การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการผลผลิตลำไยคุณภาพ ครั้งที่ 2/2567 ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขลำไยทั้งระบบใน 5 ประเด็น 1. การตั้งคณะกรรมการหรือหน่วยงานภาครัฐกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการรับซื้อลำไยสดช่อ 2. การรับซื้อลำไยแบบตะแกรงร่อนให้เป็นไปตามราคา ที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ 3. การติดป้ายราคารับซื้อลำไยสดและลำไยร่อนร่วง

ทั้ง 3 ข้อ ที่ประชุมได้มอบหมายคณะทำงานพัฒนาตลาดและการตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ลำไย ประสานกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการกำกับติดตามและพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการด้านการตลาดสินค้าลำไยดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

4. การทำสัญญาซื้อ-ขาย ผลผลิตลำไยทั้งสวนหรือเป็นกิโลกรัม ให้มีหน่วยงาน หรือองค์กรกำกับดูแลในการทำนิติกรรมสัญญาซื้อ-ขาย โดยอ้างอิงระบบเกษตรพันธสัญญา ที่มีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมดูแล ทั้งนี้ ระบบเกษตรพันธสัญญาจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความเข้มแข็งทางธุรกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันตลาดการค้าเสรีได้

และ 5. การสนับสนุนด้านองค์ความรู้และงบประมาณการทำโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซค์, ห้องรมกำมะถัน, ห้องเย็นเก็บผลผลิต และส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเชิงอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงการวิจัยลำไย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าลำไยในสถาบันเกษตรกรฤดูการผลิต ปี 2567

สำหรับสถานการณ์การผลิตลำไย ปี 2567 คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล รวมทั้งประเทศ 1,432,727 ตัน เป็นลำไยในฤดู 695,656 ตัน นอกฤดู 737,071 ตัน

ส่วนเนื้อที่ให้ผล คาดว่าจะมี 1,656,355 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากแหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือและภาคกลาง เกษตรกรโค่นต้นลำไยอายุมากให้ผลผลิตน้อยไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ทุเรียน เงาะ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารา

...

ผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นเพียงพอตั้งแต่ปลายปี 2566 จนถึงต้นปี 2567 ส่งผลให้ลำไยแทงช่อดอกเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีที่แล้วลำไยราคาดี จึงจูงใจให้เกษตรกรใช้สารกระตุ้นการออกดอก และบำรุงต้นลำไยเพิ่มขึ้น.

สะ-เล-เต

คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม