การประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง...คาดว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน พ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 เดือนแรกของฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ค. 67 คาดว่าจะยังมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 5% ก่อนจะค่อยๆมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดพายุฤดูฝน ซึ่งจะช่วยเติม ปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างเก็บน้ำต่างๆได้ โดยเฉพาะอ่างฯที่มีปริมาณน้ำน้อย เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนเพชรบุรี เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนปราณบุรี เป็นต้น
ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งมีการวางแผนการใช้น้ำอย่างรอบคอบและมีการติดตามการบริหารจัดการน้ำอย่างใกล้ชิด สำหรับพื้นที่ที่มีความห่วงกังวลเรื่องสถาน การณ์ขาดแคลนน้ำในขณะนี้ คือ จ.ชุมพร เนื่องจากมีการใช้น้ำในการทำสวนทุเรียน ค่อนข้างมาก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศเขตการให้ความ ช่วยเหลือ กรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) เพิ่มเติมในพื้นที่ จ.ชุมพร 8 อำเภอ 38 ตำบล 266 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.พะโต๊ะ อ.ทุ่งตะโก อ.ละแม อ.สวี อ.หลังสวน อ.ปะทิว อ.ท่าแซะ อ.เมืองชุมพร
...
สำหรับการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและน้ำเค็มรุกล้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ในช่วง 5–15 พ.ค.67 มีการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำท่าจีน และจากแม่น้ำท่าจีนผันเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ในส่วนของการเตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ได้มีการติดตามสถานการณ์เพาะปลูกในทุ่งลุ่มต่ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด ป้องกันผลผลิตได้รับความเสียหายในช่วงที่มีฝนตกหนักในฤดูฝนนี้
ขณะนี้การเพาะปลูกเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งกรมชลประทานจะมีการสร้างการรับรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและวางแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทุ่งลุ่มต่ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด.
สะ-เล-เต
คลิกอ่านคอลัมน์ “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม