คดีการตายของ “ตอง” แม่ลูกอ่อน ตำรวจกำลังคลำว่า เป็นฆาตกรรมหรืออุบัติเหตุ เพราะเจอไซยาไนด์บางส่วน ถึงกระนั้นได้จับเพื่อนสนิท ที่เป็นคนรับประโยชน์จากการตาย!
ญาติผู้ต้องหาออกมาโวย ทำนองว่าการสอบสวนไม่ชอบ ทนายความที่ฟังการสอบสวนเป็นทนายของตำรวจ ทำให้คิดไปว่า ทนายที่ตำรวจจัดหาให้ไม่ให้ความเป็นธรรม ไม่ช่วยเหลือผู้ต้องหา
ไม่รู้จะมีทนายไว้ทำไม?
เรื่องนี้ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยพร รองเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา และอดีตนายกสภาทนายความ บอกว่า ทนายความในมิติการรักษาความยุติธรรม รวมถึงสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร
รัฐพึงมีมาตรฐานการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเคร่งครัด ปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงำใดๆ
รัฐพึงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ หรือผู้ด้อยโอกาส ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รวมถึงการจัดหา “ทนายความ” ให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ความสำคัญการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา เพื่อให้ได้รับความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรม
ทนายความที่ให้ความคุ้มครองและอำนวยความยุติธรรมแก่ ผู้ต้องหาในชั้นจับกุม สอบสวน และพิจารณาคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย กับการที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมาย ถือเป็นหลักการดำเนินคดีอาญาที่สำคัญมาก
สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ สิทธิการมีทนายความ เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการต่อสู้คดี ถือเป็นหลักการดำเนินคดีอาญาที่สำคัญมาก?
...
โดยสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายคือ สิทธิการมีทนายความในการต่อสู้คดี...
สหบาท
คลิกอ่านคอลัมน์ “ส่องตำรวจ” เพิ่มเติม