Candidatus Liberibacter solanacearum (CLso) เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค Zebra Chip ในมันฝรั่ง ที่สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญไปทั่วโลก

ขณะที่การพัฒนาความต้านทานโรค โดยการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในระยะเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้น จึงจําเป็นต้องใช้การปรับปรุงพันธุ์แบบพันธุวิศวกรรม หรือแนวทางการแก้ไขจีโนมใหม่

ล่าสุดการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Plant Biotechnology Journal แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขยีน NPR3 ช่วยให้มันฝรั่งต้านทานต่อ CLso

นักวิจัยได้สร้างสายพันธุ์ที่แก้ไขยีน StNPR3 ที่มีหลายตำแหน่ง (multiple StNPR3-edited lines) โดยอาศัย Agrobacterium tumefaciens

ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในสายพันธุ์ที่แก้ไขยีน เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เปรียบเทียบ และเมื่อประเมินแบคทีเรีย CLso มันฝรั่งสายพันธุ์ที่แก้ไขยีน มีการแสดงอาการของโรคที่ลดลง การเปลี่ยนสีลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่ามันฝรั่งที่แก้ไขยีน StNPR3 ต้านทานโรคได้อย่างไร นักวิจัยได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในการทำงานของยีนและสารเมตาบอไลต์ (metabolites)

พบว่ายีนเหล่านี้จำนวนมาก เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกี่ยวพันกับความเครียดทางชีวภาพ (biotic stress) และการตอบสนองต่อการป้องกัน

นอกจากนี้ การทำแผนที่ของสารเมตาบอไลต์แสดงให้เห็นว่า มีการกระตุ้นโปรตีนและปัจจัยการถอดรหัสที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหลายชนิด การวิเคราะห์ที่ครอบคลุมนี้ ช่วยอธิบายความต้านทานโรคที่เพิ่มขึ้น ที่พบในมันฝรั่งที่แก้ไขยีน StNPR3.

สะ–เล–เต

คลิกอ่าน "หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน" เพิ่มเติม

...