สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จัดทำดัชนีความผาสุกของเกษตรกรเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยดัชนีความผาสุกของเกษตรกร ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับดัชนีความผาสุกของเกษตรกรระดับประเทศ ในปี 2566 มีค่าอยู่ที่ระดับ 80.79 เป็นการพัฒนาอยู่ในระดับดี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565 ซึ่งมีค่าอยู่ที่ระดับ 80.46

และเมื่อพิจารณาดัชนีความผาสุกของเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค พบว่า ภาคใต้มีค่าดัชนีสูงที่สุด อยู่ที่ระดับ 82.29 ตามด้วยภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ 81.22 ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 80.98 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 80.14

สำหรับรายละ เอียดดัชนีความผาสุก ในแต่ละด้าน มีดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ระดับประเทศมีค่าดัชนีอยู่ที่ 76.97 อยู่ในระดับปานกลาง ลดลงจากปี 2565 ภาคใต้ มีค่าดัชนีสูงที่สุด 84.88 อยู่ในระดับดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 78.21 และภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 77.35 อยู่ในระดับปานกลาง ภาคเหนือ 67.03 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง

ด้านสุขอนามัย ระดับประเทศมีค่าดัชนีอยู่ที่ 99.86 เป็นการพัฒนาอยู่ในระดับดีมาก ใกล้เคียงกับปี 2565 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 99.91 ภาคเหนือ 99.88 ภาคใต้ 99.82 และภาคกลาง 99.65

ด้านสังคม ระดับประเทศมีค่าดัชนีอยู่ที่ 92.83 อยู่ในระดับดีมาก เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ภาคเหนือมีค่าดัชนีสูงที่สุด 94.37, ภาคกลาง 93.46, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 92.08 และภาคใต้ 91.84

ด้านสิ่งแวดล้อม ระดับประเทศมีค่าดัชนีอยู่ที่ 62.39 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง ภาคเหนือ มีค่าดัชนีสูงที่สุด 75.70 อยู่ในระดับปานกลาง, ภาคกลาง 62.49 ต้องปรับปรุง, ภาคใต้ 58.40 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 55.60 อยู่ในระดับต้องเร่งแก้ไข

...

ด้านการศึกษา ระดับประเทศมีค่าดัชนีอยู่ที่ 52.20 เพิ่มขึ้นจากปี 2565 แต่ยังคงต้องเร่งแก้ไข ภาคใต้ มีค่าดัชนีสูงที่สุด 59.07, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52.57 ภาคกลาง 52.31 และภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ 47.51

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม