร.ต.ดร.ถวัลย์ รุยาภรณ์ รองเลขาธิการเนติฯ บอกว่า คดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปี หรือคดีมีโทษประหาร ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มสอบคำให้การต้องจัดหาทนายความให้ และทนายมีสิทธิเข้าร่วมรับฟังการสอบปากคำด้วย
ที่ผ่านมาสภาทนายความจัดอบรมทนายประจำโรงพักปีละรุ่น ส่งไปประจำไม่ต่ำกว่า 303 โรงพัก
ทนายประจำส่วนราชการศาล และทนายความขอแรงต้องไปขึ้นทะเบียนกับศาล เพราะใน ป.วิอาญา บอกว่า ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แม้คดีที่จำเลยรับสารภาพก็ต้องมีทนาย
ทนายขอแรงจะเข้าไปช่วยเหลือจำเลย ตั้งแต่ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา เพื่อตรวจสอบการสอบสวนของตำรวจ และซักค้านพยานโจทก์ ตามสำนวนการสอบสวน แก้อุทธรณ์ แก้ฎีกา
จะเห็นได้ว่า ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่จำเลยรับสารภาพก็เห็นมาแล้ว!
ที่เคยกล่าวกันว่า “ทนายขอแรง เวลามาศาลก็มาเหมือนไม่มีแรง เพราะไม่ได้ค่าจ้าง” ก็ไม่เป็นความจริง เพราะนอกจากทนายขอแรงจะผ่านการอบรมแล้ว ศาลยังกำหนดค่าตอบแทนให้ค่อนข้างสูง สภาทนายเองก็จัดงบประมาณค่าตอบแทนรายวันของทนายประจำโรงพักให้สูงขึ้น
ดังนั้นทนายขอแรงจะตรวจคำฟ้อง ดูข้อบกพร่องของฝ่ายรัฐ ตลอดจนหาข้อต่อสู้เพื่อกลั่นกรอง รักษาสิทธิเสรีภาพจำเลยอย่างเต็มที่
ทนายความจึงมีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา?
ทุกวันนี้สภาทนายและเนติบัณฑิตยสภา ผลิตและให้ความรู้แก่ทนายอย่างอัดแน่น พร้อมขัดเกลาจริยธรรม เลือกตั้งกรรมการบริหารเนติฯในเดือนนี้
...
ลองพิจารณา ดร.ถวัลย์และทีมงานหมายเลข 6–10
เพื่อพัฒนาเนติฯ พัฒนาแหล่งผลิตนักกฎหมายให้เจริญก้าวหน้าต่อไป.
สหบาท
คลิกอ่านคอลัมน์ “ส่องตำรวจ” เพิ่มเติม